จังหวัดลำพูน มุ่งขับเคลื่อนเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศพื้นที่ตำบลบ้านกลาง อำเภอเมือง และเตรียมความพร้อมการตรวจประเมินเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศในพื้นที่

จังหวัดลำพูน มุ่งขับเคลื่อนเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศพื้นที่ตำบลบ้านกลาง อำเภอเมือง และเตรียมความพร้อมการตรวจประเมินเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศในพื้นที่

จังหวัดลำพูน มุ่งขับเคลื่อนเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศพื้นที่ตำบลบ้านกลาง อำเภอเมือง และเตรียมความพร้อมการตรวจประเมินเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศในพื้นที่

วันที่ 5 กันยายน 2566 เวลา 09.00 น. ที่ห้องประชุมหริภุญชัย ชั้น 4 ศาลากลางจังหวัดลำพูน นายสันติธร ยิ้มละมัย ผู้ว่าราชการจังหวัดลำพูน มอบหมายให้ นายชาตรี กิตติธนดิตถ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดลำพูน เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ จังหวัดลำพูน ประจำปีงบประมาณ 2566 ครั้งที่ 1/2566 โดยมี นางจันทนา ไวยาวัจมัย อุตสาหกรรมจังหวัดลำพูน คณะกรรมการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ จังหวัดลำพูน หัวหน้าส่วนราชการ เจ้าหน้าที่ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วม

อุตสาหกรรมจังหวัดลำพูน กล่าวว่า คณะกรรมการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศจังหวัดลำพูนที่ได้รับการแต่งตั้งตามคำสั่งจังหวัดลำพูน และมีหน้าที่ในการขับเคลื่อนการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและบรรลุตามเป้าหมายของการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ จังหวัดลำพูน

สำหรับการประชุมในวันนี้ สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัด ได้จัดประชุมคณะกรรมการฯ ดังกล่าว เพื่อขับเคลื่อนเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศและเตรียมความพร้อมในการรับการตรวจประเมินเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ พื้นที่ตำบลบ้านกลาง อำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน ตามเกณฑ์ข้อกำหนดการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศรับทราบ ประกอบด้วย

  • ระดับที่1 การมีส่วนร่วม (Engagement)
  • ระดับที่2 Encourage (การส่งเสริม) การส่งเสริมการใช้ประโยชน์พื้นที่ให้รองรับต่อแผนการพัฒนาที่ร่วมกำหนดไว้ โรงงานอุตสาหกรรมและประชาชนในพื้นที่สร้างความร่วมมือในการพัฒนาพื้นที่ของตนเอง
  • ระดับที่3 Resource Efficiency (ประสิทธิภาพในการใช้ทรัพยากร) โรงงานอุตสาหกรรม เพิ่มประสิทธิภาพการใช้ทรัพยากรและพลังงานให้คุ้มค่า จัดการสิ่งแวดล้อมที่ดี ลดและป้องกันมลพิษ เกิดความเชื่อมั่น ความไว้วางใจให้กับชุมชน
  • ระดับที่4 Symbiosis (การพึ่งพาอาศัย) โรงงานอุตสาหกรรมมีการพึ่งพาอาศัยกัน รวมทั้งภาคอุตสาหกรรมไปส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชนเพื่อสร้างงาน สร้างอาชีพ เพิ่มรายได้ให้กับประชาชนในพื้นที่ และ
  • ระดับที่ 5 Happiness (เมืองน่าอยู่ คู่อุตสาหกรรม) เมืองต้นแบบมีเศรษฐกิจดี สิ่งแวดล้อมดี สังคมดีมีความปลอดภัยและคุณภาพชีวิตที่ดี ประชาชนมีความสุขและอยู่ร่วมกับอุตสาหกรรมได้อย่างยั่งยืน

โดยได้เชิญ นายพงศ์นคร ยางงาม ผู้อำนวยการกลุ่มตรวจสอบและประเมินผลการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ กระทรวงอุตสาหกรรมมาชี้แจงข้อกำหนดเกณฑ์การประเมินให้คณะกรรมการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ จังหวัดลำพูน รับทราบ

ทั้งนี้ ทางเทศบาลตำบลบ้านกลางซึ่งเป็นพื้นที่เป้าหมายยังได้รายงานความพร้อมในการขับเคลื่อนเป็นเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศจังหวัดลำพูน ครอบคลุมความพร้อมหลายด้านที่สอดรับกับยุทธศาสตร์จังหวัดเด่น ๆ คือ การพัฒนาคลองแม่ยาก ซึ่งเป็นคลองชัยมงคลของตำบลบ้านกลางหากพัฒนาสำเร็จเสร็จสิ้นจะมีลักษณะเหมือนคลองแม่ข่าที่สะพานระแกง อ.เมือง จ.เชียงใหม่ จะเป็นแหล่งท่องเที่ยวแห่งใหม่ของจังหวัดลำพูน

โดยที่ประชุมมีมติเสนอให้ จังหวัดลำพูน เข้ารับการประเมินตามข้อกำหนดเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ ฉบับปรับปรุง ปี 2565 ในระดับที่ 5 Happiness (เมืองน่าอยู่ คู่อุตสาหกรรม) เมืองต้นแบบมีเศรษฐกิจดี สิ่งแวดล้อมดี สังคมดีมีความปลอดภัยและคุณภาพชีวิตที่ดี ประชาชนมีความสุขและอยู่ร่วมกับอุตสาหกรรมได้อย่างยั่งยืน

ที่มา:ข่าวความมั่นคงออนไลน์

ผู้นำเสนอข่าว

yoko

Written by:

3,736 Posts

View All Posts
Follow Me :

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *