ศอ.บต.ดันอาชีพจากพืชพลังงานศอ.บต

ศอ.บต.ดันอาชีพจากพืชพลังงานศอ.บต

ศอ.บต.ดันอาชีพจากพืชพลังงานศอ.บต. เตรียมดันอาชีพจากพืชพลังงาน ใน จชต. เต็มที่ ปี 66 เพื่อความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน วางแนวทาง แปรรูป-ป้อนโรงไฟฟ้า 15 โรง ต้องการ 9,000 ตันต่อวันศูนย์อำนวยบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) วางแนวทางการพัฒนาพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ทั้ง 5 จังหวัดในระยะยาวทุกมิติ ในส่วนของการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากในเรื่องของมิติพลังงานใช้พลังงานทดแทนหรือพลังงานไฟฟ้าชีวภาพ ชีวมวล ได้เตรียมการตั้งแต่ปี 2563 เพื่อสร้างอาชีพและรายได้แก่ประชาชนในพื้นที่ ซึ่งส่วนใหญ่มีอาชีพเป็นเกษตรกรโดยพลเรือตรี สมเกียรติ ผลประยูร เลขาธิการ ศอ.บต. กล่าวว่า ศอ บต. ดำเนินโครงการพลังงานไฟฟ้าจังหวัดชายแดนภาคใต้เพื่อความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน จากเหตุการณ์ความไม่สงบในพื้นที่ทำให้ให้กระแสไฟฟ้าดับ ในเดือนเมษายน ปี 2561 ประมาณ 70 ชั่วโมง ซึ่งส่งผลกระทบในวงกว้าง จึงดำเนินโครงการดังกล่าว เพื่อเพิ่มแสงสว่างให้เพียงพอ สร้างความมั่งคงและความปลอดภัยให้เกิดขึ้นในจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยปัจจุบัน จชต. มีโรงไฟฟ้า 15 โรง เป็นของภาคเอกชนในพื้นที่ มีกำลังการผลิตกว่า 230 เมกะวัตต์ และ ศอ.บต. ได้ผลักดันให้มีโรงไฟฟ้าชีวภาพชีวมวลอีก 150 เมกะวัตต์ คาดว่า ในปี 2566 ก็จะเห็นภาพในการเริ่มดำเนินการเลขาธิการ ศอ.บต. กล่าวอีกว่า ในส่วนอีกวัตถุประสงค์หนึ่งในการขับเคลื่อนโครงการ คือ มิติทางด้านการพัฒนาเศรษฐกิจและความเชื่อมั่นในความเสถียรของพลังงาน จึงผลักดันให้เกิดการผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังงานทดแทน พลังงานหมุนเวียน พร้อมวางแนวทางสร้างงาน สร้างอาชีพและรายได้ให้เกิดขึ้นแก่ประชาชน โดย ร่วมกับสภาเกษตรกร และหน่วยงานเกี่ยวข้องส่งเสริมประชาชนปลูกพืชพลังงาน วางแนวทาง ตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำและปลายน้ำ โดยมีกลุ่มผู้ปลูกพืชพลังงาน กลุ่มที่แปรรูป กลุ่มที่เพาะพันธ์พืชพลังงาน เพาะพันธุ์ต้นไผ่ ซึ่งขณะนี้เริ่มเติบโตมากขึ้นนำไปสู่การรวมกลุ่ม ตั้งเป็นวิสาหกิจชุมชนการแปรรูป และขั้นตอนสุดท้าย คือ โรงไฟฟ้าชีวมวลหรือชีวภาพ ชีวมวลที่จะเพิ่มขึ้นประมาณ 150 เมกะวัตต์ จะเป็นตลาดสุดท้ายในการสร้างรายได้จากพืชพลังงาน อย่างไรก็ตาม ขณะนี้เกษตรกรปลูกพืชพลังงานนำร่องแล้ว 10,000 ไร่ และจะขยายพื้นที่ต่อไปในปี 2566 นี้ ซึ่งคาดว่า พลังงานจะเป็นกลไกสำคัญ ในการเป็นหัวรถจักรอีกขบวนหนึ่งในการสร้างงาน สร้างอาชีพครบวงจรในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ สำหรับโรงไฟฟ้าชีวมวลประมาณ 15 โรง ในพื้นที่ จชต. ในวันหนึ่งต้องการพลังงานที่เป็นเชื้อเพลิงชีวมวล ต่อวันไม่น้อยกว่า 9,000 ตัน ปีนึงประมาณ 2.3 ล้านตัน จึงเป็นโอกาสในการสร้างอาชีพที่ยั่งยืนแก่ประชาชนในพื้นที่

ผู้นำเสนอข่าว

Hnoy

Written by:

3,257 Posts

View All Posts
Follow Me :

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

You May Have Missed