ทีมวิจัยนานาชาติพบอีเทนบนจานดาวเคราะห์รอบดาวฤกษ์อื่น

ทีมวิจัยนานาชาติพบอีเทนบนจานดาวเคราะห์รอบดาวฤกษ์อื่น

ดาวฤกษ์ที่มีขนาดเท่ากับดวงอาทิตย์ของเรา ไม่ได้พบได้บ่อยที่สุดในกาแล็กซีทางช้างเผือก เพราะดาวฤกษ์ที่มีขนาดเล็กกว่าดวงอาทิตย์พบได้บ่อยกว่ามาก และดาวฤกษ์เหล่านี้ก็มีบริวารเป็นดาวเคราะห์หินมากหลายดวง ซึ่งเป็นสนใจของนักวิทยาศาสตร์ เพราะดาวฤกษ์ที่มีน้ำหนักเบานั้นดูเหมือนว่าจะมีดาวเคราะห์คล้ายโลกก่อตัวในระบบนั้น มากกว่าก่อตัวในระบบที่มีดาวฤกษ์น้ำหนักมาก นักวิจัยใช้เครื่องมือ MIRI (Mid-Infrared Instrument) ในการสังเกตการณ์เหล่านี้

ล่าสุดทีมวิจัยนานาชาติ นำโดยนักฟิสิกส์ดาราศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยโกรนิงเงิน ในเนเธอร์แลนด์ เผยใช้เครื่องมือถ่ายภาพรังสีอินฟราเรดกลาง (Mid-Infrared Instrument-MIRI) บนกล้องโทรทรรศน์อวกาศเจมส์ เวบบ์ ขององค์การนาซา สหรัฐอเมริกา องค์การอวกาศยุโรป และองค์การอวกาศแคนาดาค้นพบไฮโดรคาร์บอน 13 ชนิดในจานฝุ่นของดาวเคราะห์ ที่ก่อตัวรอบดาวฤกษ์เพิ่งเกิดใหม่ที่ชื่อ ISO-Chai 147 ดาวฤกษ์ดวงนี้มีน้ำหนักเบากว่าดวงอาทิตย์ของเราถึง 9 เท่า อยู่ห่างจากโลกประมาณ 625 ปีแสง (ปีแสงคือระยะทางที่แสงเดินทางใน 1 ปี ซึ่งเท่ากับ 9.5 ล้านล้านกิโลเมตร) ในกลุ่มดาวกิ้งก่าคะมีเลียน

การสังเกตการณ์ของเวบบ์ระบุว่าโมเลกุลไฮโดรคาร์บอนที่ใหญ่ที่สุดที่พบคือเบนซีน (C6H6) แต่ที่แปลกที่สุดคือการพบอีเทน (C2H6) ซึ่งเป็นครั้งแรกที่มีการตรวจพบอีเทนนอกระบบสุริยะของเรา ทีมวิจัยเผยว่า ISO-Chai 147 ซึ่งยังอยู่ในช่วงเริ่มต้น อาจกลายเป็นดาวฤกษ์ที่มีมวลน้อยมากชนิดหนึ่งในที่สุด เรียกว่าดาวแคระแดง เส้นผ่าศูนย์กลางของดาวฤกษ์ดวงนี้ใหญ่กว่าเส้นผ่าศูนย์กลางของดาวพฤหัสบดีงประมาณ 4 เท่า ขณะที่เส้นผ่าศูนย์กลางของดวงอาทิตย์ใหญ่กว่าเส้นผ่าศูนย์กลางของดาวพฤหัสบดีประมาณ 10 เท่า.

ที่มา : ไทยรัฐออนไลน์
เว็บไซต์ : https://www.thairath.co.th/

ผู้นำเสนอข่าว

Hnoy

Written by:

3,894 Posts

View All Posts
Follow Me :

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

You May Have Missed