ป.ป.ส. กองทัพ ตำรวจ สาธารณสุข จับมือ เตรียมเปิดศูนย์รองรับผู้ป่วยเพิ่ม 2 รูปแบบ เร่งบำบัดผู้ป่วยจิตเวช ลดความเดือดร้อนชุมชน

ป.ป.ส. กองทัพ ตำรวจ สาธารณสุข จับมือ เตรียมเปิดศูนย์รองรับผู้ป่วยเพิ่ม 2 รูปแบบ เร่งบำบัดผู้ป่วยจิตเวช ลดความเดือดร้อนชุมชน

ป.ป.ส. กองทัพ ตำรวจ สาธารณสุข จับมือ เตรียมเปิดศูนย์รองรับผู้ป่วยเพิ่ม 2 รูปแบบ เร่งบำบัดผู้ป่วยจิตเวช ลดความเดือดร้อนชุมชน เมื่อวันที่ 9 มกราคม 2567 พล.ต.ท.ภาณุรัตน์ หลักบุญ เลขาธิการ ป.ป.ส. เป็นประธานการประชุมหารือแนวทางการตรวจรองรับผู้ป่วยยาเสพติดและจิตเวชในพื้นที่ พร้อมด้วย พล.ต.ท.อัคราเดช พิมลศรี ผู้ช่วย ผบ.ตร. สำนักงานตำรวจแห่งชาติ พล.ต.นวกร สงวนศักดิ์โยธิน รองผู้อำนวยการศูนย์ประสานการปฏิบัติที่ 2 กอ.รมน. นพ.กิตติศักดิ์ อักษรวงศ์ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข แพทย์หญิงอัมพร เบญจพลพิทักษ์ อธิบดีกรมการแพทย์ นายศิริศักดิ์ ธิติดิลกรัตน์ รองอธิบดีกรมสุขภาพจิต นางสาวอารีภักดิ์ เงินบำรุง ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด สำนักงาน ป.ป.ส. ผู้ที่เกี่ยวข้องจาก สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กระทรวงกลาโหม กระทรวงสาธารณสุข และสำนักงาน ป.ป.ส. เข้าร่วมประชุม ณ ห้องประชุม Command Centre สำนักงาน ป.ป.ส. พล.ต.ท.ภาณุรัตน์ หลักบุญ เลขาธิการ ป.ป.ส. กล่าวว่า นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ได้กำหนดให้การปัญหายาเสพติดเป็นวาระแห่งชาติ ที่ต้องได้รับการแก้ไข โดยเฉพาะการแก้ไขปัญหาผู้ใช้ยาเสพติดเป็นเวลานานจนเกิดอาการทางจิตและก่อความรุนแรงในชุมชน ที่ได้กำหนดปฏิบัติการ Quick Win มีเป้าหมายในการนำผู้ป่วยจิตเวชจากการสำรวจจำนวนกว่า 7,000 คน เข้าสู่กระบวนการบำบัด และหากเจอผู้ป่วยจิตเวชรายใหม่ที่นอกเหนือจากที่สำรวจให้นำเข้าสู่กระบวนการบำบัดด้วย และเมื่อวันที่ 5 มกราคม 2567 นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ได้มีข้อห่วงใยถึงปัญหาจิตเวชที่ส่งผลกระทบต่อสังคมไทย และมอบหมายให้ กองทัพบก กระทรวงสาธารณสุข สำนักงานตำรวจแห่งชาติ หารือถึงมาตรการในการดูแลผู้ป่วยจิตเวชที่ผ่านกระบวนการบำบัดจนมีอาการดีขึ้นแล้ว แต่เมื่อส่งกลับไปยังชุมชน ไม่ได้รับประทานยาตามกำหนด หรือกลับไปใช้ยาเสพติดซ้ำ ทำให้เกิดอาการทางจิตและอาจก่อความรุนแรงขึ้นอีก พล.ต.ท.ภาณุรัตน์ กล่าวว่า หลังการประชุมในวันนี้ หน่วยงานจาก กระทรวงสาธารณสุข กองทัพ และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ได้เห็นตรงกันในการร่วมมือกันที่จะจัดตั้งศูนย์รองรับการบำบัดรักษาผู้ป่วยจิตเวชจากยาเสพติด ใน 2 รูปแบบ คือ 1. ศูนย์รักษ์ใจ เพื่อเป็นสถานที่ชั่วคราวในการดูแลผู้ป่วยยาเสพติดที่มีอาการทางจิตก่อนส่งต่อเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลในพื้นที่ โดยจะเปิดดำเนินการใน 4 พื้นที่ ได้แก่ นครราชสีมา ปราจีนบุรี อุบลราชธานี และกาญจนบุรี ทั้งนี้ สำนักงาน ป.ป.ส. ร่วมกับกระทรวงสาธารณสุข และกรมแพทย์ทหารบก ได้ดำเนินการฝึกอบรมบุคลากรทหารที่จะปฏิบัติงานในศูนย์รักษ์ใจทั้ง 4 แห่ง เป็นที่เรียบร้อยแล้ว 2. สถานฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดที่มีอาการทางจิตระยะพักฟื้น เพื่อดูแลผู้ป่วยจิตเวชที่ได้รับการรักษาแล้วซึ่งต้องทานยารักษาต่อเนื่อง แต่ชุมชน/ครอบครัว ไม่พร้อมที่จะดูแลอย่างใกล้ชิด ในจังหวัด ขอนแก่น อุบลราชธานี อุดรธานี นครราชสีมา และนครพนม ทั้งนี้ ทางกองทัพขอกลับไปหารือต้นสังกัดในการจัดหาสถานที่ที่เหมาะสมต่อไป การจัดตั้งสถานฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดที่มีอาการทางจิตระยะพักฟื้น เพิ่มเติมนี้ได้รับความร่วมมือจาก ทั้ง 3 หน่วยงาน โดยสถานที่ และบุคลากรจะเป็นของกองทัพ และมีกระทรวงสาธารณสุขในการควบคุมดูแลให้สถานที่เป็นไปตามมาตรฐานที่เหมาะสม รวมถึงอบรมให้ความรู้และเป็นพี่เลี้ยงให้บุคลากรที่ปฏิบัติหน้าที่ให้มีความพร้อมในการรองรับผู้ป่วย ในขณะที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติจะดำเนินการ สำรวจผู้ป่วยเพื่อนำเข้ารักษา นอกจากนั้นในส่วนของศูนย์พักคอย ที่จะต้องมีการฝึกอาชีพเพื่อให้สามารถกลับเข้าสู่สังคมได้ ซึ่งสำนักงาน ป.ป.ส. จะจัดประชุม และดึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กระทรวงมหาดไทย กระทรวงแรงงาน กระทรวงพัฒนาความมั่นคง เข้าร่วมพัฒนาจุดนี้ด้วย พล.ต.ท.ภาณุรัตน์ กล่าวอีกว่า จากสถานการณ์ปัญหาการคลุ่มคลั่งจากยาเสพติดที่เกิดขึ้น สถานฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดจะถูกเพิ่มจำนวนขึ้นเพื่อรองรับผู้ป่วยจิตเวชจากยาเสพติด และจะต้องเร่งดำเนินการให้พร้อมในต้นเดือนกุมภาพันธ์ 2567 โดยในวันนี้ต้องขอบคุณ กระทรวงกลาโหม กระทรวงสาธารณสุข และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ที่ร่วมมืออย่างเต็มที่ในการแก้ไขปัญหาตามนโยบายของรัฐบาล ตนยินดีที่เห็นทุกฝ่ายร่วมมือกันและมองปัญหายาเสพติดเป็นปัญหาของชาติไม่ใช่ปัญหาของหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่ง —–

ที่มา: สำนักข่าวคาดเชือก
เว็บไซต์: https://kardchuek.net

ผู้นำเสนอข่าว

Hnoy

Written by:

3,623 Posts

View All Posts
Follow Me :

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

You May Have Missed