เกษตรกรยางพาราเตรียม เฮ! ศอ.บต. ร่วมกับ วช. และมหาวิทยาลัยราชภัฏ ยะลา เคาะงานวิจัยช่วยแก้ “โรคใบร่วงชนิดใหม่ยางพารา” ได้สำเร็จแล้ว!

เกษตรกรยางพาราเตรียม เฮ! ศอ.บต. ร่วมกับ วช. และมหาวิทยาลัยราชภัฏ ยะลา เคาะงานวิจัยช่วยแก้ “โรคใบร่วงชนิดใหม่ยางพารา” ได้สำเร็จแล้ว!

เกษตรกรยางพาราเตรียม เฮ! ศอ.บต. ร่วมกับ วช. และมหาวิทยาลัยราชภัฏ ยะลา เคาะงานวิจัยช่วยแก้ “โรคใบร่วงชนิดใหม่ยางพารา” ได้สำเร็จแล้ว!

วันนี้ (27 มีนาคม 2566) เวลา 13.30 น. ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) จัดการประชุมจับคู่ matching งานวิจัยกับหน่วยงานภาครัฐ เพื่อนำร่องการใช้ประโยชน์ในการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ณ อาคารศูนย์ราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยมีพลเรือตรี สมเกียรติ ผลประยูร เลขาธิการ ศอ.บต. เป็นประธานในการประชุม และมีนักวิชาการจากมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งในพื้นที่และส่วนกลางเข้าร่วมประชุมผ่านระบบซูม เพื่อร่วมพิจารณาหารือนำแนวทางงานวิจัย เรื่อง การประยุกต์ใช้นวัตกรรมสารชีวภัณฑ์เพื่อแก้ปัญหาโรคใบร่วงชนิดใหม่ในยางพารา ที่เป็นพืชเศรษฐกิจหลักของภาคใต้ มาขยายผลสู่การปฏิบัติจริง

สืบเนื่องจากที่ผ่านมา สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) และ ศอ.บต. ได้จัดทำบันทึกข้อตกลงร่วมกันในการส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัยและนวัตกรรม เพื่อแก้ไขปัญหาพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ มุ่งเน้นไปยังกลุ่มเกษตรกรในพื้นที่ โดยสนับสนุนงานวิจัยทั้งสิ้น 39 ทุน และมีงานวิจัย 3 ผลงาน ที่พร้อมนำร่องในการใช้ประโยชน์ตามภารกิจงานของ ศอ.บต. และสอดคล้องกับปัญหาในพื้นที่ คือ 1.งานวิจัยการประยุกต์ใช้นวัตกรรมสารชีวภัณฑ์เพื่อแก้ปัญหาโรคใบร่วงชนิดใหม่ในยางพาราฯ 2.งานวิจัยส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพการเลี้ยงแพะพื้นเมือง เพื่อยกระดับรายได้ของเยาวชนกลุ่มเปราะบาง และ 3.งานวิจัยพัฒนาวัสดุยางธรรมชาติเทอร์โมพลาสติก (หวายเทียม) ตามแนวทางเศรษฐกิจใหม่ BCG

ผศ.ดร.อิสมาแอ เจ๊ะหลง นักวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา เผยว่า ขณะนี้ทีมวิจัยได้วิจัยนวัตกรรมสารชีวภัณฑ์ เพื่อแก้ปัญหาโรคใบร่วงชนิดใหม่ในยางพาราจากธรรมขาติ 100 เปอร์เซ็นต์ และได้ทดลองใช้ในแปลงทดลอง ปรากฏว่า สามารถป้องกัน และสร้างภูมิคุ้มกันแก่ยางพาราที่ยังไม่เกิดโรค อีกทั้งยังสามารถช่วยรักษาโรคใบร่วงชนิดใหม่ในยางพารา สำหรับต้นที่เกิดโรคแล้ว โดยยางพาราสามารถดูดซึมสารชีวภัณฑ์ดังกล่าวจากการดูดซึมทางราก สู่ลำต้น และหล่อเลี้ยงไปยังใบ นอกจากนี้ยีงพบว่า สารชีวภัณฑ์ดังกล่าวยังช่วยเพิ่มน้ำยางพาราแก่เกษตรกร 30-50% อีกด้วย

ด้านเลขาธิการ ศอ.บต. กล่าวว่า เป็นนิมิตหมายที่ดีในการทำงานในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีปัญหาซับซ้อน มีหลายเรื่องราวเกิดขึ้นให้แก้ไขปัญหาและพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่ ในการนำ “งานวิจัยและงานวิชาการ” สู่นำการแก้ไขปัญหา ที่หมายรวมถึงการพัฒนาสังคมจิตวิทยาทั้งระบบ เนื่องจากงานวิจัยเป็นชิ้นงานที่ได้รับการสืบค้นแนวทาง จากรากลึกของปัญหา สู่แนวทางการแก้ไขที่มีแนวทางเป็นไปได้ และตอบสนองความต้องการของประชาชนอย่างแท้จริง

ผู้นำเสนอข่าว

Lemon

Written by:

720 Posts

View All Posts
Follow Me :

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

You May Have Missed