วัชระ-สมบูรณ์จี้พรเพชรสางปมกิ๊กสว.ใน7วัน ดักคออย่าประวิงเวลาปกป้องกันเอง สังคมรับไม่ได้ลงโทษแค่”ตักเตือน”

วัชระ-สมบูรณ์จี้พรเพชรสางปมกิ๊กสว.ใน7วัน ดักคออย่าประวิงเวลาปกป้องกันเอง สังคมรับไม่ได้ลงโทษแค่”ตักเตือน”

วัชระ-สมบูรณ์จี้พรเพชรสางปมกิ๊กสว.ใน7วัน ดักคออย่าประวิงเวลาปกป้องกันเอง สังคมรับไม่ได้ลงโทษแค่”ตักเตือน”
( 22 ก.พ.66)เมื่อเวลา 10.02 น.ที่อาคารรัฐสภา นายวัชระ  เพชรทอง อดีตส.ส.พรรคประชาธิปัตย์และนายสมบูรณ์ ทองบุราณ อดีตสว.ยโสธร ยื่นหนังสือถึงนายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธานวุฒิสภา กรณีประชาชนและสังคมข้องใจคณะกรรมการจริยธรรมวุฒิสภาเสนอลงโทษเพียงแค่ตักเตือนนายธานี อ่อนละเอียด จากเรื่องกิ๊ก สว. จริงหรือไม่ จึงขอเรียกร้องให้วุฒิสภาเร่งบรรจุวาระการประชุมให้ทันสมัยประชุมภายในวันที่ 28 กุมภาพันธ์นี้ อย่าได้ประวิงเวลาและปกป้องพวกเดียวกัน

นายวัชระ กล่าวว่า เรื่องที่น.ส.กรศศิร์ บัวแย้ม หรือ ส.ต.ท.หญิง กรศศิร์ บัวแย้ม กล่าวอ้างเป็นภรรยาสมาชิกวุฒิสภา (กิ๊ก ส.ว.) ซึ่งเป็นนายจ้างได้บังคับใช้แรงงานและทำร้ายร่างกายทหารหญิง เช่น ถูกตบตีตามร่างกายจนปากแตกเลือดออกแล้วถูกเอาน้ำยาล้างห้องน้ำมาราดแผลในปาก ถูกเครื่องช็อตไฟฟ้าตามร่างกาย ใช้ไม้หน้าสามตีที่ใบหน้า ถูกทำร้ายร่างกายสารพัด เป็นต้น และข้อหาค้ามนุษย์ เหตุเกิดที่จังหวัดราชบุรีนั้น และกรณีที่น.ส.กรศศิร์ ได้รับการบรรจุและแต่งตั้งเป็นข้าราชการตำรวจ ได้รับเงินเดือน ค่าตอบแทนและสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ จากเงินงบประมาณของแผ่นดินซึ่งเป็นภาษีอากรของประชาชน ดังนี้
1. ได้รับการแต่งตั้งเป็นตำรวจยศ ส.ต.ท.โดยไม่มีการสอบคัดเลือกและได้โยกย้ายไปเป็นตำรวจสันติบาลอย่างง่าย ๆ ในขณะที่ตำรวจทั่วไปไม่สามารถย้ายได้
2. มีชื่อมาช่วยงานที่กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ส่วนหน้าโดยมีการเบิกเบี้ยเลี้ยงและได้วันเพิ่มวันทวีคูณทั้งที่ไม่ได้ไปปฏิบัติงานในพื้นที่ชายแดนภาคใต้แต่อย่างใด เป็นการส่อทุจริตอีกทั้งที่ผ่านมาอดีตทหารหญิงยังต้องเป็นทหารรับใช้ ส.ต.ท.หญิงอีกด้วย
3. มีประวัติการทำงานในวงงานของสภานิติบัญญัติแห่งชาติและวุฒิสภา
3.1สมัยสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (31 กรกฎาคม 2557 – 21 พฤษภาคม 2562)ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ประจำคณะกรรมาธิการการกฎหมาย กระบวนการยุติธรรมและกิจการตำรวจ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ โดยไม่ได้รับค่าตอบแทน แต่ได้ร่วมเดินทางไปศึกษาดูงานภายในประเทศ 2 ครั้งคือที่จังหวัดระนอง ระหว่างวันที่ 4-6 มิถุนายน 2561  และจังหวัดเชียงราย ระหว่างวันที่ 17-18 กันยายน 2561  และศึกษาดูงานต่างประเทศ 1 ครั้งคือ ร่วมเดินทางไปประชุมทวิภาคี ณ สหพันธรัฐรัสเซีย – สาธารณรัฐฟินแลนด์ ระหว่างวันที่ 7-16 เมษายน 2561  และสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาได้ประสานงานทำหนังสือเดินทางของราชการไปราชการต่างประเทศให้ด้วย นอกจากนี้น.ส.กรศศิร์ยังได้รับแต่งตั้งให้เป็นเลขานุการประจำคณะกรรมาธิการการศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรมและการท่องเที่ยว สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ได้รับค่าตอบแทนในอัตราเดือนละ 4,500 บาท เข้ารับการศึกษาอบรมหลักสูตรวุฒิบัตรการปฏิบัติงานสนับสนุนสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ รุ่นที่ 6 สถาบันพระปกเกล้า ลำดับที่ 1 และในสมัยวุฒิสภา (11พฤษภาคม 2562–15 กันยายน 2565)ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นนักวิชาการประจำคณะกรรมาธิการการกฎหมาย การยุติธรรมและการตำรวจ วุฒิสภา โดยได้รับค่าตอบแทนในอัตราเดือนละ 6,000 บาท ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ประจำคณะกรรมาธิการศึกษาตรวจสอบเรื่องการทุจริตประพฤติมิชอบและเสริมสร้างธรรมาภิบาล วุฒิสภา โดยไม่ได้รับค่าตอบแทนและร่วมเดินทางไปศึกษาดูงานภายในประเทศ 1 ครั้งที่จังหวัดระยอง ระหว่างวันที่ 13-14 กุมภาพันธ์ 2563 ทั้งนี้ตำแหน่งหน้าที่ราชการต่าง ๆ ทั้งจากสำนักงานตำรวจแห่งชาติ สภานิติบัญญัติแห่งชาติและวุฒิสภาที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ หากมิใช่เป็นกิ๊กของ ส.ว. หรือ สนช. จะได้รับการแต่งตั้งโดยง่ายดายและเป็นที่สงสัยในคุณสมบัติได้อย่างไร จึงได้มีหนังสือขอให้นายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธานวุฒิสภา พิจารณาแต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อสอบสวนนายธานี อ่อนละเอียด สมาชิกวุฒิสภามีส่วนรู้เห็นหรือสนับสนุน ส.ต.ท.หญิงที่กล่าวอ้างว่าเป็นกิ๊กหรือภรรยาน้อยกระทำการทารุณทหารหญิงหรือไม่ มีการใช้อำนาจหน้าที่ของสมาชิกวุฒิสภาฝากภรรยาน้อยเป็นข้าราชการตำรวจจริงหรือไม่ ฝากบุคคลเข้ารับราชการทหารจริงหรือไม่ การกระทำของสมาชิกวุฒิสภาส่อว่าขัดรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 มาตรา 185 วรรค 3 และมาตรา 219 พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ พ.ศ.2560 กฎหมายต่าง ๆ และข้อบังคับว่าด้วยประมวลจริยธรรมของสมาชิกวุฒิสภาและกรรมาธิการ พ.ศ. 2563 หรือไม่ และวุฒิสภาจะรับผิดชอบต่อสังคมอย่างไร
ต่อมาประธานวุฒิสภาได้ส่งเรื่องร้องเรียนดังกล่าวให้กับคณะกรรมการจริยธรรมวุฒิสภาเพื่อพิจารณาดำเนินการตามอำนาจและหน้าที่ตามกฎหมาย จนกระทั่งโฆษกคณะกรรมการฯ แถลงข่าวเมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2566 ที่รัฐสภาว่า ได้สรุปรายงานส่งให้ประธานวุฒิสภาเพื่อนำเข้าสู่ที่ประชุมวุฒิสภาพิจารณาต่อไปแล้ว ต่อมามีกระแสข่าวออกมาว่า ผลสรุปของคณะกรรมการจริยธรรมวุฒิสภา ได้เสนอลงโทษแค่ว่ากล่าวตักเตือนนายธานี อ่อนละเอียด สมาชิกวุฒิสภา จริงหรือไม่ ดังนั้นขอให้ประธานวุฒิสภาพิจารณาดำเนินการตามระเบียบว่าด้วยการยื่นเรื่องร้องเรียน การรับเรื่องร้องเรียน การนำเรื่องเข้าสู่การพิจารณาและวิธีพิจารณาของคณะกรรมการจริยธรรมวุฒิสภา พ.ศ. 2563 ข้อ 34 พร้อมขอเสนอว่า จะต้องเปิดเผยรายงานผลการพิจารณาของคณะกรรมการจริยธรรมวุฒิสภาต่อสาธารณชนภายใน 7 วัน และเร่งบรรจุเรื่องรายงานผลการพิจารณาของคณะกรรมการจริยธรรมวุฒิสภาต่อที่ประชุมวุฒิสภาพิจารณาให้ทันก่อนหมดสมัยประชุมวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2566 นี้ซึ่งประชาชนทั้งประเทศกำลังติดตามและรอฟังผลการพิจารณาดังกล่าวอย่างใกล้ชิด

ที่มา: สำนักข่าวคาดเชือก
เว็บไซต์: https://kardchuek.net

ผู้นำเสนอข่าว

Hnoy

Written by:

3,257 Posts

View All Posts
Follow Me :

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

You May Have Missed