สงสัยเสา 2 ต้นจุดวิบัติตึกถล่ม ข้องใจแก้สัญญาครั้งที่ 4 มีล็อกสเปกลิฟต์หรือไม่

สงสัยเสา 2 ต้นจุดวิบัติตึกถล่ม ข้องใจแก้สัญญาครั้งที่ 4 มีล็อกสเปกลิฟต์หรือไม่

ดีเอสไอเชิญผู้เชี่ยวชาญด้านก่อสร้างให้ข้อมูลตั้งข้อสังเกต 3 ประเด็น ตึก สตง.ถล่ม แจงยิบไม่ว่าจะเป็นเรื่องฐานราก เรื่องการแก้ไขผนังปล่องลิฟต์ รวมทั้งวิเคราะห์สาเหตุ ทำไมถึงต้องแก้ไขแบบ ระบุเห็นความเชื่อมโยงเสา 2 ต้นอาจเป็นจุดวิบัติของตัวอาคาร ส่วนกรณีแก้ไขสัญญา 9 ครั้ง ชี้จุดสำคัญคือครั้งที่ 4 เพราะเป็นการ แก้ไขผนังปล่องลิฟต์ ผนังรับแรงเฉือน และส่วนควบ อื่นๆทั้งหมด ที่เหลือไม่เกี่ยวกับการแก้ไขแบบ ด้าน “ชัชชาติ” คาด 3-4 วันเปิดพื้นที่ทั้งหมด จ่อคืน สตง.จัดการต่อ ขณะที่วิศวกรใหญ่กรมโยธาฯลงคุมเก็บหลักฐานตึกถล่ม เผยทีมอาจารย์ 5 มหาวิทยาลัยดัง เริ่มกระบวนศึกษาเตรียมจำลองสถานการณ์ตึกถล่ม ตามบัญชานายกรัฐมนตรีแล้ว

กรณีการสืบสวนคลี่คลายคดีอาคารกำลังก่อสร้างสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) แห่งใหม่ถล่มเมื่อวันที่ 28 มี.ค. หลังเหตุแผ่นดินไหว มีผู้บาดเจ็บเสียชีวิตและสูญหายอยู่ในซากตึกจำนวนมาก คาดว่าสาเหตุเบื้องต้นมาจากการฟันราคาก่อนลดสเปกวัสดุก่อสร้าง โดยกองบัญชาการตำรวจนครบาล (บช.น.) และกรมสอบสวนคดีพิเศษ เร่งรวบรวมหลักฐานดำเนินคดีทุกความผิด แต่เวลาผ่านมา 1 เดือนเศษ ยังไม่สามารถจับกุมผู้อยู่เบื้องหลังการว่าจ้างรับเหมาก่อสร้างที่ทำให้ตึกถล่มได้ นอกจากการจับกุม 4 ผู้ต้องหาในคดีนอมินี บ.ไชน่าเรลเวย์ นัมเบอร์ 10 (ประเทศไทย) จำกัด เท่านั้น ขณะที่ น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี สั่งกรมโยธาฯ ร่วมกับ 4 สถาบัน ต่างฝ่ายต่างจำลองเหตุการณ์ตึกถล่มแล้วนำมาเทียบเพื่อหาสาเหตุที่แท้จริง ด้าน กทม. แถลงปรับยอดผู้ประสบเหตุเพิ่มเป็น 109 ราย ยืนยันผู้เสียชีวิตแล้ว 86 ราย อยู่ระหว่างค้นหาอีก 14 ราย พร้อมเร่งตรวจพิสูจน์อัตลักษณ์บุคคลจากชิ้นส่วนมนุษย์ที่พบกว่า 280 ชิ้น เพื่อส่งร่างคืนครอบครัว ขณะที่ “สส.ไอซ์-รักชนก ศรีนอก” โพสต์หนุน “ต๊ะ-นารากร” พิธีกรดัง แจ้งเอาผิดผู้ว่าการ สตง. แถมหยอกทีเล่นทีจริงให้ประชาชนออกมาแจ้งเอาผิดแบบพิธีกรสาว ตามที่เสนอข่าวไปนั้น

เมื่อเวลา 09.00 น. วันที่ 5 พ.ค. ที่กองอำนวยการร่วม สน.บางซื่อ ศูนย์บัญชาการเหตุการณ์สำนักงานเขตจตุจักร นายชูเลิศ จิตเจือจุน อุปนายกสมาคมวิศวกรโครงสร้างแห่งประเทศไทย เข้าร่วมประชุมกับทีมสอบสวนชุดเก็บหลักฐาน เพื่อทำความเข้าใจถึงกระบวนการเก็บหลักฐานวัสดุโครงสร้างซากอาคารสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินถล่ม โดยเฉพาะในส่วนวัสดุที่เป็นชิ้นคอนกรีต และชิ้นส่วนตัวอย่างคอนกรีต เพื่อให้การตรวจพิสูจน์เป็นไปตามมาตรฐานชัดเจน ไม่ให้มีข้อโต้แย้งทางวิศวกรรมได้ การหารือเป็นไปอย่างเคร่งเครียด ทั้งนี้ พ.ต.อ.สนอง แสงมณี ผกก. สน.บางซื่อ และตัวแทนทีมวิศวกรกรมโยธาธิการ ยืนยันว่าที่ผ่านมาได้เก็บหลักฐานวัสดุโครงสร้างอาคาร สตง. อย่างละเอียดรอบคอบมาตลอด เพราะมีเป้าหมายหลักพิสูจน์ความจริงสาเหตุที่ทำให้อาคาร สตง.ถล่มทั้งหลัง

จากนั้นเวลา 09.30 น. นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร มาติดตามความคืบหน้าการค้นหาผู้สูญหายในเหตุการณ์ตึก สตง.ถล่ม ที่เข้าสู่วันที่ 39 โดยเจ้าหน้าที่กู้ภัยและผู้เชี่ยวชาญจากหลายหน่วยงานยังคงระดมกำลังกันค้นหาผู้ติดค้าง คาดว่าจะอยู่ที่บริเวณชั้นใต้ดินของซากอาคาร สตง. จนสามารถเปิดพื้นที่ค้นหาได้แล้วในหลายโซน ล่าสุด เมื่อเวลา 16.20 น. วันที่ 4 พ.ค. พบร่างผู้สูญหายบริเวณโซน C เป็นร่างผู้เสียชีวิตไม่ทราบเพศ 1 ร่าง พร้อมหัวกะโหลกสมบูรณ์ 1 ชิ้น ส่งสถาบันนิติเวชวิทยา รพ.ตร. พิสูจน์ยืนยันบุคคลต่อไป

นายชัชชาติเผยว่า ตอนนี้เราลงไปถึงชั้นใต้ดินของโถงบันไดโซน C คาดจุดนั้นไม่มีผู้ที่ติดค้างอยู่แล้ว วันนี้จะค้นหาชั้นใต้ดินโถงบันไดโซน B เป็นบันไดฝั่งซ้าย ที่ผ่านมาอัปเดตผู้ที่ยังหาไม่เจออีก 8 ราย แต่ตำรวจได้เพิ่มบุคคลสูญหายอีก 6 ราย รวมเป็นผู้ประสบภัยเหตุตึก สตง.ถล่ม 109 ราย

ขณะนี้ยังมีผู้สูญหายที่ต้องเร่งค้นหาอีก 14 ราย แต่ไม่ว่าจะมีผู้สูญหายเท่าไหร่ก็ยังเดินหน้าต่อ หวังว่าผู้สูญหาย 14 รายนี้จะมีชิ้นส่วนที่ได้ส่งให้กองพิสูจน์หลักฐานนำไปพิสูจน์แล้วก่อนหน้านี้ แต่ยังไม่ได้รับการยืนยันกลับมา ตอนนี้มีพื้นที่หลักๆ ไม่กี่จุดที่ต้องค้นหาเพิ่มเติม คาดว่าประมาณ 3-4 วัน จะสามารถเปิดพื้นที่ค้นหาได้ทั้งหมด

เมื่อถามถึงการดำเนินการหลังจากนี้ นายชัชชาติกล่าวว่า ต้องดูว่ามีจุดไหนที่ต้องยุติการค้นหา ต้องเป็นที่ยอมรับกันทั้งหมดหลังจากนั้นต้องส่งคืนพื้นที่ ได้แจ้งเบื้องต้นกับผู้รับผิดชอบไปแล้วว่าสุดท้ายแล้วต้องมีวันหนึ่งที่เราถอนกำลังออก เข้าใจว่า สตง.ต้องมาดำเนินการต่อ ไม่ใช่แค่จุดตึกถล่มแต่รวมไปถึงจุดที่นำของไปวางไว้ที่เป็นพื้นที่การรถไฟฯ สุดท้ายแล้วต้องมีคนเอาของจากจุดนั้น ขณะนี้ทำหนังสือแจ้ง สตง.แล้วไม่มีอะไรหนักใจ แต่ที่กังวลคือทำไมยังหาไม่เจออีก 14 ราย เพราะเราเปิดพื้นที่ไปมากแล้วคาดว่าจะเจอในวันนี้ เนื่องจากเหลือโซนสุดท้ายที่เป็นบันไดโซน B ด้านล่าง และได้ใช้เทคโนโลยีโดยการระบุพิกัดจาก GPS ทำให้เข้าใจการหนีของผู้ที่อยู่ในตึกได้มากขึ้น

นายชัชชาติกล่าวว่า หน้าที่เราคือค้นหาผู้สูญหายและนำส่งคืนญาติ หน้าที่รื้อตึกไม่ใช่หน้าที่เรา จริงๆแล้วเป็นหน้าที่เจ้าของอาคาร หากอาคารนี้ไม่มีผู้เสียชีวิตเป็นอาคารร้างที่ถล่มลงมาเราก็ไม่รื้อให้เพราะไม่ใช่อุบัติภัยที่มีผู้เสียชีวิต เมื่อถามถึงกรณีผู้ประกอบการโดยรอบที่ได้รับผลกระทบได้พูดคุยเรื่องการเยียวยาหรือยัง นายชัชชาติเผยว่า เรื่องนี้มี 2 ส่วนคือผลกระทบจากการจอดรถ พยายามคืนพื้นที่ให้เยอะแล้ว ส่วนผลกระทบด้านอื่นต้องดูอีกทีว่าอยู่ในกระบวนการเยียวยาหรือไม่ เพราะบางทีอาจมีหลาย ปัจจัยต้องแยกให้ชัดเจน ว่าเป็นผลกระทบจากแผ่นดินไหวหรือสภาพเศรษฐกิจ จะให้ ผอ.เขตจตุจักร รวบรวมข้อมูลอีกครั้ง แต่ต้องย้ำไปว่าแผ่นดินไหวครั้งนี้เป็นบทพิสูจน์ว่าอาคารในกรุงเทพมหานครเกือบ ทั้งหมดแข็งแรง กฎหมายเราไม่ได้มีปัญหา วิศวกรทำงานได้ถูกต้อง ยกเว้นหนึ่งตึกที่พัง หากมองในแง่บวก ก็สร้างความมั่นใจได้ด้วยซ้ำว่า กฎหมายเราไม่ได้อ่อนมีการออกแบบเผื่อไว้ และตึกทั้งหมดก็ยังยืนอยู่ได้

ต่อมาเวลา 10.30 น. นายพิศุทธิ์ สุขุม วิศวกรใหญ่กรมโยธาธิการและผังเมือง ประธานคณะกรรมการสืบสวนข้อเท็จจริงอาคารสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินถล่ม พร้อมนายวิชิต อรุณมานะกุล ผอ.กองควบคุมงานก่อสร้าง กรมโยธาธิการและผังเมือง พ.ต.อ.สนอง แสงมณี ผกก.สน.บางซื่อ ร่วมกับเจ้าหน้าที่วิศวกร กรมโยธาธิการและผังเมือง ตำรวจพิสูจน์หลักฐาน ตำรวจจาก บก.น.2 และตำรวจ สน.บางซื่อ เข้าเก็บหลักฐานเพิ่มเติม มีนายชูเลิศ จิตเจือจุน อุปนายกสมาคมวิศวกรโครงสร้างแห่งประเทศไทย ร่วมสังเกตการณ์และให้คำแนะนำ

นายพิศุทธิ์เผยว่า ตั้งแต่วันที่นายกรัฐมนตรีสั่งการให้สอบสวนข้อเท็จจริง และ รมว.มหาดไทยมอบหมายกรมโยธาธิการสืบสวนร่วมกับตำรวจและกรมสอบสวนคดีพิเศษ ได้จัดทีมวิศวกรเข้าตรวจสอบซากอาคาร เก็บหลักฐานที่เป็นวัสดุโครงสร้างให้ขั้นตอนเก็บหลักฐานเป็นไปตามหลักวิศวกรรม ปูพรมเก็บทุกพื้นที่ที่เข้าถึง มีชิ้นส่วนหลักฐานที่มีประโยชน์ในการสอบสวน และชิ้นส่วนที่ไม่สามารถใช้งานได้ ต้องใช้เวลาตรวจสอบทางวิศวกรรมอย่างละเอียดเพื่อให้ข้อมูลที่สมบูรณ์ สำหรับความคืบหน้าจัดทำโมเดลจำลองสถานการณ์อาคาร สตง.ถล่ม ขณะนี้กรมโยธาธิการประสานข้อมูลกับ 5 สถาบันอุดมศึกษาชั้นนำ ได้แก่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี พระจอมเกล้าธนบุรี (บางมด) และมหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ โดยให้ทีมอาจารย์แต่ละมหาวิทยาลัยมีอิสระในการศึกษาคำนวณสร้างแบบจำลองอย่างเต็มที่ เพื่อหาสาเหตุตึกถล่มคู่ขนานไปพร้อมกับการสอบสวนของตำรวจและดีเอสไอ

ส่วนความคืบหน้าคดีพิเศษที่ 32/2568 หรือคดีนอมินี บริษัท ไชน่า เรลเวย์ นัมเบอร์ 10 (ประเทศไทย) จำกัด หลังดีเอสไอออกหมายเรียกพยาน 40 วิศวกรภายใต้กิจการร่วมค้า PKW ให้ปากคำชี้แจงกรณีมีรายชื่อและลายเซ็นปรากฏในเอกสารควบคุมงานตึก สตง. มีรายงานว่า พ.ต.ต.ยุทธนา แพรดำ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ ได้เรียกประชุมคณะพนักงานสอบสวนติดตามความคืบหน้าทางคดีในวันที่ 6 พ.ค.เพื่อกำหนดกรอบเวลาในการสรุปสำนวนคดีส่งให้พนักงานอัยการคดีพิเศษในระยะเวลาการฝากขังผู้ต้องหากลุ่มแรก เป็นคนไทย 3 คน และคนจีน 1 คน รวมทั้งติดตามความคืบหน้าทางคดี ที่รับเป็นคดีพิเศษ

ทั้งนี้ ในวันนี้พนักงานสอบสวนได้เชิญนายวิระ เรืองศรี ผู้จัดการบริษัท 3117 บิม เมเนจเม้นท์ จำกัด มาให้ข้อมูลเรื่องโครงสร้างตึก สตง.ถล่ม และข้อสังเกตจุดวิบัติของตึก สตง.มาให้ข้อมูลเนื่องด้วยนายวิระ เป็นผู้เชี่ยวชาญเรื่องการควบคุมงานก่อสร้าง การออกแบบก่อสร้าง การให้คำปรึกษาการก่อสร้าง มีประสบการณ์เชี่ยวชาญด้านการสร้างแบบจำลองข้อมูลอาคารด้วยโปรแกรม BIM (Building Information Modeling) โดยนายวิระตั้งข้อสังเกตในส่วนที่พบเห็นจากวิดีโอตึก สตง. ถล่มลงวันที่ 28 มี.ค. ไม่ว่าจะเป็นเรื่องฐานราก เรื่องผนังปล่องลิฟต์ การแก้ไขผนังปล่องลิฟต์ วิเคราะห์สาเหตุว่าทำไมต้องมีการแก้ไขแบบ เนื่องด้วยเห็นความเชื่อมโยงของเสา 2 ต้น ของตัวอาคารที่มีการวิบัติพังจึงเชื่อได้ว่าเสา 2 ต้นนี้อาจเป็นจุดวิบัติของตัวอาคาร

หลังเข้าให้ข้อมูลดีเอสไอ นายวิระเผยว่า วันนี้ให้ข้อสังเกตกับดีเอสไอใน 3 ประเด็น คือ 1.เหตุของการแก้ไขสัญญา 9 ครั้ง 2.ประเด็นเชิงวิศวกรรม การตั้งข้อสังเกตของโครงสร้างอาคาร และ 3.ประเด็นที่มาของผู้ออกแบบ วิศวกร และผู้ควบคุมงาน การแก้ไขแบบสัญญาทั้ง 9 ครั้ง เน้นไปที่การแก้ไขแบบครั้งที่ 4 เพราะคือการแก้ไข Core Lift (การแก้ไขผนังปล่องลิฟต์) ผนังรับแรงเฉือน และส่วนควบอื่นๆทั้งหมด ทั้งการแก้ไข Core Wall ส่วนอาคาร A ชั้น B1-3 คือการแก้คานที่งานระบบเดิมไม่ผ่านจึงต้องแก้คานด้วย ดังนั้นการแก้ไขผนังปล่องลิฟต์มีตั้งแต่ชั้น 1 จนถึงหลังคา จริงๆแล้วสาระสำคัญสัญญาการแก้ไขแบบทั้ง 9 ครั้ง มีครั้งสำคัญอยู่ครั้งเดียวคือครั้งที่ 4 ที่เหลือไม่เกี่ยวกับการแก้ไขแบบเป็นสัญญาการแก้ไขงวดงาน แก้ไขขยายสัญญา แก้ไขแผนงาน เช่น ครั้งที่ 7 กับครั้งที่ 8 คือการแก้ไขสลับกิจกรรมในงวดงาน สามารถใช้ดูได้ว่าเอื้อให้ผู้รับเหมาสามารถเบิกงวดงานได้หรือไม่


กก+

LightDarkฟังข่าว

ข่าวแนะนำ

  1. politicรัฐบาลเตรียมพร้อมรับมือกำแพงภาษีสหรัฐฯ ย้ำ มูดีส์ไม่ได้ลดอันดับความน่าเชื่อถือไทย
  2. “สรวงศ์” ประธานเปิดสองล้อ ปทท. ถนน-เสือภูเขาสนาม 3 ที่ จ.สระแก้ว พ่อเมืองมั่นใจช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ
  3. “ดำรง-ต๊ะ” โร่แจ้งจับ ผู้ว่า-อดีตผู้ว่า สตง. ระบุชัด 2 ข้อหาฉกรรจ์ เป็นคน “เซ็น” สร้างตึกที่ถล่ม

ดูทั้งหมด

ดีเอสไอเชิญผู้เชี่ยวชาญด้านก่อสร้างให้ข้อมูลตั้งข้อสังเกต 3 ประเด็น ตึก สตง.ถล่ม แจงยิบไม่ว่าจะเป็นเรื่องฐานราก เรื่องการแก้ไขผนังปล่องลิฟต์ รวมทั้งวิเคราะห์สาเหตุ ทำไมถึงต้องแก้ไขแบบ ระบุเห็นความเชื่อมโยงเสา 2 ต้นอาจเป็นจุดวิบัติของตัวอาคาร ส่วนกรณีแก้ไขสัญญา 9 ครั้ง ชี้จุดสำคัญคือครั้งที่ 4 เพราะเป็นการ แก้ไขผนังปล่องลิฟต์ ผนังรับแรงเฉือน และส่วนควบ อื่นๆทั้งหมด ที่เหลือไม่เกี่ยวกับการแก้ไขแบบ ด้าน “ชัชชาติ” คาด 3-4 วันเปิดพื้นที่ทั้งหมด จ่อคืน สตง.จัดการต่อ ขณะที่วิศวกรใหญ่กรมโยธาฯลงคุมเก็บหลักฐานตึกถล่ม เผยทีมอาจารย์ 5 มหาวิทยาลัยดัง เริ่มกระบวนศึกษาเตรียมจำลองสถานการณ์ตึกถล่ม ตามบัญชานายกรัฐมนตรีแล้ว

กรณีการสืบสวนคลี่คลายคดีอาคารกำลังก่อสร้างสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) แห่งใหม่ถล่มเมื่อวันที่ 28 มี.ค. หลังเหตุแผ่นดินไหว มีผู้บาดเจ็บเสียชีวิตและสูญหายอยู่ในซากตึกจำนวนมาก คาดว่าสาเหตุเบื้องต้นมาจากการฟันราคาก่อนลดสเปกวัสดุก่อสร้าง โดยกองบัญชาการตำรวจนครบาล (บช.น.) และกรมสอบสวนคดีพิเศษ เร่งรวบรวมหลักฐานดำเนินคดีทุกความผิด แต่เวลาผ่านมา 1 เดือนเศษ ยังไม่สามารถจับกุมผู้อยู่เบื้องหลังการว่าจ้างรับเหมาก่อสร้างที่ทำให้ตึกถล่มได้ นอกจากการจับกุม 4 ผู้ต้องหาในคดีนอมินี บ.ไชน่าเรลเวย์ นัมเบอร์ 10 (ประเทศไทย) จำกัด เท่านั้น ขณะที่ น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี สั่งกรมโยธาฯ ร่วมกับ 4 สถาบัน ต่างฝ่ายต่างจำลองเหตุการณ์ตึกถล่มแล้วนำมาเทียบเพื่อหาสาเหตุที่แท้จริง ด้าน กทม. แถลงปรับยอดผู้ประสบเหตุเพิ่มเป็น 109 ราย ยืนยันผู้เสียชีวิตแล้ว 86 ราย อยู่ระหว่างค้นหาอีก 14 ราย พร้อมเร่งตรวจพิสูจน์อัตลักษณ์บุคคลจากชิ้นส่วนมนุษย์ที่พบกว่า 280 ชิ้น เพื่อส่งร่างคืนครอบครัว ขณะที่ “สส.ไอซ์-รักชนก ศรีนอก” โพสต์หนุน “ต๊ะ-นารากร” พิธีกรดัง แจ้งเอาผิดผู้ว่าการ สตง. แถมหยอกทีเล่นทีจริงให้ประชาชนออกมาแจ้งเอาผิดแบบพิธีกรสาว ตามที่เสนอข่าวไปนั้น

ธุรกิจโฆษณา

เมื่อเวลา 09.00 น. วันที่ 5 พ.ค. ที่กองอำนวยการร่วม สน.บางซื่อ ศูนย์บัญชาการเหตุการณ์สำนักงานเขตจตุจักร นายชูเลิศ จิตเจือจุน อุปนายกสมาคมวิศวกรโครงสร้างแห่งประเทศไทย เข้าร่วมประชุมกับทีมสอบสวนชุดเก็บหลักฐาน เพื่อทำความเข้าใจถึงกระบวนการเก็บหลักฐานวัสดุโครงสร้างซากอาคารสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินถล่ม โดยเฉพาะในส่วนวัสดุที่เป็นชิ้นคอนกรีต และชิ้นส่วนตัวอย่างคอนกรีต เพื่อให้การตรวจพิสูจน์เป็นไปตามมาตรฐานชัดเจน ไม่ให้มีข้อโต้แย้งทางวิศวกรรมได้ การหารือเป็นไปอย่างเคร่งเครียด ทั้งนี้ พ.ต.อ.สนอง แสงมณี ผกก. สน.บางซื่อ และตัวแทนทีมวิศวกรกรมโยธาธิการ ยืนยันว่าที่ผ่านมาได้เก็บหลักฐานวัสดุโครงสร้างอาคาร สตง. อย่างละเอียดรอบคอบมาตลอด เพราะมีเป้าหมายหลักพิสูจน์ความจริงสาเหตุที่ทำให้อาคาร สตง.ถล่มทั้งหลัง

จากนั้นเวลา 09.30 น. นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร มาติดตามความคืบหน้าการค้นหาผู้สูญหายในเหตุการณ์ตึก สตง.ถล่ม ที่เข้าสู่วันที่ 39 โดยเจ้าหน้าที่กู้ภัยและผู้เชี่ยวชาญจากหลายหน่วยงานยังคงระดมกำลังกันค้นหาผู้ติดค้าง คาดว่าจะอยู่ที่บริเวณชั้นใต้ดินของซากอาคาร สตง. จนสามารถเปิดพื้นที่ค้นหาได้แล้วในหลายโซน ล่าสุด เมื่อเวลา 16.20 น. วันที่ 4 พ.ค. พบร่างผู้สูญหายบริเวณโซน C เป็นร่างผู้เสียชีวิตไม่ทราบเพศ 1 ร่าง พร้อมหัวกะโหลกสมบูรณ์ 1 ชิ้น ส่งสถาบันนิติเวชวิทยา รพ.ตร. พิสูจน์ยืนยันบุคคลต่อไป

นายชัชชาติเผยว่า ตอนนี้เราลงไปถึงชั้นใต้ดินของโถงบันไดโซน C คาดจุดนั้นไม่มีผู้ที่ติดค้างอยู่แล้ว วันนี้จะค้นหาชั้นใต้ดินโถงบันไดโซน B เป็นบันไดฝั่งซ้าย ที่ผ่านมาอัปเดตผู้ที่ยังหาไม่เจออีก 8 ราย แต่ตำรวจได้เพิ่มบุคคลสูญหายอีก 6 ราย รวมเป็นผู้ประสบภัยเหตุตึก สตง.ถล่ม 109 ราย

ขณะนี้ยังมีผู้สูญหายที่ต้องเร่งค้นหาอีก 14 ราย แต่ไม่ว่าจะมีผู้สูญหายเท่าไหร่ก็ยังเดินหน้าต่อ หวังว่าผู้สูญหาย 14 รายนี้จะมีชิ้นส่วนที่ได้ส่งให้กองพิสูจน์หลักฐานนำไปพิสูจน์แล้วก่อนหน้านี้ แต่ยังไม่ได้รับการยืนยันกลับมา ตอนนี้มีพื้นที่หลักๆ ไม่กี่จุดที่ต้องค้นหาเพิ่มเติม คาดว่าประมาณ 3-4 วัน จะสามารถเปิดพื้นที่ค้นหาได้ทั้งหมด

เมื่อถามถึงการดำเนินการหลังจากนี้ นายชัชชาติกล่าวว่า ต้องดูว่ามีจุดไหนที่ต้องยุติการค้นหา ต้องเป็นที่ยอมรับกันทั้งหมดหลังจากนั้นต้องส่งคืนพื้นที่ ได้แจ้งเบื้องต้นกับผู้รับผิดชอบไปแล้วว่าสุดท้ายแล้วต้องมีวันหนึ่งที่เราถอนกำลังออก เข้าใจว่า สตง.ต้องมาดำเนินการต่อ ไม่ใช่แค่จุดตึกถล่มแต่รวมไปถึงจุดที่นำของไปวางไว้ที่เป็นพื้นที่การรถไฟฯ สุดท้ายแล้วต้องมีคนเอาของจากจุดนั้น ขณะนี้ทำหนังสือแจ้ง สตง.แล้วไม่มีอะไรหนักใจ แต่ที่กังวลคือทำไมยังหาไม่เจออีก 14 ราย เพราะเราเปิดพื้นที่ไปมากแล้วคาดว่าจะเจอในวันนี้ เนื่องจากเหลือโซนสุดท้ายที่เป็นบันไดโซน B ด้านล่าง และได้ใช้เทคโนโลยีโดยการระบุพิกัดจาก GPS ทำให้เข้าใจการหนีของผู้ที่อยู่ในตึกได้มากขึ้น

นายชัชชาติกล่าวว่า หน้าที่เราคือค้นหาผู้สูญหายและนำส่งคืนญาติ หน้าที่รื้อตึกไม่ใช่หน้าที่เรา จริงๆแล้วเป็นหน้าที่เจ้าของอาคาร หากอาคารนี้ไม่มีผู้เสียชีวิตเป็นอาคารร้างที่ถล่มลงมาเราก็ไม่รื้อให้เพราะไม่ใช่อุบัติภัยที่มีผู้เสียชีวิต เมื่อถามถึงกรณีผู้ประกอบการโดยรอบที่ได้รับผลกระทบได้พูดคุยเรื่องการเยียวยาหรือยัง นายชัชชาติเผยว่า เรื่องนี้มี 2 ส่วนคือผลกระทบจากการจอดรถ พยายามคืนพื้นที่ให้เยอะแล้ว ส่วนผลกระทบด้านอื่นต้องดูอีกทีว่าอยู่ในกระบวนการเยียวยาหรือไม่ เพราะบางทีอาจมีหลาย ปัจจัยต้องแยกให้ชัดเจน ว่าเป็นผลกระทบจากแผ่นดินไหวหรือสภาพเศรษฐกิจ จะให้ ผอ.เขตจตุจักร รวบรวมข้อมูลอีกครั้ง แต่ต้องย้ำไปว่าแผ่นดินไหวครั้งนี้เป็นบทพิสูจน์ว่าอาคารในกรุงเทพมหานครเกือบ ทั้งหมดแข็งแรง กฎหมายเราไม่ได้มีปัญหา วิศวกรทำงานได้ถูกต้อง ยกเว้นหนึ่งตึกที่พัง หากมองในแง่บวก ก็สร้างความมั่นใจได้ด้วยซ้ำว่า กฎหมายเราไม่ได้อ่อนมีการออกแบบเผื่อไว้ และตึกทั้งหมดก็ยังยืนอยู่ได้

ต่อมาเวลา 10.30 น. นายพิศุทธิ์ สุขุม วิศวกรใหญ่กรมโยธาธิการและผังเมือง ประธานคณะกรรมการสืบสวนข้อเท็จจริงอาคารสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินถล่ม พร้อมนายวิชิต อรุณมานะกุล ผอ.กองควบคุมงานก่อสร้าง กรมโยธาธิการและผังเมือง พ.ต.อ.สนอง แสงมณี ผกก.สน.บางซื่อ ร่วมกับเจ้าหน้าที่วิศวกร กรมโยธาธิการและผังเมือง ตำรวจพิสูจน์หลักฐาน ตำรวจจาก บก.น.2 และตำรวจ สน.บางซื่อ เข้าเก็บหลักฐานเพิ่มเติม มีนายชูเลิศ จิตเจือจุน อุปนายกสมาคมวิศวกรโครงสร้างแห่งประเทศไทย ร่วมสังเกตการณ์และให้คำแนะนำ

นายพิศุทธิ์เผยว่า ตั้งแต่วันที่นายกรัฐมนตรีสั่งการให้สอบสวนข้อเท็จจริง และ รมว.มหาดไทยมอบหมายกรมโยธาธิการสืบสวนร่วมกับตำรวจและกรมสอบสวนคดีพิเศษ ได้จัดทีมวิศวกรเข้าตรวจสอบซากอาคาร เก็บหลักฐานที่เป็นวัสดุโครงสร้างให้ขั้นตอนเก็บหลักฐานเป็นไปตามหลักวิศวกรรม ปูพรมเก็บทุกพื้นที่ที่เข้าถึง มีชิ้นส่วนหลักฐานที่มีประโยชน์ในการสอบสวน และชิ้นส่วนที่ไม่สามารถใช้งานได้ ต้องใช้เวลาตรวจสอบทางวิศวกรรมอย่างละเอียดเพื่อให้ข้อมูลที่สมบูรณ์ สำหรับความคืบหน้าจัดทำโมเดลจำลองสถานการณ์อาคาร สตง.ถล่ม ขณะนี้กรมโยธาธิการประสานข้อมูลกับ 5 สถาบันอุดมศึกษาชั้นนำ ได้แก่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี พระจอมเกล้าธนบุรี (บางมด) และมหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ โดยให้ทีมอาจารย์แต่ละมหาวิทยาลัยมีอิสระในการศึกษาคำนวณสร้างแบบจำลองอย่างเต็มที่ เพื่อหาสาเหตุตึกถล่มคู่ขนานไปพร้อมกับการสอบสวนของตำรวจและดีเอสไอ

ส่วนความคืบหน้าคดีพิเศษที่ 32/2568 หรือคดีนอมินี บริษัท ไชน่า เรลเวย์ นัมเบอร์ 10 (ประเทศไทย) จำกัด หลังดีเอสไอออกหมายเรียกพยาน 40 วิศวกรภายใต้กิจการร่วมค้า PKW ให้ปากคำชี้แจงกรณีมีรายชื่อและลายเซ็นปรากฏในเอกสารควบคุมงานตึก สตง. มีรายงานว่า พ.ต.ต.ยุทธนา แพรดำ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ ได้เรียกประชุมคณะพนักงานสอบสวนติดตามความคืบหน้าทางคดีในวันที่ 6 พ.ค.เพื่อกำหนดกรอบเวลาในการสรุปสำนวนคดีส่งให้พนักงานอัยการคดีพิเศษในระยะเวลาการฝากขังผู้ต้องหากลุ่มแรก เป็นคนไทย 3 คน และคนจีน 1 คน รวมทั้งติดตามความคืบหน้าทางคดี ที่รับเป็นคดีพิเศษ

ทั้งนี้ ในวันนี้พนักงานสอบสวนได้เชิญนายวิระ เรืองศรี ผู้จัดการบริษัท 3117 บิม เมเนจเม้นท์ จำกัด มาให้ข้อมูลเรื่องโครงสร้างตึก สตง.ถล่ม และข้อสังเกตจุดวิบัติของตึก สตง.มาให้ข้อมูลเนื่องด้วยนายวิระ เป็นผู้เชี่ยวชาญเรื่องการควบคุมงานก่อสร้าง การออกแบบก่อสร้าง การให้คำปรึกษาการก่อสร้าง มีประสบการณ์เชี่ยวชาญด้านการสร้างแบบจำลองข้อมูลอาคารด้วยโปรแกรม BIM (Building Information Modeling) โดยนายวิระตั้งข้อสังเกตในส่วนที่พบเห็นจากวิดีโอตึก สตง. ถล่มลงวันที่ 28 มี.ค. ไม่ว่าจะเป็นเรื่องฐานราก เรื่องผนังปล่องลิฟต์ การแก้ไขผนังปล่องลิฟต์ วิเคราะห์สาเหตุว่าทำไมต้องมีการแก้ไขแบบ เนื่องด้วยเห็นความเชื่อมโยงของเสา 2 ต้น ของตัวอาคารที่มีการวิบัติพังจึงเชื่อได้ว่าเสา 2 ต้นนี้อาจเป็นจุดวิบัติของตัวอาคาร

หลังเข้าให้ข้อมูลดีเอสไอ นายวิระเผยว่า วันนี้ให้ข้อสังเกตกับดีเอสไอใน 3 ประเด็น คือ 1.เหตุของการแก้ไขสัญญา 9 ครั้ง 2.ประเด็นเชิงวิศวกรรม การตั้งข้อสังเกตของโครงสร้างอาคาร และ 3.ประเด็นที่มาของผู้ออกแบบ วิศวกร และผู้ควบคุมงาน การแก้ไขแบบสัญญาทั้ง 9 ครั้ง เน้นไปที่การแก้ไขแบบครั้งที่ 4 เพราะคือการแก้ไข Core Lift (การแก้ไขผนังปล่องลิฟต์) ผนังรับแรงเฉือน และส่วนควบอื่นๆทั้งหมด ทั้งการแก้ไข Core Wall ส่วนอาคาร A ชั้น B1-3 คือการแก้คานที่งานระบบเดิมไม่ผ่านจึงต้องแก้คานด้วย ดังนั้นการแก้ไขผนังปล่องลิฟต์มีตั้งแต่ชั้น 1 จนถึงหลังคา จริงๆแล้วสาระสำคัญสัญญาการแก้ไขแบบทั้ง 9 ครั้ง มีครั้งสำคัญอยู่ครั้งเดียวคือครั้งที่ 4 ที่เหลือไม่เกี่ยวกับการแก้ไขแบบเป็นสัญญาการแก้ไขงวดงาน แก้ไขขยายสัญญา แก้ไขแผนงาน เช่น ครั้งที่ 7 กับครั้งที่ 8 คือการแก้ไขสลับกิจกรรมในงวดงาน สามารถใช้ดูได้ว่าเอื้อให้ผู้รับเหมาสามารถเบิกงวดงานได้หรือไม่

นายวิระกล่าวยกตัวอย่างเช่น มีอยู่ 10 เรื่อง ผู้รับเหมาดำเนินการเสร็จ 5 เรื่อง แต่เลื่อนเอา 5 เรื่องออกไปก่อน แล้วให้ผู้รับเหมาที่ทำเสร็จ 5 เรื่องเบิกเงินไปก่อนหรือไม่ นอกจากนี้ยังตรวจสอบพบว่า สัญญาเริ่มเมื่อวันที่ 30 พ.ย.63 แต่พอผ่านไป 501 วัน มีการมาแก้ไขสัญญาครั้งที่ 1 เป็นการลดเสาเข็มบริเวณงานชั้นใต้ดิน ทั้งที่ผ่านไปแล้ว 500 วัน เป็นคำถามต่อว่าแล้วก่อนหน้านี้ทำอะไรกันอยู่ รวมถึงจ่ายเงินเดือนให้ผู้ควบคุมงานไปกี่เดือนแล้ว แต่ผู้รับเหมาเพิ่งมาทำงานตอกเสาเข็ม

นายวิระกล่าวต่ออีกว่า สำหรับกรณีที่กฎกระทรวงฯ ออกตาม พ.ร.บ.การควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ระบุว่า ทางเดินต้องมีระยะไม่น้อยกว่า 1.50 เมตร แต่มันแก้ 2 จุด คือ 2.10 เมตร กับ 1.50 เมตร ซึ่ง 1.50 เมตร ต้องขยายให้ได้ 1.60 เมตร เนื่องจากต้องเป็นผิวกระเบื้องข้างละ 5 ซม. จากเดิม 2.00 เมตร ขยายเป็น 2.10 เมตร เพราะมีฟินิชชิ่งอยู่หน้าห้องน้ำอีก 7-8 ซม. จึงได้เป็น 2.10 เมตร คำถามคือ 1.50 เมตร ขยายให้สอดคล้องกับกฎหมาย แล้ว 2.10 เมตรนี้ขยายเพื่ออะไรในเมื่อกฎหมายไม่ต้องการก็ไม่จำเป็นขยายก็ได้เพราะเป็นทางเดินอยู่หน้าห้องน้ำ แต่เมื่อไปดูแบบ พบว่าตรงนั้นคือลิฟต์ผู้บริหาร เป็นกระเบื้องหินแกรนิตที่มองแล้วหรู สงสัยว่าจะเพิ่มเป็น 2.10 เมตรทำไม

นายวิระยังตั้งข้อสังเกตอีกว่า ยังมีประเด็นเรื่องล็อกสเปกปล่องลิฟต์ ผู้ออกแบบทำให้ลดผนังปล่องลิฟต์ไม่ได้ทั้งที่มันลดได้ เพราะถ้าลดผนังปล่องลิฟต์ข้างละ 5 ซม.ก็ใส่ลิฟต์ได้อยู่แล้ว แต่ในครั้งแรกของการออกแบบ ผู้ออกแบบจะเลือกรุ่นลิฟต์ ขนาดลิฟต์ ยี่ห้อลิฟต์ไว้ใน TOR ที่ผู้รับจ้างเป็นผู้ซื้อลิฟต์ ต้องซื้อยี่ห้อนี้ รุ่นนี้ ขนาดปล่องเท่านี้ ต้องดูต่อว่าเป็นการล็อกสเปกลิฟต์หรือไม่ หรือลิฟต์มันแก้ไขอะไรไม่ได้ หรือเพราะสาเหตุใดแน่ที่ทำให้ลดไม่ได้

นายวิระกล่าวว่า สำหรับเรื่องการเซ็นชื่อรับรองในเอกสารการแก้ไขแบบให้ความเห็นว่า หากเป็นงานสถาปัตย์ ต้องมีวุฒิสถาปนิกเซ็นรับรอง แต่ถ้าเป็นงานโครงสร้างต้องเป็นวิศวกรผู้ควบคุมงาน เพราะเป็นไปตามข้อกำหนดของ สตง. ที่ระบุว่าแบบที่ผู้ออกแบบรับรองนั้นให้รับรองร่วมโดยผู้ออกแบบควบคุมงาน ฉะนั้น ถ้าผู้ออกแบบโอเค ทางกิจการร่วมค้า PKW ต้องหาวุฒิวิศวกรมาตรวจแบบซึ่งการเซ็นลงลายมือชื่อ คือ การตรวจว่าตรงกับที่ผู้ออกแบบต้องการหรือไม่ เพราะผู้ออกแบบคือคนตรวจรอบแรก แต่ก่อนที่จะส่งให้ผู้รับเหมาก่อสร้างก็ต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดเงื่อนไขของ สตง. ว่าแบบทุกครั้งก่อนจะส่งให้ผู้รับเหมา ต้องหาวุฒิมาตรวจแบบก่อน

นายวิระกล่าวต่อว่า ส่วนเรื่องวิศวกรรมโครงสร้างคือเรื่องฐานราก ทำไมด้านหลังตึก สตง.ทรุดจุดแรก มีการแก้ไขตัวฐานรากเพิ่มเติมจากแบบตามสัญญา เพราะมี 2 แบบ คือแบบตามสัญญา และแบบแก้ไข แต่ผู้รับเหมาก็ทำให้มันดีขึ้นทั้งที่ไม่ใช่หน้าที่ นอกจากนี้ แบบในการเสริมเหล็กผนังอาคาร 3 ชั้นลานจอดรถ สตง. (มีการใส่เหล็กทุกเสา ไม่มีแตก) และการเสริมเหล็กอาคาร 30 ชั้น (เหล็กเล็ก) มีความแตกต่างอาจเป็นผู้ออกแบบคนละคน ซึ่งเป็นคนละคนจริงๆแต่สามารถทำได้ เพราะคนละตึก อย่างไรก็ตาม มันคือความบกพร่องอย่างหนึ่งของอาคาร 30 ชั้น ต้องดูว่าเสริมเหล็กถูกต้องหรือไม่ ต้องไปดูที่การคำนวณ ส่วนที่ว่าทำไมอาคารมันเอียงไปอีกฝั่ง สไลด์ไปข้างหลังจะสอดคล้องกับปล่องลิฟต์มัดนั้นมันอ่อน อาคารเลยไม่เซหรือทรุดลงตรงๆ หากดูตามภาพในไซต์งาน จะมีเสา 5 ต้นของชั้น 19 เรียงในหลุมลิฟต์เป็นแถวเรียงปักทิ่มดิน นี่คือบทพิสูจน์ว่าอาคารสไลด์ไปข้างหลังทำให้เสาชุดนี้ขาด ขาดแล้วก็ไหลตรงๆเพราะปล่องลิฟต์โล่ง เสาจึงเรียงตามภาพ

ที่มา ไทยรัฐ

ผู้นำเสนอข่าว

yoko

Written by:

4,165 Posts

View All Posts
Follow Me :

You May Have Missed