วันสารทไทย แห่ทำบุญแน่นวัดแสดงความกตัญญูต่อบรรพชนที่ล่วงลับไปแล้ว

วันสารทไทย แห่ทำบุญแน่นวัดแสดงความกตัญญูต่อบรรพชนที่ล่วงลับไปแล้ว

วันสารทไทย แห่ทำบุญแน่นวัดแสดงความกตัญญูต่อบรรพชนที่ล่วงลับไปแล้ว

เชื่อว่าในช่วงวันสารทเดือนสิบ ญาติพี่น้องที่ตายจากไปแล้ว แต่ยังต้องชดใช้กรรมอยู่ จะได้กลับมาหาครอบครัวเพื่อรับส่วนบุญกุศล

เมื่อเวลา 08.30 น.วันนี้ 14 ต.ค.66 ผู้สื่อข่าว จ.ปราจีนบุรีรายงานบรรยากาศการทำบุญในวันหยุดยาวต่อเนื่อง “วันสารทไทย”แรม 15 ค่ำ เดือนสิบ (10) พบที่วัดโคกมะกอก หมู่ 1 ต.ดงขี้เหล็ก อ.เมืองปราจีนบุรี จ.ปราจีนบุรี พุทธศาสนิกหนาแน่นเต็มศาลาการเปรียญ มากกว่า 500 คน ต่างนำอาหาร คาว หวาน ผลไม้ น้ำดื่มสะอาด ดอกไม้ธูปเทียน,เครื่องสังฆทาน พร้อม ขนมกระยาสารท นำมาทำบุญตักบาตรอย่าง โดยมีพระครูสถิตสุทธิคุณ เจ้าอาวาสวัดโคกมะกอก เป็นประธานฝ่ายสงฆ์

หลังจากศาสนพิธี บูชาพระรัตนตรัย อาราธนาศีล 5 สมาทานศีล 5 กล่าวถวายภัตตาหาร อุทิศบุญกุศล ทำบังสุกุลแก่ญาติผู้ล่วงลับแล้ว พระสงฆ์ได้แสดงพระธรรมเทศนาให้พุทธศาสนิกชนได้ทราบถึงความสำคัญของวันสารทไทย และ การนำหลักธรรมเพื่อประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน สรุปความว่า …

… ประเพณีวันสารทไทยมีมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย ส่วนสาเหตุที่สันนิษฐานว่าได้รับอิทธิพลมาจากอินเดียและคติพราหมณ์ เนื่องจากในอดีตช่วงวันสารทที่จัดในเดือน 10 เมื่อเทียบกับช่วงฤดูเก็บเกี่ยวของไทยแล้ว พบว่าเป็นช่วงที่ข้าวยังไม่สุก ไม่ใช่ฤดูเก็บผลผลิตของไทย จึงไม่สามารถทำขนมกระยาสารทขึ้นมาโดยใช้ผลผลิตในช่วงนั้นได้ เมื่อเป็นเช่นนั้น คนไทยจึงดัดแปลงด้วยการนำข้าวสารเก่า ผสมกับถั่วและงา เพื่อใช้ทำขนมกระยาสารท สำหรับบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เทวดา และผีสาง ที่คอยปกป้องคุ้มครองแทนนั่นเอง

ต่อมาเมื่อคนไทยหันมานับถือศาสนาพุทธ จึงนิยมทำบุญกับพระสงฆ์ เพื่ออุทิศบุญส่วนกุศลไปให้บรรพบุรุษ รวมถึงผู้ตายที่ตกเป็น “เปรต” ให้ได้มีโอกาสมารับส่วนบุญในวันทำบุญสารทเดือนสิบ ซึ่งคนใต้จะเรียกวันนี้ว่า “วันทำบุญชิงเปรต” โดยจะต้องมีการจัดสำรับอาหาร ผลไม้ ขนมพอง ขนมลา ฯลฯ นำไปทำบุญ เพื่อหวังให้ญาติพี่น้องที่ล่วงลับไปแล้ว ได้รับผลบุญในช่วงเทศกาลดังกล่าว

ความสําคัญวันสารทไทย สะท้อนแนวคิดเรื่อง การแสดงความกตัญญูต่อบรรพชนที่ล่วงลับไปแล้ว เชื่อว่าในช่วงวันสารทเดือนสิบ ญาติพี่น้องที่ตายจากไปแล้ว แต่ยังต้องชดใช้กรรมอยู่ จะได้กลับมาหาครอบครัวเพื่อรับส่วนบุญกุศล

การแสดงความเคารพต่อผู้มีพระคุณ แสดงถึงความผูกพันระหว่างบรรพชนที่เสียชีวิตไปแล้ว และลูกหลานญาติพี่น้องที่ยังมีชีวิตอยู่ การแสดงความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ เนื่องจากในช่วงวันสารทไทย คนไทยมักจะนิยมนำขนมกระยาสารท หรือขนมตามประเพณีของแต่ละท้องถิ่น ไปมอบให้แก่กัน การแสดงความเคารพต่อธรรมชาติ แม่โพสพ ผีสาง เทวดา (ตามความเชื่อของแต่ละพื้นที่) ที่ช่วยปกป้องคุ้มครองให้พืชผลการเกษตรได้ผลดี การเสียสละ ทำบุญ บริจาคทาน ไม่โลภ ไม่ยึดติด อีกทั้งเป็นการอุปถัมภ์ค้ำชูพระพุทธศาสนา อนุรักษ์ประเพณีไทยสืบไป …

ที่มา: สำนักข่าวคาดเชือก
เว็บไซต์: https://kardchuek.net

ผู้นำเสนอข่าว

Hnoy

Written by:

3,628 Posts

View All Posts
Follow Me :

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

You May Have Missed