ผบ.มทบ. 37 พร้อมประธานสมาคมแม่บ้านทหารบก มทบ.37 ข้าราชการ และพสกนิกรทุกหมู่เหล่า ร่วมประกอบพิธีวางพานพุ่มถวายราชสักการะ เนื่องในวันพ่อขุนรามคำแหงมหาราช

ผบ.มทบ. 37 พร้อมประธานสมาคมแม่บ้านทหารบก มทบ.37 ข้าราชการ และพสกนิกรทุกหมู่เหล่า ร่วมประกอบพิธีวางพานพุ่มถวายราชสักการะ เนื่องในวันพ่อขุนรามคำแหงมหาราช

ผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ 37 พร้อมประธานสมาคมแม่บ้านทหารบก มณฑลทหารบกที่ 37 ข้าราชการ และพสกนิกรทุกหมู่เหล่า ร่วมประกอบพิธีวางพานพุ่มถวายราชสักการะ เนื่องในวันพ่อขุนรามคำแหงมหาราช

เมื่อวันที่ 17 มกราคม 2566 พลตรี ประพัฒน์ พบสุวรรณ ผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ 37 พร้อมด้วย คุณ สุมาลี พบสุวรรณ ประธานสมาคมแม่บ้านทหารบก สาขา มณฑลทหารบกที่ 37 นำคณะนายทหารสัญญาบัตร และสมาคมแม่บ้านทหารบก สาขา มณฑลทหารบกที่ 37 พิธีวางพานพุ่มถวายราชสักการะ เนื่องในวันพ่อขุนรามคำแหงมหาราช พร้อมด้วยข้าราชการ ตุลาการศาลทหาร ตำรวจ และพสกนิกรทุกหมู่เหล่า ร่วมประกอบพิธี เพื่อน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ท่านที่มีต่อพสกนิกรชาวไทย ที่บริเวณหน้าพระบรมราชานุสาวรีย์พ่อขุนรามคำแหงมหาราช ณ มหาวิทยาลัยรามคำแหง สาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติ อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย โดยมี นายพุฒิพงศ์ ศิริมาตย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย พร้อมด้วยนางสุภาเพ็ญ ศิริมาตย์ นายกเหล่ากาชาดจังหวัดเชียงราย และประธานแม่บ้านมหาดไทยจังหวัดเชียงราย เป็นประธาน มี พันเอก พักตร์พงษ์ เงสันเที๊ยะ หัวหน้ากลุ่มงานนโยบายแผนและการข่าว กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในจังหวัดเชียงราย พร้อมด้วย เจ้าหน้าที่กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในจังหวัดเชียงราย เข้าร่วมพิธี ฯ

คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2553 กำหนดให้วันที่ 17 มกราคมของทุกปี เป็นวันพ่อขุนรามคำแหงมหาราช และเป็นวันรัฐพิธี เนื่องจากเป็นวันที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงค้นพบศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ที่เป็นหลักฐานสำคัญว่า ชนชาวไทยได้มีศิลปวัฒนธรรมและประเพณีอันดีงามมาแต่โบราณกาล

    พ่อขุนรามคำแหงมหาราช ทรงเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์ที่ 3 ในราชวงศ์พระร่วงแห่งราชอาณาจักรสุโขทัย เสวยราชย์ประมาณพุทธศักราช 1826 ถึงประมาณพุทธศักราช 1841 พระองค์ทรงรวบรวมอาณาจักรไทยจนเป็นปึกแผ่นกว้างขวาง ตลอดรัชสมัยของพระองค์ ทรงมีพระเมตตาเอาพระทัยใส่ในทุกข์สุขของประชาชน ทรงยกเลิกจังกอบ ทรงให้กรรมสิทธิ์ที่ดินทำกินกับประชาชน ทรงมีนโยบายกระชับมิตรกับดินแดนต่างๆ ให้ความสำคัญของพระพุทธศาสนา จัดสร้างพระอารามทั้งในและนอกราชธานี แสดงถึงความเป็นอารยชนของอาณาจักรสุโขทัย ทั้งยังได้ทรงประดิษฐ์ตัวอักษรไทยขึ้น เมื่อปีพุทธศักราช 1826 ทำให้ชาติไทยได้สะสมความรู้ทางศิลปะ วัฒนธรรมและวิชาการต่างๆ สืบทอดกันมาจนถึงปัจจุบัน

    ที่มา:

    ศูนย์ข่าวภาคเหนือ

    สำนักข่าวความมั่นคง

    นที มีเดช รายงาน

    ผู้นำเสนอข่าว

    ยัยแม่มด

    Written by:

    ใส่ความเห็น

    อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *