จังหวัดลำพูน พร้อมขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการทุจริตและประพฤติมิชอบระดับจังหวัด ในปีงบประมาณ 2567

จังหวัดลำพูน พร้อมขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการทุจริตและประพฤติมิชอบระดับจังหวัด ในปีงบประมาณ 2567

จังหวัดลำพูน พร้อมขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการทุจริตและประพฤติมิชอบระดับจังหวัด ในปีงบประมาณ 2567 โดยเฉพาะการขับเคลื่อนหลักสูตรด้านทุจริตศึกษา ใน 5 หลักสูตร

วันนี้ (23 พ.ย. 2566) นายสันติธร ยิ้มละมัย ผู้ว่าราชการจังหวัดลำพูน เป็นประธานประชุมคณะกรรมการผลักดันการดำเนินงานตามแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ประเด็น การต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบ จังหวัดลำพูน ครั้งที่ 4/2566 ณ ห้องประชุมหริภุญชัย ชั้น 4 ศูนย์ราชการจังหวัดลำพูน โดยมีคณะกรรมการฝ่ายต่างๆ เข้าร่วม

ที่ประชุมมีการรายงานผลการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการขับเคลื่อนระดับจังหวัดลำพูน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 เช่นด้าน จำนวนคดีทุจริตในปี 2566 ของจังหวัดลำพูนลดลงจากปีที่ผ่านมาจากจำนวน 24 เรื่อง เหลือ 18 เรื่อง ลดลงคิดเป็นร้อยละ 25 ด้านการเรียนการสอนเริ่มมีการนำหลักสูตรต้านการทุจริตมาปรับใช้ในการเรียนการสอน โดยเฉพาะในปีงบ ประมาณ พ.ศ. 2567 ได้มีแนวทางการขับเคลื่อนหลักสูตรด้านทุจริตศึกษา ปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 คือ สำนักงาน ป.ป.ช. ได้จัดทำหลักสูตรต้านทุจริตศึกษา (Anti-Corruption Education) หรือชุดการเรียนรู้และสื่อประกอบการเรียนรู้ ต้านการป้องกันการทุจริต สำหรับใช้เป็นเนื้อหามาตรฐานศึกษา หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำไปพิจารณาปรับใช้ในการเรียนการสอนให้กับกลุ่มเป้าหมายครอบคลุมทุกระดับชั้นเรียน เพื่อปลูกฝังจิตสำนึกในการแยก แยะประโยชน์ส่วนตนและประโยชน์ส่วนรวม จิตพอเพียง และสร้างพฤติกรรมที่ไม่ยอมรับและไม่ทนต่อการทุจริต

และคณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบหลักสูตรต้านทุจริตศึกษา เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2566 ตามที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. เสนอ ประกอบด้วย 5 หลักสูตร ได้แก่ 1) หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน (รายวิชาเพิ่มเติม การป้องกันการทุจริต) 2) หลักสูตรอุดมศึกษา (วัยใส ใจสะอาด “Youngster with Good Heart”) 3) หลักสูตรกลุ่มทหารและตำรวจ (ตามแนวทางรับราชการกลุ่มทหารและตำรวจ) 4) หลักสูตรวิทยากร ป.ป.ช./บุคลากรภาครัฐและรัฐวิสาหกิจ (สร้างวิทยากรผู้นำการเปลี่ยนแปลงสู่สังคมที่ไม่ทนต่อการทุจริต) และ 5) หลักสูตรโค้ช (โค้ซเพื่อการรู้คิดต้านทุจริต) โดยให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำหลักสูตรไปใช้ และรายงานผลการนำไปใช้ให้สำนักงาน ป.ป.ช. ทราบ

ทั้งนี้ ได้กำหนดแนวทางการนำหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานไปใช้ในสถาบันการศึกษา 6 แนวทาง ได้แก่ 1) จัดเป็นรายวิชาเพิ่มเติม 2) บูรณาการกับการจัดการเรียนการสอนในกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม 3) นำไปสอดแทรกและบูรณาการในรายวิชาพื้นฐาน 4) บูรณาการกับการจัดการเรียนการสอนในกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่น ๆ 5) บูรณาการกับวิถีชีวิตในโรงเรียน และ 6) จัดในกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน

นอกจากนี้ คณะรัฐมนตรีได้มีมติ เมื่อวันที่ 18 สิงหาคม 2563 เห็นชอบตามข้อเสนอของ สำนักงาน ป.ป.ช. โดยให้สถานศึกษาของหน่วยงานในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ สถานศึกษาในสังกัดกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น และหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง พิจารณานำหลักสูตรต้านทุจริตศึกษา (หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน) ไปปรับใช้ โดยเห็นควรใช้รูปแบบเปิดรายวิชาเพิ่มเติม (จัดการเรียนการสอน 40 ชั่วโมง/ปีการศึกษา) ซึ่งสำนักงาน ป.ป.ช. ได้กำหนดเป้าหมายการเปิดรายวิชาเพิ่มเติม โดยในปี พ.ศ. 2567 กำหนดให้สถานศึกษาเปิดรายวิชาเพิ่มเติม ร้อยละ 50 ของสถานศึกษาสังกัดสานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) พื้นที่ เพื่อให้สอดคล้องกับเป้าหมายตัวชี้วัดของแผนแม่บทภายใด้ยุทธศาสตร์ชาติ ประเด็นการทุจริตและประพฤติมิชอบ (พ.ศ. 2561 – 2580) แผนย่อยการป้องกันการทุจริตและประพฤติมิชอบ ตัวชี้วัด : ร้อยละของเด็กและเยาวชนไทยมีพฤติกรรมที่ยึดมั่นความซื่อสัตย์สุจริต

ซึ่งเรื่องดังกล่าว ผู้ว่าราชการจังหวัดลำพูน กล่าวว่า ให้ขับเคลื่อนให้สำเร็จเพราะถือเป็นเรื่องสำคัญ ส่วนแผนปฏิบัติการขับเคลื่อนระดับจังหวัด ประจำปีงบประมาณ 2567 ภายใต้การดำเนินงานของคณะกรรมการผลักดันการดำเนินงาน ประเด็นการทุจริตและประพฤติมิชอบ ให้ดำเนินการให้สอดคล้องกับแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ เพื่อนำไปสู่แผนปฏิบัติการในการขับเคลื่อนระดับจังหวัดเพื่อให้บรรลุผลต่อไป

ที่มา:ข่าวความมั่นคงออนไลน์

ผู้นำเสนอข่าว

ยัยแม่มด

Written by:

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

You May Have Missed