รองเลขาธิการ ศอ.บต. เตรียมเสนอแผนยกระดับการพัฒนาการท่องเที่ยว จ.สตูล (เกาะอาดัง) เป็น world class southern
border, Thailand เข้าที่ประชุม กพต. ๒๗ ก.พ นี้ ด้านผู้แทนภาคประชาสังคมเผย พร้อมร่วมขับเคลื่อนเต็มที่ ย้ำต้องให้ภาคประชาชน
มีส่วนร่วมและรักษาอัตลักษณ์ของชุมชนให้คงอยู่
เมื่อวันที่ – กุมภาพันธ์ ๒๕๖- ที่ ห้องประชุมชั้น ๒ ท่าเทียบเรือปากบารา อำเภอละงู จังหวัดสตูล นายชนธัญ แสงพุ่ม รองเลขาธิการ
ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) เป็นประธานการประชุมหรือแนวทางยกระดับและพัฒนาการท่องเที่ยวจังหวัดสตูล(เกาะ
อาดัง) เป็น world class southern border, Thailand. The rivera of south east asia โดยมี นายชาตรี ณ ถลาง รองผู้ว่าราชการจังหวัดสตูล
นายสัมฤทธิ์ เลียงประสิทธิ์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสตูล นางสุนิสา รามแก้ว ผู้ช่วยเลขาธิการ ศอ.บต. (กรมประชาสัมพันธ์)
นาวาเอก จักรพงษ์ อภิมหาธรรม ผู้อำนวยการกองส่งเสริมและสนับสนุนงานพัฒนาฝ่ายพลเรือน ศอ.บต. ตลอดจนผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
อาทิ อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะตะรุเตา สำนักงานกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จ.สตูล มหาวิทยาลัยราชภัฎสงขลา วิทยาเขตสตูล
มหาวิทยาลัยฟาฏอนี ภาคประชาสังคม เข้าร่วมหารือ
นายชนธัญ แสงพุ่ม กล่าวถึงแนวทางการยกระดับและพัฒนาการท่องเที่ยวจังหวัดสตูลให้เป็น world class southern border, Thailand. The
rivera of south east asia ของเกาะอาดัง ว่า จะเห็นได้ว่านักท่องเที่ยวเดินทางไปยังเกาะหลีเป๊ะ เป็นจำนวนมาก ซึ่งทำให้เกิดความแออัด จึงได้มี
แนวคิดที่จะยกระดับและพัฒนาเกาะอาดังให้เป็นแหล่งท่องเที่ยว ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพสูงมาก วันนี้จึงได้มาหารือร่วมกันเพื่อรับฟังความคิดเห็น
และข้อเสนอแนะโดยเฉพาะอย่างยิ่งจากคนในพื้นที่ เพื่อนำเข้าที่ประชุมคณะกรรมการยุทธศาสตร์ด้นการพัฒนา (กพต.) ในวันที่ ๒๙ กุมภาพันธ์
๒๕๖๖ ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา วิทยาเขตสตูล อำเภอละงู จังหวัดสตูล
รองเลขาธิการ ศอ.บต. กล่าวอีกว่า ในวาระที่จะมีการประชุมในวันที่ ๒๙ กุมภาพันธ์นี้ จะมีการผลักดัน : เรื่อง เรื่องแรก คือ การจัดตั้ง
มหาวิทยาลัยสตูล ซึ่งเป็นความต้องการของพี่น้องประชาชนในพื้นที่ และอีกส่วนหนึ่ง สิ่งที่มีความจำเป็น คือมหาวิทยาลัยจะต้องมีความเชื่อมต่อ
กับการพัฒนา ซึ่งโจทย์ของรัฐบาลโดยท่นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้มีการพัฒนาในส่วนของเกาะอาดังซึ่ง
เป็นไข่มุกที่สวยงามของพื้นที่อันดามันฝั่งใต้ และเป็นเกาะที่มีความพร้อมสำหรับการรองรับการพัฒนามากที่สุด
รองเลขาธิการ ศอ.บต. กล่าวเพิ่มเติมว่า ทั้งนี้ในส่วนของประเด็นของการพัฒนาอื่นๆที่จะต้องไปดูก็คือ เรื่องของรูปแบบการพัฒนาการ
ท่องเที่ยว อาดัง จะเป็นแบบ world class จะเป็นแบบ wellness หรือจะเป็นแบบ hala หรือจะเป็นแบบผสมผสานกันเป็นเรื่องที่ประชาชนจะไปคุยกัน
ต่อ แต่อย่างไรก็ตามทิศทางของการพัฒนาของเกาะอาดังจะต้องตอบโจทย์ – เรื่อง คือ เรื่องของการพัฒนาที่ตรงกับความต้องการของประชาชน
และส่วนที่ – คือ ใช้การพัฒนาไปช่วยของการฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมที่เคยเสียไปหรือว่าการพัฒนาที่ไร้ทิศทาง ไร้ทางกำกับ อาดังจะเป็นตัวนำในเรื่อง
ของการพัฒนา ความสำคัญอีกเรื่องหนึ่งคือ อาดังจะเป็นศูนย์กลางของการพัฒนาที่เชื่อมโยงไปยังการท่องเที่ยวเมืองอื่นๆของจังหวัดสตูล รวมทั้ง
ให้พื้นที่การท่องเที่ยวต่างๆได้รับการพัฒนาโดยพร้อมกัน แต่อย่างไรก็ตามการท่องเที่ยวไม่ได้เป็นแบบ stand cone ที่จะสามารถอยู่ได้ด้วยตัวของมัน
เองแต่เป็นการเชื่อมโยงการท่องเที่ยวไปยังพื้นที่อื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นเกาะเภตรา ชุมชนบ้านบ่อเจ็ดลูก ซึ่งจำเป็นจะต้องมีการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน
ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของท่าเรือ ถนน หรือว่าหลักโครงสร้างพื้นฐานที่มีความจำเป็นสำหรับการพัฒนา เป็นการพัฒนาสตูลทั้งระบบให้เป็นเมืองแห่ง
การท่องเที่ยวในทุกคนทุกช่วงวัย
อย่างไรก็ตามในที่ประชุมได้เปิดโอกาสให้มีการเสนความคิดเห็นจากหลายภาคส่วนรวมถึงภาคประชาสังคม โดย นายสุไลมาน อาดำผู้ประสานงาน เครือข่ายภาคประชาสังคมจังหวัดสตูล กล่าวว่า ได้ประสานงานกับทีมงานเครือช่ายของภาคประชาสังคมและทุกท่านมีความเห็นด้วยในการยกระดับและการพัฒนาพื้นที่ของจังหวัดสตูล ในเรื่องการพัฒนาเกาะอาดัง ซึ่งในการเชื่อมโยงของภาคประชาสังค มในการทำงานร่วมกัน เป็นการทำงานร่วมกันระหว่างภาคประชาสังคมในจังหวัดและระหว่างประเทศ คือมาเลเซีย และอินโดนีเซีย จุดยุทธศาสตร์สำคัญคือต้องคำนึงถึงภาคชายฝั่งและกาคทางทะเล ที่ผ่านมาการพัฒนาจังหวัดสตูล เป็นการดำเนินการที่การมีส่วนร่วมของภาคประชาสังคมค่อนช้างน้อยมาก และบุคคลที่เป็นบุคคลในพื้นที่จังหวัดสตูลไม่ค่อยได้มีโอกาสในการนำเสนอบทบาทการทำงานร่วมในการพัฒนาเชิงพื้นที่ ทำให้เป็นการเสียโอกาส ดังนั้นวันนี้ในส่วนของภาคประชาสังคมต้องขอขอบคุณการทำงานร่วมและการลงพื้นที่ของ ศอ.บต. เพื่อที่จะดำเนินการการพัฒนาการท่องเที่ยวในระดับ word coss แต่สิ่งสำคัญจะต้องดำเนินการให้เชื่อมโยงการท่องเที่ยวหรือมิติของการดำรงอัตลักษณ์วิถีชีวิตและการท่องเที่ยวในระดับของชุมชนให้คงอยู่ในพื้นที่จังหวัดสตูล ทางภาคประชาสังคมพร้อมที่จะขับเคลื่อนร่วมกัน ต่อยากจะเน้นว่าให้ทุกกระบวนการทุกมิติจะต้องให้ภาคประชาชน ไม่ว่าจะเป็นตัวแทนเครื่อช่ายให้ได้มีส่วนร่วมในการนำเสนอเชิงมิติต่างๆเพื่อป้องกันการสูญเสียโอกาสการพัฒนาให้กับพื้นที่จังหวัดสตูล

















