นักวิจัย ในฟินแลนด์ เผยโอกาสที่กาแล็กซีแอนโดรเมดาจะชนทางช้างเผือกหรือไม่

นักวิจัย ในฟินแลนด์ เผยโอกาสที่กาแล็กซีแอนโดรเมดาจะชนทางช้างเผือกหรือไม่

นักดาราศาสตร์ค้นพบกาแล็กซีแอนโดรเมดา (M31) เมื่อหลายร้อยปีก่อน จนกระทั่งเมื่อราว 100 ปีที่แล้ว นักดาราศาสตร์ก็พบว่ากาแล็กซีแห่งนี้มีความเร็วเชิงรัศมีเป็นลบเมื่อเข้าใกล้กาแล็กซีทางช้างเผือก นั่นหมายความว่า ทั้ง 2 กาแล็กซีจะชนและรวมเข้าด้วยกันในอนาคต แต่ก็มีหลายคนสงสัยว่ากาแล็กซีทั้ง 2 จะชนกันจริงหรือ?

ล่าสุด นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยเฮลซิงกิ ในฟินแลนด์ เผยการวิเคราะห์หลายปัจจัยรวมถึงอิทธิพลของแรงโน้มถ่วงของกาแล็กซีอื่นๆ ในกลุ่มกาแล็กซีท้องถิ่นของเราที่ประกอบด้วยกาแล็กซีขนาดเล็กกว่าประมาณ 100 แห่ง ซึ่งมีทิศทาง ระยะทาง และความเร็วที่แตกต่างกัน โดยเฉพาะกาแล็กซี M33 อยู่ห่างออกไป 2.7 ล้านปีแสง เป็นที่อยู่ของดวงดาวมากกว่า 40,000 ล้านดวง พวกมันจะมีแรงดึงดูดของตัวเอง ซึ่งจะทำให้พลังการเคลื่อนที่ที่เรียบง่ายระหว่างแอนโดรเมดาและทางช้างเผือกบิดเบือนไป นอกจากนี้ยังมีกาแล็กซีเมฆแมกเจลแลนใหญ่ ที่เป็นบริวารของทางช้างเผือกอยู่ห่างกันเพียง 163,000 ปีแสง มีดาวฤกษ์อยู่ราว 20,000 ล้านดวง ที่ถึงแม้จะมีมวลน้อยกว่ากาแล็กซี M33 แต่เมฆแมกเจลแลนใหญ่ก็ยังมีแรงดึงดูดมหาศาลที่จะส่งผลต่อเส้นทางระหว่างแอนโดรเมดาและทางช้างเผือก

โดยผลการคำนวณพบว่ามีโอกาสเพียง 50% ที่ทางช้างเผือกจะรวมเข้ากับกาแล็กซีแอนโดรเมดาในอีก 10,000 ล้านปีข้างหน้า.

Credit : NASA; ESA; Z. Levay and R. van der Marel, STScI; T. Hallas; and A. Mellinger

ที่มา : ไทยรัฐออนไลน์
เว็บไซต์ : https://www.thairath.co.th/

ผู้นำเสนอข่าว

Hnoy

Written by:

3,490 Posts

View All Posts
Follow Me :

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *