กรมวิชาการเกษตร เข้มสกัดทุเรียนด้อยคุณภาพ หากพบอ่อน-สวมแปลง ฟันปิดล้งและสวน

กรมวิชาการเกษตร เข้มสกัดทุเรียนด้อยคุณภาพ หากพบอ่อน-สวมแปลง ฟันปิดล้งและสวน

กรมวิชาการเกษตร สานต่อนโยบาย รมช.มนัญญา ในช่วงฤดูทุเรียนภาคตะวันออกออกสู่ตลาด เข้มงวดมาตรฐานป้องกันทุเรียนด้อยคุณภาพ โดยหากตรวจเจอว่าอ่อน-สวมแปลง จับมือ จ.จันทบุรี ปิดล้งและสวนทันที

เมื่อวันที่ 1 มี.ค. 2566 นายระพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร เปิดเผยว่า ได้ประชุมผ่านระบบซูมไปยังการประชุมผู้ประกอบการโรงคัดบรรจุผลไม้ภาคตะวันออก ฤดูผลิตปี 2566 ที่มีนายมนต์สิทธิ์ ไพศาลธนวัฒน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดจันทบุรี เป็นประธาน พร้อมด้วยตัวแทนผู้ประกอบการเพื่อสร้างความเข้าใจรับมือฤดูทุเรียนภาคตะวันออกที่กำลังทยอยออกสู่ตลาด (ก.พ.-ก.ค.) โดยเป็นการสร้างการรับรู้ถึงแนวทางและมาตรการส่งออกไปยังประเทศปลายทาง ที่มีการปรับปรุงให้เป็นปัจจุบันตามความต้องการของประเทศคู่ค้า รวมถึงข้อตกลงตามพิธีสารไทย-จีน ที่ต้องปลอดโควิด ตามมาตรฐานของ GMP Plus และตามบันทึกข้อตกลงระหว่างไทยและสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) ที่จะไม่เปิดซีลตู้ขนส่งทุเรียนผ่านไปยังประเทศที่ 3
ต่อชื่อเสียงของประเทศ จำนวนแปลงกับจำนวนผลผลิตต้องสอดคล้องกัน ซึ่งทั้งสองกรณีฝากย้ำว่า หากกรมวิชาการเกษตรตรวจเจอจะไม่อนุญาตให้ส่งออก และจะพัก หรือยกเลิกใบรับรองแปลงเกษตรจีเอพี และใบรับรองจีเอ็มพี สำหรับโรงคัดบรรจุทันที อีกทั้งใบรับรองสวนรูปแบบใหม่นั้นได้มีการประสานกับทางการจีนเรียบร้อยแล้ว อย่างไรก็ตามกรณีทุเรียนอ่อนฝากจังหวัดหามาตรการเพื่อป้องกันการนำมาเวียนขายตลาดในประเทศ ซึ่งส่งผลกระทบผู้บริโภคไทยที่ต้องการทานทุเรียนคุณภาพเช่นกัน” นายระพีภัทร์ กล่าว
ด้าน นายมนต์สิทธิ์ ไพศาลธนวัฒน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดจันทบุรี กล่าวว่า จังหวัดเห็นด้วยกับการป้องกันการตัดทุเรียนอ่อนและต้องมีบทลงโทษทั้งกับสวนและโรงคัดบรรจุ ตามที่กรมวิชาการเกษตรกำหนด นอกจากนั้นจังหวัดได้มีการออกประกาศหลายฉบับเพื่อรักษามาตรฐานทุเรียนประกอบด้วย

1.เรื่องกำหนดวันเก็บเกี่ยวทุเรียนและวันเริ่มต้นเข้าสู่ฤดูกาลทุเรียนของจังหวัดจันทบุรี ที่แต่ละสายพันธุ์จะมีวันเริ่มต้นต่างกัน ลงวันที่ 24 ม.ค. 66 โดยก่อนตัดให้สวนและล้ง แจ้งด่านตรวจพืชและเจ้าหน้าที่ตรวจเปอร์เซ็นต์น้ำหนักแห้งของทุเรียน
2.ประกาศจังหวัดเรื่องการกำหนดเปอร์เซ็นต์น้ำหนักแห้งในเนื้อทุเรียนลงวันที่ 24 ม.ค. 66 ตามมาตรฐานสินค้าเกษตร
3.ออกคำสั่งจังหวัดจันทบุรีที่ 288/2566 ลงวันที่ 24 ม.ค. 66 เรื่องขอความร่วมมือปฏิบัติตามมาตรการตรวจก่อนตัดของจังหวัด เพื่อเป็นกลไกควบคุมและป้องกันทุเรียนด้อยคุณภาพ โดยให้ผู้ประกอบการแจ้งจุดบริการตรวจก่อนตัด และให้เจ้าหน้าที่ตรวจก่อนปิดตู้ส่งออก และแผงรับซื้อทุเรียนในตลาดค้าส่งให้ปฏิบัติตามมาตรการที่จังหวัดกำหนด


นอกจากนั้นได้เตรียมแบ่งเกรดโรงคัดบรรจุเป็นสีเขียว เหลือง แดง กรณีล้งสีเหลือง แดงจะตรวจเข้มข้น สำหรับความผิดการขายทุเรียนอ่อน เป็นไปตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 271 หลวกลวงผู้บริโภคจำคุกไม่เกิน 3 ปี และปรับไม่เกิน 6 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และความผิดตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ.2522 มาตรา 47 เอาผิดผู้ทำให้เกิดความเข้าใจผิดเรื่องแหล่งกำเนิด สภาพ คุณภาพ หรือสาระสำคัญที่เกี่ยวกับสินค้า หรือบริการไม่ว่าของตนเองหรือผู้อื่น มีโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน และปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และกรณีเกษตรกรและล้งอาจถูกเพิกถอนใบรับรอง
สำหรับจำนวนสวนทุเรียนทั่วประเทศ 61,637 สวน ภาคตะวันออก 27,276 สวน ภาคใต้ 29,497 สวน และพื้นที่อื่นๆ 4,864 สวน โรงคัดบรรจุทุเรียนทั่วประเทศ 1,177 แห่ง ภาคตะวันออก 619 แห่ง ภาคใต้ 462 แห่ง และพื้นที่อื่นๆ 96 แห่ง ทั้งนี้การตรวจพืชปลายทาง จะมีการตรวจสอบหมายเลขตู้สินค้า หมายเลขซีล (โดยจะไม่เปิดตู้ตรวจสินค้า ยกเว้นกรณีสงสัย) จากนั้นกรมจะออกใบรับรองสุขอนามัยพืช (PC).

ที่มา:ไทยรัฐ

ผู้นำเสนอข่าว

ยัยแม่มด

Written by:

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

You May Have Missed