OpenAI เปิดให้บริการปลั๊กอินของ ChatGPT เปิดประตูเชื่อมต่อสู่โลกอินเทอร์เน็ต

OpenAI เปิดให้บริการปลั๊กอินของ ChatGPT เปิดประตูเชื่อมต่อสู่โลกอินเทอร์เน็ต

ChatGPT แชตบอตที่ขับเคลื่อนด้วยปัญญาประดิษฐ์ผลิตผลของโอเพนเอไอ กำลังขยายโอกาสรูปแบบการทำงานโดยได้สิทธิ์เข้าถึงแหล่งความรู้และฐานข้อมูลของบุคคลที่สาม และเป็นประตูแรกที่ ChatGPT ได้เชื่อมต่อกับโลกอินเทอร์เน็ต

โอเพนเอไอ บริษัทผู้พัฒนา ChatGPT เปิดตัวปลั๊กอินสำหรับ ChatGPT (Plugins for ChatGPT) ซึ่งช่วยขยายการทำงานของแชตบอต โดยได้สิทธิ์เข้าถึงแหล่งความรู้ และฐานข้อมูลของบุคคลที่สาม (third-party)

ในเวลานี้ พาร์ตเนอร์ของโอเพนเอไอในเวลานี้ก็มีด้วยกันหลายบริษัท Expedia, FiscalNote, Instacart, Kayak, Klarna, Milo, OpenTable, Shopify, Slack, Speak, Wolfram และ Zapier เป็นต้น แต่ถ้าหากเป็นนักพัฒนารายย่อยทั่วไป จะต้องลงทะเบียนบนหน้าเว็บไซต์ในส่วน Waiting list ไปก่อน

ยกตัวอย่างการทำงานของ OpenTable จะช่วยให้แชตบอตค้นหาและจองโต๊ะของร้านอาหารได้ หรือ Instacart สามารถทำให้ ChatGPT สั่งอาหารจากร้านค้าในพื้นที่ รวมถึง Zapier ก็จะเชื่อมต่อกับแอปพลิเคชันต่างๆ อย่าง Google Sheet, Trello และ Gmail เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานได้

พร้อมกันนี้ ทางโอเพนเอไอ เปิดเผยด้วยว่า ตอนนี้ทีมผู้พัฒนากำลังทำงานอย่างหนักเพื่อสร้างปลั๊กอินที่จะนำความสามารถของ ChatGPT ไปสู่วงกว้างมากขึ้น เพียงแต่ยังต้องได้รับการเรียนรู้จากผู้ใช้งาน ต้องได้รับความช่วยเหลือจากผู้ใช้งานทุกคน เพื่อสร้างสิ่งที่เป็นประโยชน์และปลอดภัย

ความน่าสนใจของ Plugins for ChatGPT อยู่ตรงที่มันจะช่วยให้ ChatGPT สามารถดึงข้อมูลจากทั่วทั้งเว็บเพื่อตอบคำถามได้ ซึ่งตรงจุดนี้ช่วยถมช่องว่างการทำงานของ ChatGPT ซึ่งถูกจำกัดขีดความสามารถเอาไว้ก่อนเดือนกันยายน 2021 เท่านั้น

สาเหตุที่ความสามารถของ ChatGPT ถูกล็อกเอาไว้ไม่ให้เป็นปัจจุบันมากนัก เพราะเป็นการป้องกันความเสี่ยงโดยเฉพาะเนื้อหาที่มีความไม่เหมาะสม หรือเป็นเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับทฤษฎีสมคบคิด เป็นต้น

แน่นอนว่าการเชื่อมต่อของ ChatGPT สู่โลกภายนอกก็มีความเสี่ยงที่เป็นอันตรายเช่นกัน ซึ่งโอเพนเอไอก็ทราบเรื่องนี้เป็นอย่างดี และพยายามวางกรอบการป้องกันเอาไว้ โดยมีทีมที่ดูแลเรื่องนี้ทั้งภายในและภายนอก

ขณะที่ การจัดการของเว็บเสิร์ชเอนจินอย่างบิง (Bing) และกูเกิล (Google) พวกเขามีกลไกด้านความปลอดภัย โดยข้อมูลที่มีความเชื่อถือน้อยจะไม่ได้อยู่อันดับต้นๆ ของคำค้นหาบนเว็บไซต์ รวมถึงการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาช่วย เช่น เรื่องของการเข้ารหัสเว็บไซต์ รองรับบนมือถือหรือไม่ ไปจนถึงการดูคุณภาพของเว็บไซต์ เป็นต้น

ที่มา: TechCrunch
ที่มา : ไทยรัฐออนไลน์
เว็บไซต์ : https://www.thairath.co.th/

ผู้นำเสนอข่าว

Hnoy

Written by:

3,490 Posts

View All Posts
Follow Me :

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *