ป.ป.ส. ร่วมการประชุมการปราบปรามยาเสพติดระหว่างประเทศในภูมิภาคเอเชีย – แปซิฟิก ครั้งที่ 26 (ADEC) ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ชูผลความร่วมมือนานาประเทศ ช่วยจับนักค้ายาเสพติดรายสำคัญ

ป.ป.ส. ร่วมการประชุมการปราบปรามยาเสพติดระหว่างประเทศในภูมิภาคเอเชีย – แปซิฟิก ครั้งที่ 26 (ADEC) ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ชูผลความร่วมมือนานาประเทศ ช่วยจับนักค้ายาเสพติดรายสำคัญ

ป.ป.ส. ร่วมการประชุมการปราบปรามยาเสพติดระหว่างประเทศในภูมิภาคเอเชีย – แปซิฟิก ครั้งที่ 26 (ADEC) ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ชูผลความร่วมมือนานาประเทศ ช่วยจับนักค้ายาเสพติดรายสำคัญ วันที่ 31 มกราคม 2567 พล.ต.ท.ภาณุรัตน์ หลักบุญ เลขาธิการ ป.ป.ส. มอบหมายให้ นายธนากร คัยนันท์ ที่ปรึกษาการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด พร้อมทั้ง นายปฤณ เมฆานันท์ ผู้อำนวยการสำนักปราบปราบยาเสพติด เป็นคณะผู้แทนสำนักงาน ป.ป.ส. พร้อมด้วย พล.ต.ท. ศีรีศักดิ์ ตันตินวะชัย ผู้บัญชาการตำรวจปราบปรามยาเสพติด ผู้แทนจากกรมศุลกากร ผู้แทนจากประเทศไทย เข้าร่วมการประชุมการปราบปรามยาเสพติดระหว่างประเทศในภูมิภาคเอเชีย – แปซิฟิก ครั้งที่ 26 (The 26th Asia – Pacific Operational Drug Enforcement Conference: ADEC) ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น โดยมีนายทสึยุกิ ยาซูฮีโระ ( Mr.Tsuyuki Yasuhiro) ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติญี่ปุ่น (National Police Agence: NPA) เป็นประธานเปิดการประชุมฯ โดยการประชุมประกอบด้วยผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจาก 30 ประเทศ และ 2 องค์กรระหว่างประเทศ เข้าร่วมประชุมฯ ในห้วงพิธีเปิดการประชุมฯ ในวันอังคารที่ 30 มกราคม 2566 นายทสึยุกิ ยาซูฮีโระ ( Mr.Tsuyuki Yasuhiro) ผู้บัญชาการตำรวจญี่ปุ่น ได้กล่าวต้อนรับคณะผู้แทนฯ เข้าสู่การประชุมฯ โดยเน้นย้ำความสำคัญของความร่วมมือระหว่างประเทศ ในการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารด้านยาเสพติดระดับนานาชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เส้นทางการลำเลียงยาเสพติด เครือข่ายนักค้ายาเสพติดข้ามชาติ และแผนประทุษกรรมอีกทั้งยังกล่าวถึงวัตถุประสงค์การจัดการประชุม ADEC ที่ได้ดำเนินมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี พ.ศ. 2538 โดยการประชุมฯ มีวัตถุประสงค์เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลและความคิดเห็นเกี่ยวกับสถานการณ์ปัญหายาเสพติด กระชับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ และเสริมสร้างความร่วมมือในการปราบปรามยาเสพติด โดยเนื้อหาการประชุม ฯ จะเน้นเรื่องการต่อต้านการลักลอบค้ายาเสพติดที่มีความซับซ้อน ตลอดห้วงระยะเวลาในการประชุมระหว่างวันอังคารที่ 30 – วันพุธที่ 31 มกราคม 2567 เป็นวาระการนำเสนอสถานการณ์ยาเสพติดและตัวอย่างการพัฒนาความร่วมมือในปฏิบัติการทำลายองค์กรลักลอบค้ายาเสพติดของผู้แทนจากหน่วยงานของประเทศและองค์การระหว่างประเทศต่าง ๆ ได้แก่ สำนักงานยาเสพติดและอาชญากรรมแห่งสหประชาชาติประจำภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก (UNODC), องค์การตำรวจอาชญากรรมระหว่างประเทศ (INTERPOL), หน่วยงานกลางด้านยาเสพติด ตำรวจ และศุลกากร ได้แก่ ญี่ปุ่น ฟิลิปปินส์ สหรัฐอเมริกา ไทย กัมพูชา อินโดนีเซีย เวียดนาม ไนจีเรีย มาเลเซีย ออสเตรเลีย เกาหลีใต้ สิงคโปร์ ฮ่องกง เม็กซิโก แคนาดา อิหร่าน เปรู เนเธอร์แลนด์ เบลเยียม และนิวซีแลนด์ ทั้งนี้ นายธนากรฯ หัวหน้าคณะผู้แทนไทยได้กล่าวแสดงความขอบคุณสำหรับการส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศในการแก้ไขปัญหายาเสพติดของประเทศญี่ปุ่น พร้อมทั้งยืนยันที่จะให้ความร่วมมือในทุกมิติกับทุกประเทศในการต่อสู้กับปัญหายาเสพติด ต่อมาผู้แทนประเทศไทยประกอบด้วย ผู้แทนจากสำนักงาน ป.ป.ส. ผู้แทนจากกองบัญชาการตำรวจปราบปรามยาเสพติด และกรมศุลกากร ได้นำเสนอรายงานสถานการณ์ยาเสพติดของไทยในปัจจุบัน และความร่วมมือระหว่างประเทศไทยกับนานาประเทศ ในหลายกิจกรรมที่สำคัญ เช่น การประสานงานและสืบสวนขยายผลเป้าหมายนักค้ายาเสพติดรายสำคัญและความร่วมมือในการส่งตัวผู้ต้องหาที่หลบหนีหมายจับคดียาเสพติดของประเทศไทย เช่น ความร่วมมือระหว่างระหว่างประเทศไทย มาเลเซีย สำนักงานตำรวจสหพันธ์ออสเตรเลีย (Australia Federal Police: AFP) และสปป.ลาว จนทำให้สามารถติดตามจับกุมตัวนายอ่อง กิม วาห์ ซึ่งการจับกุมในครั้งนี้ถือเป็นตัวอย่างความสำเร็จอันเกิดจากความร่วมมือกันของนานาประเทศ ในภาพรวมของการประชุมทั้งสองวัน ทุกหน่วยงานต่างนำเสนอแลกเปลี่ยนสถานการณ์และความเห็นที่สอดคล้องในทิศทางเดียวกัน ถึงความรุนแรงของปัญหายาเสพติด ซึ่งประมาณการของการค้ายังคงมีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะกัญชา โอปิออยด์ และสารสังเคราะห์แอมเฟตามีน และมีข้อห่วงกังวลคือการแพร่ระบาดมากขึ้นของยาเสพติดประเภทสารสังเคราะห์และวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทชนิดใหม่ (New Psychoactive Substance : NPS) เฟนทานิล การรั่วไหลของเคมีภัณฑ์ระหว่างประเทศ การใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี การสื่อสารออนไลน์ Dark Web และสกุลเงินดิจิทัลในการทำธุรกรรมการฟอกเงิน ของเครือข่ายค้ายาเสพติดข้ามชาติ ตลอดจนการค้ายาเสพติดและการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดอื่น ๆ ซึ่งเพิ่มขึ้นอย่างเป็นประวัติการณ์ ทั้งนี้ความร่วมมือในการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารการลักลอบลำเลียงยาเสพติด สารตั้งต้นเคมีภัณฑ์ แผนประทุษกรรม ข้อมูลผลตรวจพิสูจน์ยาเสพติด รวมไปถึงการลดช่องว่างทางกฎหมายที่ควบคุมสารเคมีภัณฑ์ในแต่ละประเทศเพื่อป้องกันการรั่วไหลของสารตั้งต้นและเคมีภัณฑ์ และการพัฒนาศักยภาพของเจ้าหน้าที่บังคับใช้กฎหมายโดยเฉพาะอย่างยิ่งการสืบการฟอกเงินผ่านสกุลเงินดิจิทัล จึงเป็นเรื่องที่ทุกประเทศจำเป็นต้องให้ความสำคัญอย่างเร่งด่วน นอกจากนี้ คณะผู้แทนประเทศไทยยังได้ร่วมหารือกับผู้บัญชาการ NPA โดยทั้งสองฝ่ายได้ชื่นชมความร่วมมือระหว่างกันที่มีมาอย่างยาวนานและใกล้ชิด ซึ่งส่งผลให้การดำเนินการต่อสู้กับยาเสพติดของทั้งสองประเทศประสบความสำเร็จอย่างดียิ่ง ยืนยันที่จะพัฒนาและกระชับความร่วมมือให้ดีและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นต่อไป รวมถึงสนับสนุนกรอบความร่วมมือที่มีอยู่ในปัจจุบัน และการส่งเจ้าหน้าที่ประสานงานมาประจำการ ณ สำนักงาน ป.ป.ส. ซึ่งเป็นกลไกที่ทำให้สามารถแลกเปลี่ยนการข่าวและสนับสนุนการวางแผนปฏิบัติการได้อย่างทันท่วงที และมีประสิทธิภาพ

ที่มา: สำนักข่าวคาดเชือก
เว็บไซต์: https://kardchuek.net

ผู้นำเสนอข่าว

Hnoy

Written by:

3,849 Posts

View All Posts
Follow Me :

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *