นนทบุรี ขยะล้นเมืองไร้ปัญหาเตรียมสร้างโรงไฟฟ้าเผาขยะสดอีก2ปีข้างหน้า
นนทบุรี เมื่อวันที่ 13 ก.ย. 2566 เนื่องจากนนทบุรี มีประชาชนพักอาศัยเยอะซึ่งทั้งจังหวัดมีอยู่ 6 อำเภอและทั้งจังหวัดจะนำขยะมาทิ้งที่บ่อขยะไทรน้อย ต.คลองขวาง อ.ไทรน้อย จ.นนทบุรี ซึ่งเป็นบ่อขยะขนาดใหญ่ ในเนื้อที่ 625 โดยประมาณเป็นขยะฝังกลบ ส่วนขยะติดเชื้อแยกเผา ซึ่งที่ผ่านมาช่วงโควิด19 ขยะติดเชื้อเยอะจนล้นซึ่งก็เผาขยะติดเชื้อตลอด24ชั่วโมง ซึ่งทุกวันนี้ขยะติดเชื้อก็ลดน้อยลงเป็นจำนวนมาก และในทุกวันจะมีขยะเข้ามาที่บ่อขยะไทรน้อยเป็นขยะฝังกลบ 1500-1600 ตันต่อวันและขยะติดเชื้อวันละ 16 ตัน ผู้สื่อข่าวลงพื้นที่ บ่อขยะไทรน้อยซึ่งเป็นบ่อขยะฝังกลบขนาดใหญ่ พร้อมทั้งมีบ่อบำบัดน้ำเสียจากขยะซึ่งบางครั้งชาวบ้านก็ได้รับผลกระทบจากกลิ่นขยะในช่วงที่รมพัดแรงหรือช่วงหน้าหนาว
นาย ณพ สัยละมัย นักวิชาการสิ่งแวดล้อมชำนาญการ กล่าวว่า ที่บ่อขยะจะมีเตาเผาขยะมูลฝอยติดเชื้อขนาด 9.6 ตันซึ่งรองรับเผาขยะทั้งหมดของขยะจังหวัดนนทบุรีที่นำมาเผาที่นี้ ซึ่งขยะจะมารอเป็น2ส่วนคือสวนเผากำจัดเลยและรอกำจัดอยู่ในห้องเย็นเพราะว่าต้องเผาขยะติดเชื้อตลอด24 ชม. ซึ่งจะมีเจ้าหน้าที่เข็นถังไปไว้ตรงที่ยกถังเพื่อที่จะยกถังอัตโนมัติขึ้นไปเพื่อป้อนเข้าสู่ที่รับขยะหลังจากนั้นเครื่องก็จะดันขยะเข้าไปเผาแบบหมุนเพื่อกำจัดขยะก็จะมีการควบคุมอุณหภูมิของการเผาสวนของเตาเผาก็จะอยู่ที่760 องศาอย่างต่ำและหลังจากนั้นจะเผาควันที่ประมาน 1000 องศา หลังจากนั้นก็จะเข้าสู่ขบวนการบำบัดมลพิษ ตั้งแต่กระบวนการลดอุณหภูมิการเติมสารบำบัดการกรองฝุ่นออกและระบบสุดท้ายคือการโปรยกรองด้วยน้ำที่เป็นผสมสารเคมีเพื่อบำบัดแก็สก่อนปล่อยสู่ภายนอกและเราก็มีการตรวจวัดมลพิษตลอด24 ชม. ซึ่งเตาเผาขยะของจังหวัดนนทบุรีมีทั้งหมด2เตา คือ ขนาด 9.6 ตันต่อวันและขนาด 7.2 ตัดต่อวัน และกำลังสร้างเตาที่3 ขนาด 9.6 ตัดต่อวัน ตอนนี้ขยะก็กลับเข้าสู่ช่วงปกติแล้วไม่ได้ล้นเหมือนตอนโควิด ก็สามารถกำจัดได้ทันก่อนสถานการณ์ไม่มีขยะตกค้าง แต่ว่าในส่วนของห้องเย็นที่เก็บขยะไว้เนื่องจากว่ามีการเผาเดินระบบ24 ชม.แต่ว่าขยะที่เข้ามาพนักงานจะเก็บขนเข้ามากำจัดในตอนกลางวัน ของจังหวัดนนทบุรีขยะที่ติดเชื้อที่ส่งมาในระบบเตาเผาอยู่ที่ประมาน 6-8 ตัดต่อวันแต่พื้นที่ข้างเคียงก็ส่งมากำจัดที่นี้รวมๆแล้วที่ส่งมากำจัดอยู่ที่ 14-16ตันต่อวันถือว่าสามารถกำจัดได้เพียงพอ ส่วนขยะฝังกลบที่จังหวัดนนทบุรีส่งมากำจัดอยู่ที่ประมาน 1500 -1600 ตันต่อวัน ปัจจุบันก็เข้าสู่หลุมฝั่งกลบขยะโดยเป็นหลุมฝั่งกลบแบบถูกหลักสุขภิบาลและในอนาคตก็จะเปลี่ยนรูปแบบเตาเผาเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า ซึ่งรองรับการเผาขยะได้1000 ตันต่อวันและยังมีโครงการเตาเผาระยะที่4 กำจัดอีก1000 ตันต่อวันซึ่งอยู่ในกระบวนการขออนุมัติ ถ้าเป็นขยะขยะทั่วไปจะเป็นของจังหวัดนนทบุรีทั้งจังหวัดมาที่ไทรน้อยที่เดียว จะไม่รับขยะนอกเขตจังหวัดนนทบุรี
ทางด้านนายอุดร ระโหฐาน รองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรี คนที่ 3 กล่าวว่า ในจังหวัดนนทบุรี องค์การบริหารส่วนขังหวัดนนทบุรี รับภาระที่ปลายทางในเรื่องของการกำจัด ส่วนต้นทางก็เป็นหน้าที่ของ อบต.และเทศบาลมีประมาน 40 หว่าแห่งในจังหวัดนนทบุรี ไม่ว่าจะเป็นเทศบาลหรืออบต.ที่เอาขยะออกจากเมืองไปสู่ที่ไทรน้อยที่เป็นหลุมฝั่งกลบ อบจ.รับหน้าที่ที่ปลายทางอยู่ การบริหารยังไงที่ปลายทาง ที่ต้นทางอบต.หรือเทศบาลจะนำขยะไปปลายทางวันหนึ่ง ขยะชุมชนทั่วไป 1500-1600 ตันต่อวัน ขยะติดเชื้อในจังหวัดนนทบุรีมีประมาน 5-6 ตันต่อวัน ที่เหลือก็จะเป็นเขตรอบนอกของจังหวัดนนทบุรีซึ่งเราก็รับบริการด้วยก็จะประมาน 16 ตันต่อวัน ที่รับภาระจากขยะมูลฝอยติดเชื้อกับสถานพยาบาลต่างๆ ปัญหาหลักที่ดูแลอยู่ตอนนี้คือขยะชุมชนทั่วไป ตอนนี้อบจ.นนทบุรีมีแผนการดำเนินงานในระยะยาวก็คือการนำเชื้อเพลิงขยะมาเป็นเชื้อเพลิงผลิตกระแสไฟฟ้า เพราะว่าในต้นทางของเราการคัดแยกขยะยังไม่ได้ประสิทธิภาพเท่าที่ควร เพราะฉะนั้นจึงเป็นปัญหาที่ปลายทางของเราต้องไปกำจัดปัจจุบันนี้กำจัดด้วยวิธีฝั่งกลบ รับมาตั้งแต่ปี 30 มา 30กว่าปีแล้วใช้พื้นที่ไปประมาน 600 ไร่ได้ ตอนนี้การวางแผนท่านนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรี ก็คือ พ.ต.อ.ธงชัย เย็นประเสริฐ ท่านคิดว่าการฝั่งกลบปัญหามันเยอะไม่ว่าจะเป็นเรื่องกลิ่น ไม่ว่าจะเป็นน้ำชะขยะมูลฝอยท่านก็เลยมีแนวนโยบายว่าทำยังไงให้เอาขยะพวกนี้ไปเป็นเชื้อเพลิงในการผลิตกระแสไฟฟ้า ขยะเก่าสามารถเผาผลิตไฟฟ้าได้ 9.5 เม็กกาวัต ขยะสดที่มีประมาน 1500-1600ตันต่อวัน ท่านจะแบ่งเป็น2เฟสด้วยกัน เฟสแรก1000 ตัน ท่านบริษัทให้เอกชนมาลงทุน ประมาน 4,000 กว่าล้านบาท ตอนนี้ได้ผู้ลงทุนเรียบร้อยแล้ว อยู่ในขบวนการพิจารณาซื้อขายไฟของคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงานซึ่งคิดว่าในปลายปี66 ได้ลงมือในการก่อสร้าง ส่วนที่โรงหนึ่งคิดไว้ว่าหน้าจะสร้างต้นปีหรือปลายปี67 เป็นเฟสที่2 เพราะว่าขยะเราที่คาดการไว้แล้วหน้าจะประมาน 2,000 ตันในอนาคตอันใกล้นี้ เพราะฉะนั้นถ้าก่อสร้างในระหว่างปี 2ปีนี้ ได้โรงแรก ปัญหาในเรื่องการฝั่งกลบก็จะหายไป ในระยะยาวก็ไม่ต้องมาฝั่งกลบ ปัญหาคือเรื่องกลิ่น น้ำชะขยะ ไฟไหม้ขยะ ซึ่งเป็นปัญหาหลักของการฝั่งกลบ โดยเฉพาะฤดูหนาวกลิ่นจะโฉยเข้าไปในเมืองนิดหน่อย ส่วนหน้าแร้งก็ไม่มีปัญหาอะไร ที่เราแก้ปัญหาตอนนี้คือเวลาฝั่งกลบก็นำผ้ามาคลุมปิดดินให้หมดและนำแผ่น HDPE มาคลุมอีกชั้นเพื่อแยกน้ำฝน เพราะว่าฝนตกทีหนึ่งพื้นที่100 กว่าไร่ปริมานน้ำฝนจะเยอะ เพราะฉะนั้นจึงแยกน้ำฝนออกไปข้างนอกโดยไม่ผ่านการชะล้างของขยะซึ่งคือการแก้ไขเฉพาะหน้าในตอนนี้ ในช่วง2ปีข้างหน้าก่อนที่โรงไฟฟ้าจะเกิดก็อาจจะมีประเด็นปัญหานิดนึ่งเราของการฝั่งกลบ 600 กว่าไร่ ก็ฝังกลบไปจนเกือบเต็ม เพราะฉะนั้น2ปี ก็ได้เตรียมพื้นที่ไว้ 2 พื้นที่ เตรียมไว้ประมานไม่เกิน100ไร่ คิดว่า 2ปีนี้จะรับขยะปริมานที่เกิดรายวัน 1500-1600ตัน ประมาน 1-2ปี มีพื้นที่รองรับแต่หลังจากนั้นก็จะผลักภาระปริมานขยะสดเข้าไปยังโรงไฟฟ้า ซึ่งได้วางแผนไว้2ระยะด้วยกัน ระยะแรก 1000 ตัน และ ระยะที่2 อีก 1000 ตัน คิดว่าปัญหาพวกนี้ไม่หน้าจะเกิน2ปี จะสามารถแก้ปัญหาได้ครบถ้วนสมบูรณ์ ปัญหาหลักอีกอย่างหนึ่งก็คือ ถ้าเราแยกน้ำชะล้างขยะหรือน้ำฝนแยกออกไปข้างนอกและส่วนหนึ่งที่เป็นน้ำชะขยะจริงๆเรามีโรงบำบัดน้ำชะขยะอยู่ ซึ่งบำบัดได้เกือบ100เปอเซ็นต์วันหนค่งประมาน 500 ลูกบาศเมตรต่อวัน กำจัดได้ 400 ลูกบาศเมตรต่อวันก็เพียงพอ น้ำที่บำบัดเสร็จก็เอาไปใช้ในพื้นที่ลดน้ำต้นไม้บ้าง ที่เฟลือก็นำไปใช้สู่ภายนอก ดราไม่ได้เอาน้ำที่ผ่านการชะขยะโดยตรงเอาไปใช้ข้างนอกเลย ส่วนในเรื่องของค่าใช้จ่ายก็เป็นนโยบาลอย่างหนึ่งของเรา ค่าใช้จ่ายการกำจัดขยะณเวลานี้ถ้าเป็นขยะชุมชนทั่วไป เก็บจากท้องถิ่นซึ่งบางท้องถิ่นรายได้ๆม่เท่ากัน อาจจะเก็บจาก เทศบาล หรือ อบต. ซึ่งให้อุดหนุนมาตันล่ะ 150 บาท เท่านั้นส่วนฟนึ่งใน150 บาทเราก็มีให้เป็นค่าชดเชย หรือค่าที่อบต.คลองขวางที่ได้รับผลกระทบเราให้ไปประมาน 10เปอเซ็นต์หรือ 15 บาทต่อตัน เพื่อนำไปพัฒนาท้องถิ่นของเขา ส่วนเรื่องของการค่ากำจัดระยะยาวจากที่มีฝั่งกลบ ตันละ 150 บาท ถ้าสร้างโรงไฟฟ้าแล้วเราจะเก็บจากท้องถิ่นประมาน 300 บาทต่อตัน ส่วนขยะมูลฝอยติดเชื้อก็คิดที่ต้นทุนประมาน 12-13บาท ซึ่งเป็นทางกรมควบคุมมลพิษเป็นคนออกราคาค่ากำจัด ก็จะเก็บตามสถานพยาบาลทั้วไปก็จะมีค่าเก็บขนและค่ากำจัดก็ในราคาต้นทุนจริงๆ ถือว่าองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีฟน้าที่ดูแลในเรื่องของการบริการสาธารณะไม่ว่าจะเรื่องการกำจัดมูลฝอย สิ่งปติกูล น้ำเสีย ซึ่งในปีหน้าก็จะได้รับงบประมานในการบำบัติน้ำเสียในชุมชนทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยาทางอบจ.มีในเรื่องของการบำบัดให้ ในการหมักขยะก็ต้องมีแก็สชนิดหนึ่งเกิดขึ้นมาก็คือแก็สมีเทน อบจ.จึงได้คิดโครงการขึ้นมาว่าโครงการประเภทนี้คณะกรรมการกำกับพลังงานสามารถที่จะเอาไปผลิตกระแสไฟฟ้าได้หรือไม่ ซึ่ง2-3ปี ที่ผ่านมาก็ได้ทำโครงการนี้ขึ้นมา ซึ่งปัจจุบันได้รับการอนุมัติจากคณะกรรมการกำกับพลังงานที่เรียกว่า กกพ. ให้เราสามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้ไม่เกิน 5 เม็กกาวัต ซึ่งปัจจุบันก็ได้นำแก็สจากหลุมฝั่งกลบแทนทร่จะปล่อยให้เป็นแก็สที่ทำให้เกิดภาวะโลกร้อน เอามาเผาแทนที่จะเผาทิ้ง แต่เราเอามาใช้เป็นเชื้อเพลิงในเรื่องของการผลิตไฟฟ้า ตอนนี้ก็ขายได้ประมาน 2-3ปีแล้ว ซึ่งจะหมดประมาน 10ปี เราก็ได้มีโครงการที่เราสามารถขายไฟฟ้าได้ในเวลานี้ก็คือ ขยะเก่าได้ 1โรง ผลิตไฟฟ้าได้ 9.5 เม็กกาวัต และนำแก็สมาผลิตไฟฟ้าได้อีก 5 เม็กกาวัต ได้2โรงแล้ว ซึ่งอันนี้เป็นผลพลอยได้จากการฝั่งกลบขยะ นอกจากนั้นก็ยังนำแก็สมีเทน มาทำเป็นคาบอนเครดิตด้วยซึ่งก็ทำโครงการไปที่องค์การก๊าสเรือนกระจกซึ่งได้มาประเมินประมาน 2ปีแล้ว ก็หน้าจะได้ประมาน 1แสนตันคาบอนที่เก็บรวบรวม ซึ่งโครงการนี้ประมาน 7 ปีทำไปแล้วประมาน 2ปี ซึ่งก็เป็นการส่งเสริมก๊าสคาบอนเครดิตขององค์การก๊าสเรือนกระจกแทนที่จะปล่อยให้โลกร้อน เราก็สามารถนำแก็สตัวนี้มาผลิตกระแสไฟฟ้าได้เป็นส่วนหนึ่งของการต่อยอดจากการฝั่งกลบขยะ
นาย อภิชาติ ศรีขำอายุ 35 ปี ชาวบ้าน ที่อยู่ไกล้กับบ่อขยะอาชีพขายอาหารตามสั่งเล่าว่า ตนเป็นคนในพื้นที่ส่วนผลกระทบเรื่องกลิ่นขยะก็มีบ้างแต่ไม่เยอะจะได้กลิ่นช่วงที่ลมพันหนักๆก็แล้วแต่ทิศทางลมจะพัดไปด้านไหนแต่ก็ไม่บ่อยไม่ใช่ว่าจะมีกลิ่นเหม็นขยะทุกวันส่วนมากขยะจะมีกลิ่นช่วงหน้าหนาว
ทางด้าน นาง รุ่งรวี คล้ามทิม อายุ51 ปี แม่ค้าขายก๋วยเตี๋ยวเล่าว่าขยะจะส่งกลิ่นเหม็นมาในช่วงที่ลมพัดแรงไม่ได้ส่งกลิ่นเหม็นทุกวันจะมีกลิ่นช่วงหน้าหนาวเพราะด้านในบ่อขยะก็ทำรัดกลุมดี
นายอมรเดช โพธิสุข กล่าวว่า ตนวางถังขยะภายในบ้านถ้าเป็นถึงเศษอาหารตนจะวางไว้ตามจุดตนจะแยกไว้ ถ้าเป็นจำพวกเศษอาหารเวลาล้างจานพวกเศษตกค้างไขมัน ตนก็จะมีถังอีกถังไว้ใส่ และในห้องน้ำตนก็จะแควนถุงไว้แยกอีก อย่างเช่นห้องน้ำอาจจะเป็นขยะพวกขยะติดเชื้อไม่ค่อยสะอาดก็จะแยกไว้ต่างหาก ถ้าเป็นพวกขวดน้ำหรือขวดต่างๆ ตนก็จะแยกใส่ตระกร้าไว้ พอถึงวันพุธหรือวันเสาร์รถขยะจะมา ก่อนรถขยะจะมาก็นำขยะไปรวมใส่ถุงดำ แยกเป็นถุงไว้และนำไปรวมใส่ถุงดำทิ้งลงถังขยะอีกที
ป้าไก่ ภรรยา นายอมรเดช กล่าวว่าตนเป็นเจ้าหน้าที่ กทม.ซึ่งในบ้านของตนจะ ใช้ระบบ กทม.ซึ่งถังขยะทุกอย่างของใช้ในบ้านตน จะแยกอย่างเป็นระเบียบ เช่น ขวดน้ำ แก้วพาสติก เศษอาหาร น้ำมันที่ทำอาหารเวลาไม่ใช้แล้ว ก็จะเทใส่ขวด ขัดแยกเพื่อไม่ให้ท่อระบายน้ำตันเวลาฝนตก ถ้าเราไม่แยกมันก็จะค้างอยู่เต็มซอก เวลาฝนตกน้ำมันก็จะท่วมจะตันก็จะเป็นฝ่าเป็นไขมัน ตนจึงอยากให้ทุกคนช่วยกันคัดแยกให้เป็นระเบียบ และคนเก็บก็จะสบาย เขาก็จะมีรายได้ ทำงานไวขึ้น อย่างเช่นน้ำมันที่เรานำมาทอดตนก็เก็บใส่ขวดแยกไว้ ตนอยากให้ชุมชนหน่อยงาน หาจุดที่จะมารับซื้อน้ำมันตรงนี้ เพื่อที่จะให้ชาวบ้านครัวเรือนจะได้มีรายได้ โดยที่จะได้ไม่ต้องไปทิ้งเสียฟรี
ที่มา: สำนักข่าวคาดเชือก
เว็บไซต์: https://kardchuek.net