ศอ.บต. เร่งส่งเสริม การเรียนการสอนวิชาภาษาไทยแก่เยาวชนชายแดนใต้

ศอ.บต. เร่งส่งเสริม การเรียนการสอนวิชาภาษาไทยแก่เยาวชนชายแดนใต้

ศอ.บต. เร่งส่งเสริม การเรียนการสอนวิชาภาษาไทยแก่เยาวชนชายแดนใต้

พร้อมหนุน ร.ร.ตชด.บ้านตืองอ จ.นราธิวาส เป็นต้นแบบการเรียนรู้ของเด็กในถิ่นทุรกันดาร

จากปัญหาการเรียนการสอนวิชาภาษาไทยของเยาวชนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้พบว่า เด็กอ่านไม่ออก เขียนไม่ได้ และมีเกณฑ์การศึกษาที่ต่ำกว่ามาตรฐาน ทำให้ขาดโอกาสทางการศึกษา เมื่อเปรียบเทียบกับเยาวชนในพื้นที่อื่นของประเทศไทย ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) จึงได้เล็งเห็นความสำคัญที่จะมุ่งเน้นและพัฒนาให้เกิดการเรียนรู้ ผ่านโครงการสนับสนุนวิทยากรผู้สอนภาษาไทยในโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน สังกัดกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 43 และ 44 จำนวน 18 แห่ง ที่ผ่านการฝึกทักษะทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติ โดยมีต้นแบบอยู่ที่โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านตืองอช่างกลปทุมวันอนุสรณ์ 13 ตำบลศรีบรรพต อำเภอศรีสาคร จังหวัดนราธิวาส

พ.ต.ต. สุวิทย์ ช่วยเทวฤทธิ์ ครูใหญ่โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านตืองอช่างกลปทุมวันอนุสรณ์ 13 ตำบลศรีบรรพต อำเภอศรีสาคร จังหวัดนราธิวาส เผยว่า โรงเรียนมีความตั้งใจที่จะพัฒนาและยกระดับการเรียนการสอนของเด็กในถิ่นทุรกันดารให้เสมอภาคกับเด็กในภูมิภาคอื่น ๆ โดยได้ใช้แนวทางการแก้ไขปัญหาของเด็กที่อ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ นำเด็กมาทดสอบความรู้ความสามารถผ่านวิธีการต่าง ๆ ซึ่งที่ผ่านมาพบว่ามีเด็กในระดับประถมศึกษาปีที่ 3 – 6 อ่านไม่ออก เขียนไม่ได้กว่า 40 คน จึงได้นำมาเข้ากระบวนการวิเคราะห์เป็นรายบุคคลและแยกประเภทผ่านการจัดทำแผนแบบเร่งรัด ฝึกฝนจนเกิดความชำนาญ โดยมีครูผู้สอนคอยประกบอย่างใกล้ชิดและประเมินความรู้ตลอดจนพัฒนาการของเด็กอย่างต่อเนื่องตั้งเป้า 1 ปี เด็กเหล่านี้จะต้องได้รับการแก้ไขให้ได้ แต่ตลอดระยะเวลา 4 เดือนพบว่ากว่า 80 % เด็กเริ่มมีความก้าวหน้าและพัฒนาการที่ดีขึ้น รู้จักพยัญชนะ สระ สามารถรู้ความหมายของคำ นับเป็นความภาคภูมิใจที่ในฐานะครูตชด.คนหนึ่งที่ทำหน้าที่ถ่ายทอดความรู้ให้กับลูกศิษย์ทุกคนได้ประสบความสำเร็จและอนาคตสิ่งเหล่านี้จะเป็นใบเบิกทางของความมั่นคงในการดำรงชีวิตต่อไป

ด้านวิทยากรผู้สอนวิชาภาษาไทย ให้สัมภาษณ์ว่า การเรียนการสอนวิชาภาษาไทยตนได้นำเอาสื่อการเรียนการสอนมาฝึกความคล่องของการใช้คำ ให้รู้จักพยัญชนะ ตัวสะกด การอ่านออกเสียง นำอุปกรณ์ที่เหมาะสมสร้างสิ่งกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้ สนุก เพลิดเพลิน มีอารมณ์ร่วมในการโต้ตอบกับครูผู้สอน จากที่เมื่อก่อนเด็ก ๆ กลุ่มนี้ไม่รู้จักแม้แต่ตัวพยัญชนะหรือสระ อ่านไม่ออก เขียนไม่ได้ จนรู้สึกท้อแท้ไม่รู้จะแก้ไขปัญหาอย่างไรแต่ปัจจุบันเด็กๆ เริ่มอ่านออกเขียนได้ ทำให้ตนรู้สึกภูมิใจและหายเหนื่อยเป็นปลิดทิ้งที่ได้เห็นเด็ก ๆ มีพัฒนาการ ที่ดีขึ้น

ขณะที่ด.ช.อัฮหมัด ดือราแม นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 กล่าวว่า รู้สึกดีใจที่ได้เรียนวิชาภาษาไทย เพราะเป็นวิชาที่ตนเองชอบเรียนมาก เนื่องจากไม่ยาก คุณครูสอนสนุก มีกิจกรรม มีเกมให้เล่น ทำให้ได้เรียนรู้คำต่าง ๆ ซึ่งตนเองอยากให้เพื่อน ๆ ตั้งใจเรียนภาษาไทยและใช้ภาษาไทยให้เก่งเหมือนผม

กว่า 5 ปีที่ศอ.บต.ได้ดำเนินส่งเสริมการเรียน การสอนวิชาภาษาไทย ตั้งแต่ปี 2560 – 2565 พบว่าเด็กนักเรียน ในโรงเรียน ตชด. มีผลการเรียนอยู่ในระดับดีขึ้นร้อยละ 40.13 เมื่อเปรียบกับโรงเรียนใกล้เคียง และปี 2566 ศอ.บต. ได้มีการโอนภารกิจต่อให้กับสำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดยกองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน และปี 2567 จะมีการขยายผลการดำเนินงานร่วมกับกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 43 และ 44 ติดตามประเมินคุณภาพผู้เรียน (NT : Nationa! Test) ด้านภาษาไทยอย่างใกล้ชิด เพื่อให้นักเรียนในถิ่นทุรกันดารได้รับการศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพเฉกเช่นเดียวกับเด็กในภูมิภาคอื่น และต้องดำรงอยู่ในสังคมพหุวัฒนธรรมที่หลากหลายอย่างมีความสุข

ที่มา: สำนักข่าวคาดเชือก
เว็บไซต์: https://kardchuek.net

ผู้นำเสนอข่าว

Hnoy

Written by:

3,628 Posts

View All Posts
Follow Me :

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

You May Have Missed