ผู้ว่าฯ ชุมพรลงพื้นที่ช่วยผู้ประสบภัย “พายุงวงช้าง” พัดบ้านเรือนเสียหายกว่า 13 หลัง

ผู้ว่าฯ ชุมพรลงพื้นที่ช่วยผู้ประสบภัย “พายุงวงช้าง” พัดบ้านเรือนเสียหายกว่า 13 หลัง

ผู้ว่าฯ ชุมพรลงพื้นที่ช่วยผู้ประสบภัย “พายุงวงช้าง” พัดบ้านเรือนเสียหายกว่า 13 หลัง วันนี้ (29 พ.ย.66) เวลา 17.30 น. นายวิสาห์ พูลศิริรัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร พร้อมด้วยคณะหัวหน้าส่วนราชการ นายอำเภอเมืองชุมพร สมาชิกเหล่ากาชาดจังหวัดชุมพร ชมรมแม่บ้านมหาดไทยจังหวัดชุมพร ผู้นำท้องถิ่น และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ลงพื้นที่ หมู่ 1 ต.หาดทรายรี อ.เมืองชุมพร เพื่อตรวจเยี่ยมและให้กำลังใจชาวบ้านผู้ประสบภัยจากปรากฏการณ์ “พายุงวงช้าง” ที่ถล่มบ้านเรือนชาวบ้านที่อยู่ติดชายฝั่งทะเลเสียหายกว่า 13 หลังคาเรือน พร้อมทั้งทรัพย์สินและรถยนต์ เบื้องต้น จังหวัดชุมพร เหล่ากาชาดจังหวัดชุมพร ได้มอบเครื่องอุปโภค บริโภค พร้อมเงินสดจำนวนหนึ่ง เพื่อเป็นการให้กำลังใจและช่วยเหลือพี่น้องประชาชนที่ได้รับการเดือดร้อนในเบื้องต้น นายสุนนท์ ทองประดิษฐ์ ชาวบ้านในพื้นที่ ม.1 ต.หาดทรายรี อ.เมืองชุมพร เปิดเผยว่า เหตุการณ์ดังกล่าว เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 27 พ.ย.66 ที่ผ่านมา เวลา ประมาณ 11.40 น. “พายุงวงช้าง” ได้ก่อตัวขึ้นและสร้างความเสียหายแก่บ้านเรือนที่อยู่บริเวณใกล้เคียง ซึ่งบ้านตนเองก็ถูกพายุพัดหลังคาไป 60 กว่าแผ่น อีกทั้งโรงแพทำปลาหมึกตากแห้งก็โดนเล่นงานพังเสียหายเช่นกัน สำหรับ พายุงวงช้าง (water spout) เกิดจากการที่มวลอากาศเย็นเคลื่อนผ่านเหนือผิวน้ำที่อุ่นกว่า โดยอากาศบริเวณใกล้ ๆ ผิวน้ำ มีความชื้นสูง และมีลมอ่อน ทำให้อากาศที่ผิวน้ำไหลขึ้นอย่างรวดเร็วและรุนแรง ทำให้อากาศที่อยู่โดยรอบซึ่งเย็นกว่า ไหลเข้ามาแทนที่อย่างรวดเร็วเช่นกัน จึงเกิดการบิดเป็นเกลียวพวยพุ่งขึ้นบนท้องฟ้า และมักจะมีพายุฝนฟ้าคะนองร่วมอยู่ด้วย โดยลักษณะการเกิด “พายุงวงช้าง” จะคล้ายกับ “พายุทอร์นาโด” แต่จะมีความแตกต่างที่พายุทอร์นาโด มักเกิดขึ้นเหนือพื้นดินที่ร้อนถึงร้อนจัด ส่วนพายุงวงช้าง ที่เกิดเหนือพื้นน้ำ ซึ่งมีความรุนแรงน้อยกว่าพายุทอร์นาโดมาก มักเกิดบ่อย ๆ บนพื้นน้ำในเขตโซนร้อน อย่างในประเทศไทย ขณะที่ช่วงเวลาที่เกิดปรากฏการณ์นี้กินเวลาไม่นานนัก ทั้งนี้ จังหวัดชุมพร ได้รับผลกระทบจากหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงปกคลุมบริเวณภาคใต้ตอนล่าง ประกอบกับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือกำลังค่อนข้างแรง พัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคใต้ และทะเลอันดามัน ทำให้จังหวัดชุมพรเกิดสถานการณ์ฝนตกหนัก 2 ช่วงด้วยกัน รอบแรกช่วงวันที่ 17-19 พ.ย. และมาโดนซ้ำอีกรอบในวันที่ 27 พ.ย.ที่ผ่านมา โดยเฉพาะพื้นที่โซนใต้ อำเภอทุ่งตะโก พะโต๊ะ หลังสวน และละแม พื้นที่ประสบอุทกภัย เมื่อวันที่ 27 พ.ย. 66 รวมจำนวน 17 ตำบล 156 หมู่บ้าน ซึ่งสถานการณ์ปัจจุบันฝนได้หยุดตกลงมาแล้ว แต่ยังมีพื้นที่น้ำท่วมขัง โดยเฉพาะ ต.พ้อแดง อ.หลังสวน ที่บางครัวเรือนน้ำท่วมขังภายในบ้านมากว่า 3 วันแล้ว ซึ่งทาง ผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร ได้ลงพื้นที่ให้กำลังพี่น้องประชาชน และให้ความช่วยเหลือในเบื้องต้น พร้อมประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้การช่วยเหลืออย่างเร่งด่วนที่สุด

ที่มา: สำนักข่าวคาดเชือก
เว็บไซต์: https://kardchuek.net

ผู้นำเสนอข่าว

Hnoy

Written by:

3,713 Posts

View All Posts
Follow Me :

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

You May Have Missed