ศอ.บต.ผลักดัน โคบาลชายแดนใต้

ศอ.บต.ผลักดัน โคบาลชายแดนใต้

ศอ.บต. เดินหน้าผลักดัน “โคบาลชายแดนใต้” หลัง ครม. มีมติเห็นชอบ ด้าน เลขาธิการ ศอ.บต. เผย โคบาลชายแดนใต้เป็นโครงการ
ที่นำไปสู่ความยั่งยืนแก่เกษตรกร และสามารถพึ่งพาตนเองได้
สืบเนื่องจากศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ หรือ ศอ.บต. ได้นำเรื่องการขับเคลื่อนโครงการโคบาลชายแดนใต้เข้าที่ประชุม
คณะกรรมการยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ หรือ กพต. ซึ่งมี พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ เป็นประธาน เพื่อเสนอเข้าที่ประชุม
คณะรัฐมนตรี (ครม ) ล่าสุดเมื่อวันที่ 3 มกราคม 2566 ที่ประชุม ครม. ได้มีมติเห็นชอบ และเตรียมผลักดันจังหวัดชายแดนภาคใต้ไปสู่ “มหานครแห่ง
อาหารและบริการาลาล สู่ ตลาดโลก” โดยการเพิ่มจำนวนฐานแม่วัวพันธุ์พื้นเมือง รองรับการพัฒาอุตสาหกรรมอาหารฮาลาลจังหวัดชายแดนภาคใต้
จำนวนไม่น้อยกว่า 50,000 ตัว เป็นของขวัญใหม่ 2566 แก่พี่น้องจังหวัดชายแดนใต้


พลเรือตรี สมเกียรติ ผลประยูร เลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) กล่าวถึงการขับเคลื่อนโรงการโคบาล
ชายแดนใต้ ว่า ในภาพใหญ่ ภาคใต้กำลังจะถูกผลักดันเป็นระเบียงเศรษฐกิจฮาลาลจังหวัดชายแดนภาคใต้ ภายใต้ ระเบียงเศรษฐกิจฮาลาล


ประกอบด้วยกิจกรรมทางเศรษฐกิจหลายด้าน หนึ่งในนั้นคือเมืองปศุสัตว์ชายแดนใต้ ซึ่งหลักๆคือเรื่องการเลี้ยงโคหรือโคเนื้อ ซึ่ง ศอ.บต.
ได้มีการผลักตันให้มีการเลี้ยงโคอย่างครบวงจร รวมถึงการเลี้ยงแพะ การเลี้ยงไก่ โดยโคจะเป็นการนำร่อง ใช้ชื่อโครงการว่าโคบาลชายแดนใต้ เดินหน้า
มาแล้ว 2 ปี ในตันเดือนมกราคม 2566 ก็จะเป็นการเริ่มตันในการขับเคลื่อนอย่างเป็นรูปธรรมชัดเจน เป็นการผลักตันส่งเสริมให้มีการเลี้ยงโคเนื้อให้กับ
กษตรกรที่รวมกลุ่มเป็นวิสาหกิชุมชน จังหวัดละประมาณ 200 กลุ่ม 5 จังหวัด รวม 1,000 กลุ่ม กลุ่มละประมาณ 10 คน เป็นอย่างน้อย โครงการ
โคบาลชายแดนใต้จะเป็นโครงการที่มีการบูรณาการวาแผนอย่างเป็นระบบ ตันน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ เป็นการผลิตตั้งแต่ลูกโค ในการเลี้ยง
ในการขุน แปรรูป และภาคการตลาด วางระบบไว้ครบวงจร เป็นระยะเวลา 5 ปีเต็ม บวกช่วงท้ายในการคืนทุนอีก 2 ปี รวมระยะเวลาทั้งหมด 7 ปี
โดยบูรณาการร่วมกันหลายภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นสถาบันการศึกษา กรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สภาเกษตรกรแห่งชาติ สภาเกษตร
จังหวัด ศอ.บต. และหน่วยงานอื่นๆจะร่วมบูรณาการกัน
นอกจากนี้ พลเรือตรี สมเกียรติ ผลประยูร เลขาธิการ ศอ.บต. กล่าวอีกว่า ในส่วนของด้านตลาดเองก็มีความต้องการเป็นอย่างมากเนื่องจาก
ผลิตไม่เพียงพอ รวมถึงประเทศเพื่อนบ้านก็ยังมีความต้องการ และที่สำคัญคือการฟื้นฟูความสัมพันธ์กับราชอาณาจักรชาอุดีอาระเบีย ซึ่งปัจจุบันเริ่มมี
การเชื่อมต่อกันมากขึ้น เป็นอีกหนึ่งตลาดที่มีความยั่งยืนและมีความต้องการจำนวนมาก และในเรื่องการพัฒนาองค์ความรู้แก่เกษตรกรและผู้เข้าร่วม

ผู้นำเสนอข่าว

ยัยแม่มด

Written by:

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *