รองเลขาธิการ ศอ.บต. ชูแนวทางปศุสัตว์อุตสาหกรรมและยั่งยืน เปิดฟาร์มต้นแบบพร้อมเสนอรัฐบาลใหม่จัดตั้ง “ 1 ฟาร์ม 1 อำเภอ

รองเลขาธิการ ศอ.บต. ชูแนวทางปศุสัตว์อุตสาหกรรมและยั่งยืน เปิดฟาร์มต้นแบบพร้อมเสนอรัฐบาลใหม่จัดตั้ง “ 1 ฟาร์ม 1 อำเภอ

รองเลขาธิการ ศอ.บต. ชูแนวทางปศุสัตว์อุตสาหกรรมและยั่งยืน เปิดฟาร์มต้นแบบพร้อมเสนอรัฐบาลใหม่จัดตั้ง “ 1 ฟาร์ม 1 อำเภอ เพื่อเป็นศูนย์การเรียนรู้เอกชน นำประชาชนสนับสนุนและรัฐอำนวยการ เปลี่ยนผ่านสู่เกษตรอุตสาหกรรมเต็มรูปแบบในปี 2567

วันนี้ (10 กรกฎาคม 2566) ที่ สุริยวงศ์ฟาร์ม ซอย 77 หมู่ 6 ต.สะเตงนอก อ.เมือง จ.ยะลา นายชนธัญ แสงพุ่ม รองเลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) ร่วมลงนามบันทึกความร่วมมือส่งเสริมการเลี้ยงสัตว์แบบครบวงจรเพื่อยกระดับการพัฒนาอุตสาหกรรมสัตว์เศรษฐกิจในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ พร้อมเปิดโครงการฝึกอบรมและส่งเสริมอาชีพสำหรับประชาชนในกิจกรรมการฝึกอบรมอาชีพหลักสูตรการทำสบู่นมแพะ การทำนมพาสเจอไรซ์ และหลักสูตรการทำปุ๋ย ดินปลูก โดยภายในงาน มี นาวาเอก จักรพงษ์ อภิมหาธรรม ผู้อำนวยการกองส่งเสริมและสนับสนุนงานพัฒนาฝ่ายพลเรือน ศอ.บต. นายมะเสาวดี ไสสากา หัวหน้าสำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัดยะลา นายพงศกร สุริยวงศ์ศา ผู้บริหารสุริยวงศ์ฟาร์ม ผู้แทนปศุสัตว์ จ.ยะลา ผู้แทนสำนักงานพัฒนาชุมชน หัวหน้าส่วนราชการและผู้แทนเกษรตรในพื้นที่เข้าร่วม

สำหรับการลงนามบันทึกความร่วมมือส่งเสริมการเลี้ยงสัตว์แบบครบวงจรเพื่อยกระดับการพัฒนาอุตสาหกรรมสัตว์เศรษฐกิจในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ เกิดขึ้นสืบเนื่องจากที่ผ่านมาการเลี้ยงสัตว์โดยเฉพาะอย่างยิ่งแพะในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ มีความต้องการการบริโภคค่อนข้างมาก แต่ในพื้นที่ผลิตได้ไม่เพียงพอ ที่สำคัญคือมาเลเซียมีความต้องการบริโภคแพะค่อนข้างสูง ซึ่งมีปริมาณมากกว่าความต้องการในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้กว่า 2-3 เท่า จึงได้เกิดการลงนามบันทึกความร่วมมือส่งเสริมการเลี้ยงสัตว์แบบครบวงจรเพื่อยกระดับการพัฒนาอุตสาหกรรมสัตว์เศรษฐกิจในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ และมอบแพะให้เกษตรกรยืมเพื่อการผลิต โดยมอบแพะ 100 ตัว ให้แก่เกษตรกร จำนวน 10 ราย เพื่อยกระดับการพัฒนาเพื่อการบริโภคและเพื่อให้สอดคล้องกับวิถีชีวิต ความเชื่อ ศาสนา วัฒนธรรม และเชื่อมโยงการเลี้ยงแพะอุตสาหกรรม โดยต้นน้ำได้มีการวางระบบเพื่อให้เกิดการเลี้ยงแพะอย่างมีคุณภาพและเพิ่มปริมาณในสัดส่วนที่มีความเหมาะสมทางวิชาการ ในขณะเดียวกันในเรื่องของกลางน้ำได้ยกระดับมาตรฐานโดยเฉพาะการเชื่อมโยงตามนโยบายของทางราชการโดยเฉพาะ ศอ.บต. ในเรื่องของโรงเชือด และส่วนที่เกี่ยวข้องในเรื่องการผลิต ไปสู่ปลายทางคือเรื่องของอุตสาหกรรมฮาลาล เพื่อพัฒนาสินค้าโดยเฉพาะเนื้อแพะให้เป็นเนื้อที่สามารถสร้างมูลค่าเพิ่ม สามารถตอบสนองตลาด 3 จังหวัดชายภาคใต้และประเทศมาเลเซียได้

นายชนธัญ แสงพุ่ม กล่าวว่า ในอนาคต ศอ.บต. เตรียมจัดทำยุทธศาสตร์ความมั่นคงทางอาหารเพื่อส่งเสริมให้ประชาชนในพื้นที่มีเศรษฐกิจที่ดี และมีคุณภาพชีวิตที่ดี ซึ่งจะขับเคลื่อนให้เป็นเมืองอาหารแห่งฮาลาล เป็นการผลิตอาหารฮาลาลให้คนภายนอกรู้จัก โดยใช้ทรัพยากร วัตถุดิบ ที่มีอยู่ในพื้นที่ ซึ่งที่ผ่านมา ศอ.บต. ได้ผลักดัน โครงการเชฟฮาลาล เพื่อปั้นผู้ที่มีใจรักการทำอาหารในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ไปสู่ครัวโลก ที่เน้นการเพิ่มมูลค่าด้วยการใช้วัตถุดิบจากพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่มีต้นทุนเรื่องฮาลาล สู่ภูมิภาคอื่นๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ นอกจากนี้ ศอ.บต. จะผลักดันในเรื่องของเมืองนวัตกรรมอาหารแบบครบวงจร หรือ Food Innopolis ที่ให้เกษตรกรเข้าถึงได้ง่าย อาทิ มีห้องปฏิบัติการ ห้องทดลองวิจัย ห้องเย็น ห้องแช่ ห้องผลิตอาหาร ห้องบรรจุภัณฑ์ ห้องฝึกอบรม โดยมี นักวิชาการ นักวิจัย เป็นที่ปรึกษา ซึ่งคาดว่าภายใน 4 ปี เมื่อมีเนื้อวัว เนื้อแพะ เนื้อแกะ เนื้อไก่ จะมีการส่งเสริมในเรื่องอาชีพแก่กลุ่มวิสาหกิจให้มากขึ้น โดยต้องให้มีมาตรฐานและส่งออกได้ ซึ่งระหว่างนี้ สุริยวงศ์ฟาร์ม จะเป็นอีกหนึ่งแหล่งเรียนรู้ในพื้นที่ และติดตามในการให้การดูแลต่อเนื่อง เชื่อมั่นว่าโครงการนี้จะเป็นโครงการต้นแบบที่นำไปสู่ในเรื่องของการสร้างงาน สร้างอาชีพได้ พร้อมนี้ จะได้เสนอรัฐบาลใหม่เพื่อพิจารณาจัดตั้ง “1 ฟาร์ม 1 อำเภอ” เพื่อเป็นศูนย์การเรียนรู้เอกชนนำ ประชาชนสนับสนุนและรัฐอำนวยการ เปลี่ยนผ่านสู่เกษตรอุตสาหกรรมเต็มรูปแบบในปี 2567 เพื่อให้เกิดแหล่งศึกษาเรียนรู้และปฏิบัติการของภาคประชาชนเพื่อส่งเสริมการปศุสัตว์เชิงอุตสาหกรรมเพิ่มมากขึ้น กระบวนการผลิตของประชาชนเป็นไปตามแนวทางการพัฒนาธุรกิจที่ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมและเป็นไปโดยสุจริต ยุติธรรม ไม่เอารัดเอาเปรียบกัน พร้อมนี้ จะได้เชื่อมโยงการทำงานของ ศอ.บต. ทั้งในด้านการเกษตรต้นน้ำ ปศุสัตว์กลางน้ำ เกษตรอุตสาหกรรม และ Food Innopolis เพื่อให้ประชาชนได้รับการพัฒนาในทุกมิติที่เกี่ยวข้องเพื่อให้เกิด “อุตสาหกรรมอาหารฮาลาล” ภายในปี 2570 นี้

ภายหลังจากเสร็จสิ้นพิธีเปิดแล้ว นายชนธัญ แสงพุ่ม ได้ลงนามบันทึกความร่วมมือส่งเสริมการเลี้ยงสัตว์แบบครบวงจรเพื่อยกระดับการพัฒนาอุตสาหกรรมสัตว์เศรษฐกิจในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ร่วมกับ นาวาเอก จักรพงษ์ อภิมหาธรรม ผู้อำนวยการกองส่งเสริมและสนับสนุนงานพัฒนาฝ่ายพลเรือน ศอ.บต. นายพงศกร สุริยวงศ์ศา ผู้บริหารสุริยวงศ์ฟาร์ม นายมะเสาวดี ไสสากา หัวหน้าสำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัดยะลา ผู้แทนปศุสัตว์ จ.ยะลา ประธานสภาเกษตร จ.ยะลา ผู้จัดการสุริยวงศ์ฟาร์ม และผู้แทนเครือข่ายเกษตรกรผู้เลี้ยงแพะ พร้อมทั้งมอบสัญญายืมสัตว์ มอบแพะและเวชภัณฑ์ ให้แก่เกษตรทั้ง 10 ราย

นอกจากนี้ นายชนธัญ แสงพุ่ม เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการฝึกอบรมและส่งเสริมอาชีพสำหรับประชาชนในกิจกรรมการฝึกอบรมอาชีพหลักสูตรการทำสบู่นมแพะ การทำนมพาสเจอไรซ์ และหลักสูตรการทำปุ๋ย ดินปลูก เพื่อสร้างงาน สร้างอาชีพ สร้างรายได้ ให้เพิ่มขึ้นในครัวเรือน และเพื่อต่อยอดการสร้างรายได้ที่มีอยู่ รวมทั้งแก้ไขปัญหาความจนบนพื้นฐานของการน้อมนำเอาหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับใช้ในพื้นที่ โดยกลุ่มเป้าหมายของการฝึกอบรมมีจำนวน 60 คน เพื่อพัฒนาพื้นที่ของฟาร์มให้เป็นศูนย์กลางของการพัฒนาในด้านการเกษตรและความมั่นคงทางด้านอาหาร โดยบูรณาการกับทุกภาคส่วน เพื่อสร้างงาน สร้างอาชีพ สร้างรายได้ให้กับคนในชุมชน ตลอดจนขยายให้ครอบคลุมกับพื้นที่ อย่างไรก็ตาม รองเลขาธิการ ศอ.บต. ได้เน้นย้ำให้ผู้เข้าร่วมการฝึกอบรมนำความรู้ที่ได้รับในครั้งนี้ไปต่อยอดให้เกิดประโยชน์สูงสุดทั้งต่อการใช้ชีวิตและการสร้างรายได้เป็นอาชีพต่อไป

ผู้นำเสนอข่าว

Hnoy

Written by:

3,587 Posts

View All Posts
Follow Me :

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *