SHARGE ยกระดับ EV Charger ไทยสู่มาตรฐานโลก จับมือ Shell-Porsche สร้างปรากฏการณ์ครั้งใหญ่ระดับภูมิภาคเป็นรายแรกในประเทศไทย ติดตั้ง EV Charger ความเร็ว 180-360 kW สูงที่สุดในไทย ให้แก่สถานีบริการ Shell Recharge สถานีชาร์จยานยนต์พลังงานไฟฟ้าประสิทธิภาพสูง หรือ HPC ในไทยทั้ง 11 แห่ง พร้อมพัฒนา Cross Border Integration เชื่อมแอปพลิเคชัน SHARGE กับผู้ให้บริการในมาเลเซีย ตอกย้ำเครือข่าย EV Charger ที่ยาวที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 2,200 กม. คาดเปิดให้บริการครบทั้ง 11 แห่งเร็วๆ นี้
มาแล้ว สถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า 180-360 kW ความเร็วทะลุมิติของไทย ครั้งแรกในอาเซียน!
พีระภัทร ศิริจันทโรภาส กรรมการผู้จัดการ บริษัท ชาร์จ แมเนจเม้นท์ จำกัด (SHARGE) ผู้นำด้านการสร้าง EV Charging Ecosystem เพื่อตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตอย่างยั่งยืน เปิดเผยว่า จากวิสัยทัศน์ Scale Up EV Future บริษัทได้ขยายระบบนิเวศ EV ร่วมกับเชลล์ (Shell) บริษัทพลังงานระดับโลก และ Porsche Asia Pacific ผู้ผลิตรถสปอร์ตสมรรถนะสูงชั้นนำของโลก ในการยกระดับ EV Infrastructure ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ให้เติบโตรองรับเมกะเทรนด์การใช้รถ EV ด้วยการเป็นผู้จำหน่ายและผู้ติดตั้งเครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า (EV Charger) ขนาด 180kW ซึ่งเป็นความเร็วที่สูงที่สุดในไทยในขณะนี้ ให้แก่สถานี “Shell Recharge” และสถานีชาร์จยานยนต์พลังงานไฟฟ้าประสิทธิภาพสูง (HPC) ทั้ง 11 แห่งในไทย ตามโรดแมปการขยายเครือข่าย EV Charger ยาวที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ข้ามพรมแดน 3 ประเทศ คือไทย มาเลเซีย และสิงคโปร์ ที่ทาง Shell และ Porsche ได้ประกาศวิสัยทัศน์ไปก่อนหน้านี้ ให้ผู้ใช้งานสามารถชาร์จพลังงานจาก 0% State of Charge (SoC) ถึงระดับ 80% ภายใน 30 นาที เดินทางได้สูงสุดถึง 390 กิโลเมตร สำหรับรถปอร์เช่ ไทคานน์ (Taycan)
นวัตกรรม HPC ของ SHARGE กับ 2 บริษัทระดับโลกอย่าง Shell และ Porsche จะช่วย Scale Up ภารกิจขยาย EV Infrastructure ให้ไปไกลกว่าเดิม การร่วมกันสร้างเครือข่ายใหญ่ระดับภูมิภาคให้ผู้ใช้รถ EV เข้าถึงสถานีชาร์จประสิทธิภาพสูงที่เร็วแรงที่สุดได้ง่ายขึ้น เป็นโอกาสสำคัญของวงการ EV Charger ประเทศไทย ช่วย ยกระดับเทคโนโลยีการให้บริการสู่มาตรฐานโลก เชื่อมเข้ากับเครือข่าย EV Charger แบบข้ามพรมแดนได้เป็นครั้งแรก แสดงออกถึงความพร้อมของ SHARGE ในการเดินหน้าขยายบริการ EV Charger ไปยังประเทศต่างๆ ในอนาคต” นายพีระภัทร กล่าว
การพัฒนาแอปพลิเคชันและบริการ EV Charger ได้รับความไว้วางใจให้เป็นผู้ผสานการทำงานระหว่างแอปพลิเคชันแบบข้ามประเทศ (Cross Border Integration) เชื่อมโยงแอปพลิเคชันของ SHARGE เข้ากับแอปพลิเคชันของผู้ให้บริการสถานี HPC 6 แห่งในมาเลเซีย ส่งผลให้ผู้ใช้บริการรถ EV ทุกคันสามารถค้นหาสถานี HPC ของ Shell Recharge ในมาเลเซีย รวมถึงจองคิว และจ่ายเงินได้ผ่านแอปฯ SHARGE สานฝันการเป็นเครือข่าย EV Charger ที่ยาวที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 2,200 กม.ของ Shell และ Porsche ส่งผลให้ SHARGE เป็นผู้ให้บริการ EV Charger รายแรกของประเทศไทยที่ขยายการให้บริการไปสู่ระดับภูมิภาค
เบื้องต้น บริษัทฯ คาดว่าจะดำเนินการติดตั้งเครื่องชาร์จความเร็วสูงให้แก่สถานี HPC ของ Shell Recharge ทั้ง 11 แห่งทั่วประเทศได้อย่างต่อเนื่อง จนเปิดให้บริการทุกแห่งได้เร็วๆ นี้ และเชื่อมโยงบริการแอปพลิเคชันกับมาเลเซียเสร็จสิ้นภายในไตรมาส 1/2566 ขณะเดียวกัน ยังมีแผนขยายความร่วมมือกับ Shell อย่างต่อเนื่อง
ทั้งนี้ เชื่อว่าความร่วมมือทั้งหมดจะส่งผลให้ยอดผู้ใช้งานแอปพลิเคชัน SHARGE ทะลุ 20,000 ราย และช่วยให้บริษัทสามารถส่งมอบประสบการณ์การใช้บริการ EV Charger ที่ดีให้แก่ผู้บริโภค
เรืองศักดิ์ ศรีธนวิบุญชัย กรรมการบริหาร ธุรกิจโมบิลิตี้ บริษัท เชลล์แห่งประเทศไทย จำกัด กล่าวว่า เชลล์ ในฐานะผู้นำด้านนวัตกรรมพลังงานระดับโลก ด้วยกลยุทธ์ Powering Progress มีเป้าหมายสู่การเป็นธุรกิจพลังงานที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net-Zero Emission) ภายในปี พ.ศ.2593 เชลล์จึงพัฒนาโซลูชันด้านพลังงานหลายรูปแบบเพื่อตอบโจทย์ความต้องการพลังงานมากขึ้น โดยที่ต้องเป็นพลังงานที่สะอาดมากขึ้นและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เชลล์มีศักยภาพและความพร้อมที่ในการส่งมอบพลังงานต่างๆ ที่เรามีประสบการณ์อยู่ทั่วโลกไม่ว่าจะเป็นพลังงานโซลาร์ ไฮโดรเจน พลังงานลม เชื้อเพลิงชีวภาพ และพลังงานไฟฟ้า โดยขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของนโยบายประเทศและความต้องการของลูกค้าเป็นปัจจัยสำคัญ
“เราเข้าใจดีว่าผู้ใช้รถ EV ต้องการความรวดเร็ว ความเชื่อถือได้ ในการชาร์จไฟฟ้า ตลอดจนความสะดวกสบายของจุดให้บริการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่ชื่นชอบการเดินทางสัญจรระยะยาวข้ามประเทศ เชลล์เปิดตัวสถานีชาร์จพลังงานไฟฟ้าสมรรถนะสูง HPC 180 kW แห่งแรกของเรา เป็นการขยายเครือข่ายการให้บริการสถานีชาร์จไฟฟ้าที่ยาวที่สุดของเชลล์ จากสิงคโปร์ มาเลเซียและเข้าสู่ประเทศไทย ถือเป็นการขับเคลื่อนการเดินทางสำหรับอนาคตในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ให้เกิดเส้นทางสัญจรที่ปราศจากมลภาวะมุ่งสู่การเดินทางที่ยั่งยืน” นายเรืองศักดิ์ กล่าว
You have observed very interesting points! ps decent internet site.Money from blog