“ป้อม” เปิดศูนย์เรียนรู้เลี้ยงโคฯ ยะลา มุ่งยกระดับ ภาคใต้ เป็น ‘ศูนย์กลางผลิตอาหารฮาลาลมุสลิมโลก’

“ป้อม” เปิดศูนย์เรียนรู้เลี้ยงโคฯ ยะลา มุ่งยกระดับ ภาคใต้ เป็น ‘ศูนย์กลางผลิตอาหารฮาลาลมุสลิมโลก’

“ป้อม” เปิดศูนย์เรียนรู้เลี้ยงโคฯ ยะลา มุ่งยกระดับ ภาคใต้ เป็น ‘ศูนย์กลางผลิตอาหารฮาลาลมุสลิมโลก’

วันนี้ (17 มีนาคม 2566) เวลา 10.00 น. พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานเปิดศูนย์การเรียนรู้ฟาร์มมาตรฐานการเลี้ยงวัว ตามกรอบระเบียงเศรษฐกิจฮาลาลจังหวัดชายแดนภาคใต้ ณ หมู่บ้านกำปงบารู ต.สะเตงนอก อ.เมือง จ.ยะลา เพื่อเป็นศูนย์การเรียนรู้การเลี้ยงโคบาลทั้งระบบแก่เกษตรกรในพื้นที่ ให้เป็นมาตรฐานเดียวกันในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ภายหลัง กพต.มีมติอนุมัติเห็นชอบการดำเนินกิจกรรมโคบาลชายแดนใต้ ภายใต้โครงการเมืองปศุสัตว์ ตามกรอบระเบียงเศรษฐกิจฮาลาลจังหวัดชายแดนภาคใต้ระยะ 7 ปี (พ.ศ. 2565 – 2571) ซึ่งมีประชาชนร่วมให้การต้อนรับกว่า 1,500 คน

พลเรือตรี สมเกียรติ ผลประยูร เลขาธิการ ศอ.บต. กล่าวว่า กพต.ได้อนุมัติหลักการกิจกรรมโคบาลชายแดนใต้ เมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2565 โดยมอบหมายให้ ศอ.บต. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สภาเกษตรกรแห่งชาติ ทำหน้าที่ดำเนินการขับเคลื่อน ซึ่งขณะนี้คณะรัฐมนตรีได้มีมติอนุมัติเงินทุนจากกองทุนสงเคราะห์เกษตรจำนวน 1,500 ล้านบาท แก่เกษตรกรที่เป็นวิสาหกิจชุมชน 1,000 แห่ง ใน 5 จังหวัดที่เข้าร่วมโครงการ โดยศูนย์การเรียนรู้ฟาร์มมาตรฐานการเลี้ยงวัว บ้านกำปงบารู จะเป็นศูนย์การเรียนรู้ที่มีมาตรฐานและครบวงจร มีการสอนการเลี้ยงโคกุรบาน การปลูกพืชอาหารสัตว์ การผลิตอาหารโค TMR และปุ๊ยออแกนิค

ทั้งนี้ รองนายกรัฐมนตรี ได้มีการมอบพันธุ์กระถินและหญ้าเนเปียร์ให้แก่เกษตรกร พร้อมกล่าวว่า รัฐบาลเร่งแก้ปัญหาและมุ่งสร้างอาชีพให้ประชาชนมีรายได้ที่มั่นคง ส่งเสริมให้เกษตรกรเลี้ยงโคเนื้อ เพื่อยกระดับปศุสัตว์ในพื้นที่ ให้เป็นศูนย์กลางของการผลิตอาหารฮาลาลของมุสลิมโลกในระยะเวลาอันใกล้ จึงขอให้ประชาชนช่วยกัน เชิญชวนพี่น้องเกษตรกรร่วมพัฒนา เพื่อขยายผลทำให้พื้นที่นี้ เป็นศูนย์กลางอาหารฮาลาลของโลก นำไปสู่อาชีพ รายได้ และคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชน

สำหรับศูนย์การเรียนรู้ฟาร์มมาตรฐานการเลี้ยงวัว บ้านกำปงบารู เป็นสถานที่เรียนรู้การเลี้ยงโค ตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ สืบเนื่องจาก ศอ.บต. เล็งเห็นว่า จชต. มีการบริโภคและซื้อขายเนื้อโค เป็นจำนวนกว่า 40,000 ตัวต่อปี หรือคิดเป็นมูลค่าทางเศรษฐกิจกว่า 2,000 ล้านบาท แต่พบว่า โคเนื้อส่วนใหญ่ที่มีการซื้อขาย เป็นโคเนื้อที่มาจากนอกพื้นที่ มากกว่าในพื้นที่ ศอ.บต. จึงร่วมกับหน่วยงานเกี่ยวข้อง มุ่งส่งเสริมการเลี้ยงโคในพื้นที่ให้มีมาตรฐาน สร้างตลาดการซื้อขายทั้งในประเทศ และมีแผนส่งออกไปยังประเทศเพื่อนบ้านอีกด้วย

ผู้นำเสนอข่าว

Lemon

Written by:

720 Posts

View All Posts
Follow Me :

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

You May Have Missed