ผาสาดลอยเคราะห์
ตัวอย่าง การสร้างสัมพันธภาพในครอบครัว ผ่านกิจกรรมวัฒนธรรมท้องถิ่น ศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชนเทศบาลตำบลเชียงคาน อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย ใช้กิจกรรมผาสาดลอยเคราะห์ ช่วยเสริมสร้างสัมพันธภาพ และสร้างกำลังใจให้กับคนในชุมชน
เป้าหมาย เพื่อให้ครอบครัวได้ใช้เวลาร่วมกันอย่างมีคุณภาพ เสริมสร้างความสัมพันธ์ของสมาชิกในครอบครัวมีสัมพันธภาพที่ดี และสามารถพึ่งตนเองได้ และการมีส่วนร่วมในการดูแลเด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุ และสมาชิกทุกคนในครอบครัว
กิจกรรมผาสาดลอยเคราะห์ จึงถือเป็นนวัตกรรมชับเคลื่อนงานครอบครัวอบอุ่นในระดับพื้นที่ ดำเนินงานโดยสมาคมครอบครัวศึกษาแห่งประเทศไทย ภายใต้โครงการพัฒนานวัตกรรมการขับเคลื่อนงานครอบครัวอบอุ่นในระดับพื้นที่ ตรงนี้สามารถตอบโจทย์เรื่องบทบาท หน้าที่การพัฒนานวัตกรรมการชับเคลื่อนงาน
ครอบครัวอบอุ่นในระดับพื้นที่เป็นเครื่องมือหนึ่งในการหนุนเสริมการทำงานให้เกิดผลสัมฤทธิ์ สร้างกระบวนการจัดการความรู้ อย่างมีประสิทธิภาพ นวัตกรรมที่เป็นเครื่องมือและวิธีการ ในสร้างครอบครัวอบอุ่นในระดับพื้นที่
ผาสาดลอยเคราะห์ พิธีกรรมโบราณชาวเชียงคาน ปล่อยทุกข์-ลอยโศก พิธีกรรมโบราณที่มีเอกลักษณ์โดดเด่นของชาวเมืองเลย โดยใช้วัตถุดิบหลักที่มีในท้องถิ่น ได้แก่ ต้นกล้วย ใบกล้วย มะละกอ ไม้ไผ่ เทียน ผึ้งแผ่น ทุกวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 ทุกปี กลุ่มบ้านต้นหล้าและชุมชน เข้าร่วมจัดงาน พิธีกรรมผาสาดลอยเคราะห์ เพื่อร่วมกันอนุรักษ์วัฒนธรรมและสืบสานถ่ายทอดภูมิปัญญามรดกทางวัฒนธรรมของชุมชนอย่างเข็มแข็ง
วัฒนธรรม คุณค่าสู่มูลค่า ภูมิปัญญาสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์จากมรดกศิลปวัฒนธรรม ทุนทางวัฒนธรรม คือ มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ ทุนทางวัฒนธรรม ทำให้เกิดมูลค่าเพิ่มสูงขึ้น เนื่องจาก วัฒนธรรมเป็นต้นน้ำของห่วงโซ่คุณค่า (Vaiue Chain) ในอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ โดยเราสามารถนำทุนวัฒนธรรม เช่น เรื่องราว (Story) และเนื้อหา (Content) ของวัฒนธรรม มาสร้างความโดดเด่นให้กับผลิตภัณฑ์ของตน หรือใช้ทุนทางวัฒนธรรมสร้างความแตกต่างหรือจุดขายให้กับสินค้า เกิดเป็นสินค้าวัฒนธรรมและทำให้เกิดมูลค่าเพิ่มขึ้นแก่สินค้าและบริการ เศรษฐกิจสร้างสรรค์ (Creative Economy)คือ “การสร้างมูลค่าที่เกิดจากความคิดของมนุษย์’ เป็นแนวคิดการขับเคลื่อนเศรษฐกิจบนพื้นฐานของการใช้องค์ความรู้ (Knowledge) การศึกษา (Education) การสร้างสรรค์งาน (Creaiviy) และการใช้ทรัพย์สินทางปัญญา (Intellectial properry) ที่เชื่อมโยงกับรากฐานทางวัฒนธรรม เมื่อผสานกับความรู้เทคโนโลยีและนวัตกรรมสมัยใหม่ การเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจจากแหล่งมรดกศิลปวัฒนธรรมพัฒนาสร้างสรรค์และต่อยอดทุนทางวัฒนธรรม เพื่อ เพิ่มรายได้ อนุรักษ์และฟื้นฟูอัดลักษณ์และวิถีชีวิต วัฒนธรรมดั้งเดิมให้เข้มแข็งและดำรงอยู่อย่างยั่งยืนสืบไป วัฒนธรรมเป็นยุทธศาสตร์สร้างมูลค่า สร้างเศรษฐกิจทุนทางวัฒนธรรม คือ แกนกลางของเศรษฐกิจสร้างสรรค์ การขับเคลื่อนความมั่งคั่ง ผ่าน “สินค้าทางวัฒนธรรม”
ขอขอบคุณ : นายสุริยัน แก้วกัญญา วิสาหกิจชุมชนบ้านต้นหล้าเชียงคานชุมชนวัดป่าใต้