ผลวิเคราะห์ตัวอย่างของดินดวงจันทร์ จากภารกิจอพอลโล

ผลวิเคราะห์ตัวอย่างของดินดวงจันทร์ จากภารกิจอพอลโล

นักบินอวกาศขององค์การนาซา สหรัฐอเมริกา เป็นคนกลุ่มแรกที่ไปเดินบนพื้นผิวดวงจันทร์ในช่วงทศวรรษที่ 1960–1970 ได้ค้นพบลักษณะเฉพาะของดวงจันทร์ที่ไม่เคยรู้จักมาก่อน นั่นคือมีชั้นบรรยากาศแม้ว่าจะค่อนข้างเปราะบางก็ตาม แต่ภารกิจอพอลโล ของนาซา ได้เก็บเอาตัวอย่างจากดวงจันทร์กลับมา

เมื่อเร็วๆนี้ นักวิทยาศาสตร์ด้านดาวเคราะห์จากสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเสตต์ ในสหรัฐอเมริกา เผยการวิเคราะห์ใหม่ พบว่ามีธาตุ 2 ชนิด ได้แก่ โปแตสเซียม และรูบิเดียม ปรากฏอยู่ในดินขนาดเล็ก 9 ตัวอย่างที่ได้จากภารกิจอพอลโล 5 ครั้ง นักวิทยาศาสตร์อธิบายว่าอุกกาบาตพุ่งชนทำให้อุณหภูมิสูงตั้งแต่ 2,000-6,000 องศาเซลเซียส อุณหภูมิที่รุนแรงเหล่านี้ทำให้หินบนพื้นผิวดวงจันทร์หลอมละลายและระเหยไป คล้ายกับความร้อนที่ทำให้ไอน้ำระเหยและปล่อยอะตอมออกสู่ชั้นบรรยากาศ นักวิทยาศาสตร์สรุปว่าชั้นบรรยากาศของดวงจันทร์ถูกสร้างขึ้นและดำรงอยู่ได้โดยหลัก มาจากการชนของอุกกาบาตทั้งขนาดใหญ่และขนาดเล็กที่พุ่งชนพื้นผิวดวงจันทร์

ทั้งนี้ ในปี 2556 นาซาได้ส่งยานอวกาศ Lunar Atmosphere and Dust Environment Explorer (LADEE) ที่เป็นยานหุ่นยนต์ไปโคจรรอบดวงจันทร์เพื่อศึกษาชั้นบรรยากาศและสภาพแวดล้อม นักวิทยาศาสตร์เผยว่าลมสุริยะพาอนุภาคที่มีประจุไฟฟ้าพลังงานสูง ส่วนใหญ่เป็นโปรตอน ผ่านอวกาศ เมื่ออนุภาคเหล่านี้พุ่งชนดวงจันทร์ อนุภาคก็จะถ่ายเทพลังงานไปยังอะตอมบนพื้นผิวดวงจันทร์ ทำให้อนุภาคเหล่านี้ถูกดีดออกจากพื้นผิว.

ที่มา : ไทยรัฐออนไลน์
เว็บไซต์ : https://www.thairath.co.th/

ผู้นำเสนอข่าว

Hnoy

Written by:

3,718 Posts

View All Posts
Follow Me :

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *