เปลวไฟยักษ์ลุกจ้าจากแมกนีทาร์ใน M82

เปลวไฟยักษ์ลุกจ้าจากแมกนีทาร์ใน M82

การใช้เครื่องมือที่มีความละเอียดอ่อนในภารกิจห้องปฏิบัติการฟิสิกส์ดาราศาสตร์ด้านรังสีแกมมานานาชาติ ขององค์การอวกาศยุโรป ทำให้นักดาราศาสตร์ได้ตรวจพบการระเบิดรังสีแกมมาชื่อ GRB 231115A จากใจกลางกาแล็กซีเมซิเยร์ 82 หรือยังมีชื่อเรียกต่างๆกันไปคือ M82, NGC 3034 หรือกาแล็กซีซิการ์ ซึ่งเป็นกาแล็กซีที่ไม่ปกติ เนื่องจากมีการระเบิดของดวงดาว โดยอยู่ห่างออกไป 12 ล้านปีแสงในกลุ่มดาวหมีใหญ่

นักฟิสิกส์ดาราศาสตร์จากสถาบันฟิสิกส์ดาราศาสตร์แห่งชาติอิตาลี นำเสนอว่าการระเบิดของ GRB 231115A เป็นผลมาจากแสงแฟลร์หรือเปลวไฟวูบวาบขนาดยักษ์จากสนามแม่เหล็ก ที่ปะทุจากแมกนีทาร์ (magnetar) เป็นดาวนิวตรอนที่มีสนามแม่เหล็กที่เข้มมาก ซึ่งอาจสรุปได้ว่ากาแล็กซีประเภทเดียวกับกาแล็กซีเมซิเยร์ 82 มีการผลิตสนามแม่เหล็ก และจะเป็นเป้าหมายในการศึกษาเปลวไฟขนาดยักษ์ที่เกิดจากการระเบิดระยะสั้นๆ ที่ปล่อยพลังงานปริมาณมหาศาลออกมาในรูปของการระเบิดรังสีแกมมา (GRB) นั่นเอง

ทั้งนี้ คลื่นรังสีแกมมาเป็นรูปแบบแสงที่มีพลังมากที่สุด ปล่อยออกมาในเวลาเพียงเสี้ยววินาทีของปริมาณพลังงานที่ดวงอาทิตย์ของเราที่จะปล่อยออกมาในช่วงเวลาประมาณ 10,000 ปี และมีการตรวจพบเปลวไฟขนาดใหญ่ยักษ์ที่ได้รับการยืนยันแล้วเพียง 2 ครั้งในกาแล็กซีทางช้างเผือกของเราในปี 2547 และ 2541 แต่ก่อนหน้านี้เคยตรวจพบ 1 ครั้งในปี 2522 ทว่าพบในกาแล็กซีเมฆแมกเจลแลนใหญ่ ที่เป็นกาแล็กซีบริวารของทางช้างเผือก.

อ่าน “คอลัมน์หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ” ทั้งหมดที่นี่
ที่มา : ไทยรัฐออนไลน์
เว็บไซต์ : https://www.thairath.co.th/

ผู้นำเสนอข่าว

Hnoy

Written by:

2,951 Posts

View All Posts
Follow Me :

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

You May Have Missed