รวมคำถาม บัตรคนจน บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ 2566 เช็กสิทธิแล้ว ผ่าน-ไม่ผ่าน ต้องทำอย่างไร

รวมคำถาม บัตรคนจน บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ 2566 เช็กสิทธิแล้ว ผ่าน-ไม่ผ่าน ต้องทำอย่างไร

รวมคำถามที่คนสงสัย บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ 2566 เช็กสิทธิแล้ว ผ่าน-ไม่ผ่าน ต้องทำอย่างไรต่อ ต้องยื่นอุทธรณ์อย่างไร

วันที่ 9 มี.ค. 66 มีรายงานว่า หลังจากมีการประกาศผลการพิจารณาคุณสมบัติของผู้ลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐปี 2565 (โครงการฯ) หรือ บัตรคนจน รอบใหม่ เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2566 ที่ผ่านมา พบว่ามีผู้ลงทะเบียนที่ “ผ่าน” การพิจารณาคุณสมบัติ และ “ไม่ผ่าน” การพิจารณาคุณสมบัติ

โดยเว็บไซต์ https://บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ.mof.go.th และ https://welfare.mof.go.th ได้รวบรวมประเด็นคำถามที่มีคนสงสัยเกี่ยวกับการตรวจสอบผลการพิจารณาคุณสมบัติ ไว้ดังนี้

บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ 2566 ผ่านการพิจารณาคุณสมบัติ ต้องดำเนินการอย่างไร

1. ผู้ลงทะเบียนที่ผ่านการพิจารณาคุณสมบัติต้องทำการยืนยันตัวตนด้วยบัตรประจำตัวประชาชนแบบอเนกประสงค์ (Smart Card) เท่านั้น โดยสามารถทำการยืนยันตัวตนได้ที่ธนาคารกรุงไทย หรือ ธ.ก.ส. หรือ ธนาคารออมสินแห่งใดแห่งหนึ่ง

ผู้ลงทะเบียนที่ผ่านการพิจารณาสามารถเริ่มยืนยันตัวตนได้ ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2566 เป็นต้นไป ตามเวลาเปิดให้บริการของแต่ละธนาคาร โดยผู้ผ่านการพิจารณาจะต้องยืนยันตัวตนก่อนการเริ่มใช้สิทธิ

2. หากผู้ลงทะเบียนที่ผ่านเกณฑ์การพิจารณาคุณสมบัติไม่มีบัญชีพร้อมเพย์ที่ผูกกับเลขประจำตัวประชาชน ขอให้ผู้ลงทะเบียนผูกบัญชีพร้อมเพย์กับเลขประจำตัวประชาชนเพื่อรับสิทธิสวัสดิการ โดยผู้ได้รับสิทธิสามารถผูกบัญชีพร้อมเพย์กับธนาคารใดก็ได้

ทั้งนี้ เมื่อผู้ได้รับสิทธิดำเนินการยืนยันตัวตนเสร็จเรียบร้อยแล้วจะสามารถตรวจสอบสถานะการยืนยันตัวตนของตนเองผ่านทางเว็บไซต์ https://บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ.mof.go.th หรือ https://welfare.mof.go.th ในวันถัดไป หรือติดต่อสอบถามเจ้าหน้าที่หน่วยงานรับลงทะเบียนทั้ง 7 หน่วยงาน หรือโทรศัพท์สอบถามได้ที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

ผู้ลงทะเบียนแบบมีเงื่อนไข (กลุ่มผู้ลงทะเบียนทั่วไปที่อายุต่ำกว่า 60 ปีและยื่นแบบฟอร์มไม่สามารถตามหาคู่สมรสได้) หากผ่านการตรวจสอบคุณสมบัติ ต้องดำเนินการอย่างไร

ผู้ลงทะเบียนแบบมีเงื่อนไข (กลุ่มผู้ลงทะเบียนทั่วไปที่อายุต่ำกว่า 60 ปี และยื่นแบบฟอร์มไม่สามารถตามหาคู่สมรสได้) สามารถเดินทางไปยืนยันตัวตนได้ ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2566 เป็นต้นไป โดยผู้ลงทะเบียนต้องเดินทางไปยืนยันตัวตน ที่ธนาคารกรุงไทย หรือ ธ.ก.ส. หรือ ธนาคารออมสิน โดยต้องใช้บัตรประจำตัวประชาชนอเนกประสงค์ (Smart Card) เท่านั้น และจะต้องนำเอกสารที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ใบสำคัญการหย่า ใบมรณบัตร หนังสือรับรองการตาย หรือทะเบียนบ้านที่มีการจำหน่ายตาย อย่างใดอย่างหนึ่ง ประกอบการยืนยันตัวตนต่อเจ้าหน้าที่ โดยจะต้องยื่นเอกสารดังกล่าวภายในระยะเวลา 1 ปี นับ ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2566 จึงจะได้รับสิทธิสวัสดิการ

ผู้ลงทะเบียนจำเป็นต้องมีบัญชีเงินฝากธนาคารที่ผูกพร้อมเพย์บัตรประชาชนหรือไม่

ผู้ลงทะเบียนที่ได้รับสิทธิต้องผูกบัญชีพร้อมเพย์กับหมายเลขประจำตัวประชาชนเพื่อรับสิทธิสวัสดิการ โดยผู้ได้รับสิทธิสามารถผูกบัญชีพร้อมเพย์กับธนาคารใดก็ได้

บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ 2566 ไม่ผ่านการพิจารณาคุณสมบัติ ต้องดำเนินการอย่างไร

ผู้ลงทะเบียนที่ไม่ผ่านการพิจารณาคุณสมบัติ สามารถขอยื่นอุทธรณ์ผลการพิจารณาได้ โดย

1. ยื่นอุทธรณ์ด้วยตนเองผ่านเว็บไซต์โครงการ https://บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ.mof.go.th หรือ https://welfare.mof.go.th 

2. ยื่นอุทธรณ์ผ่านหน่วยงานรับลงทะเบียนทั้ง 7 หน่วยงาน โดยแสดงบัตรประจำตัวประชาชนพร้อมแจ้งความประสงค์ขออุทธรณ์ผลการพิจารณาคุณสมบัติ (ผู้ลงทะเบียนที่ไม่ผ่านเกณฑ์การพิจารณาคุณสมบัติสามารถยื่นอุทธรณ์ผ่านหน่วยงานรับลงทะเบียนใดก็ได้ ไม่จำเป็นต้องเป็นหน่วยงานรับลงทะเบียนเดียวกับที่ลงทะเบียน)

ทั้งนี้ผู้ลงทะเบียนจะต้องติดต่อหน่วยงานตรวจสอบคุณสมบัติที่ผู้ลงทะเบียนไม่ผ่านคุณสมบัติเพื่อขอปรับปรุง หรือแก้ไขข้อมูลในกรณีที่ข้อมูลไม่ถูกต้องให้ถูกต้อง โดยจะต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 1 พฤษภาคมคม 2566

ผู้ลงทะเบียนที่ยื่นอุทธรณ์ต้องพิมพ์เอกสารหลังจากยื่นอุทธรณ์หรือไม่

ผู้ลงทะเบียนสามารถเลือกพิมพ์เอกสารผลการพิจารณาคุณสมบัติ หากต้องการใช้ประกอบการอุทธรณ์กับหน่วยงานตรวจสอบคุณสมบัติ ยกเว้น ในกรณีที่ผู้ลงทะเบียนไม่ผ่านการพิจารณาคุณสมบัติเกณฑ์หนี้สิน ผู้ลงทะเบียนจะต้องพิมพ์เอกสารเพื่อใช้ประกอบการขอตรวจสอบข้อมูลเครดิต

ผู้ลงทะเบียนที่ไม่ผ่านการตรวจสอบสถานะบุคคลกับกรมการปกครองสามารถยื่นอุทธรณ์ได้หรือไม่

ผู้ลงทะเบียนที่ไม่ผ่านการตรวจสอบสถานะบุคคลกับกรมการปกครอง โดยมีสถานะการลงทะเบียนเป็น “ข้อมูลไม่สมบูรณ์” ไม่สามารถยื่นอุทธรณ์ได้ เนื่องจากได้สิ้นสุดระยะเวลาในการแก้ไขข้อมูลสถานะการลงทะเบียนแล้ว ทั้งนี้ ผู้ลงทะเบียนที่สามารถยื่นอุทธรณ์ได้ต้องมีสถานะการลงทะเบียนเป็น “ไม่ผ่านการพิจารณาคุณสมบัติ” เท่านั้น

หากผู้ลงทะเบียนไม่สามารถเดินทางมาตรวจสอบผลการพิจารณาคุณสมบัติ หรืออุทธรณ์ผลการพิจารณาคุณสมบัติ กรณีที่ “ไม่ผ่าน” เกณฑ์การพิจารณาคุณสมบัติด้วยตนเองได้ที่หน่วยงานรับลงทะเบียน ต้องดำเนินการอย่างไร

กรณีที่ผู้ลงทะเบียนเป็น ผู้พิการ ผู้ป่วยติดเตียง หรือผู้สูงอายุที่ไม่สามารถเดินทางมาตรวจสอบผลการพิจารณาคุณสมบัติ หรืออุทธรณ์ผลการพิจารณาคุณสมบัติ กรณีที่ไม่ผ่านเกณฑ์การพิจารณาคุณสมบัติได้ด้วยตนเอง สามารถมอบอำนาจได้ โดยจะต้องมีเอกสารประกอบ ดังนี้

1. หนังสือมอบอำนาจ (สำหรับผู้ลงทะเบียนที่เป็นผู้พิการ ผู้ป่วยติดเตียง หรือผู้สูงอายุที่ไม่สามารถเดินทางมาลงทะเบียนได้ด้วยตนเอง) (ดาวน์โหลดได้ที่เว็บไซต์โครงการ)

2. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ลงทะเบียน (ผู้มอบอำนาจ) พร้อมลงนามรับรองสำเนาถูกต้อง

3. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้รับมอบอำนาจ พร้อมลงนามรับรองสำเนาถูกต้อง

4. สำเนาบัตรประจำตัวคนพิการ พร้อมลงนามรับรองสำเนาถูกต้อง (ถ้ามี) หรือใบรับรองแพทย์ (ถ้ามี)

หากผู้ลงทะเบียนไม่สามารถเดินทางมายืนยันตัวตนด้วยตนเองได้ ต้องดำเนินการอย่างไร

กรณีที่ผู้ลงทะเบียนเป็น ผู้พิการ ผู้ป่วยติดเตียง หรือผู้สูงอายุที่ไม่สามารถเดินทางมายืนยันตัวตนได้ด้วยตนเอง สามารถมอบอำนาจได้ โดยจะต้องมีเอกสารประกอบ ดังนี้

1. หนังสือมอบอำนาจ (สำหรับผู้ลงทะเบียนที่เป็นผู้พิการ ผู้ป่วยติดเตียง หรือผู้สูงอายุที่ไม่สามารถเดินทางมาลงทะเบียนได้ด้วยตนเอง) (ดาวน์โหลดได้ที่เว็บไซต์โครงการ)

2. บัตรประจำตัวประชาชนของผู้ลงทะเบียน (ผู้มอบอำนาจ)

3. บัตรประจำตัวประชาชนของผู้รับมอบอำนาจ

4. บัตรประจำตัวคนพิการ (ถ้ามี) หรือใบรับรองแพทย์ (ถ้ามี)

ผู้นำเสนอข่าว

Lemon

Written by:

720 Posts

View All Posts
Follow Me :

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

You May Have Missed