ส่วนราชการ ร่วมสร้างฝายชะลอน้ำตามนโยบาย “1 กระทรวง 1 ฝาย” ป้องภัยแล้ง-รักษาระบบนิเวศน์ชุมชน

ส่วนราชการ ร่วมสร้างฝายชะลอน้ำตามนโยบาย “1 กระทรวง 1 ฝาย” ป้องภัยแล้ง-รักษาระบบนิเวศน์ชุมชน

ชุมพร – ส่วนราชการ ร่วมสร้างฝายชะลอน้ำตามนโยบาย “1 กระทรวง 1 ฝาย” ป้องภัยแล้ง-รักษาระบบนิเวศน์ชุมชน

วันนี้ (29 ส.ค. 66) ณ แพรกห้วยช้างแหก ม. 4 ต.วังใหม่ อ.เมือง จ.ชุมพร นายวิสาห์ พูลศิริรัตน์ ผวจ.ชุมพร พร้อมด้วย นายสมพร ปัจฉิมเพ็ชร รอง ผวจ.ชุมพร ร่วมกับหัวหน้าส่วนราชการ ทหาร องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน จิตอาสาพระราชทานตลอดจนประชาชนในพื้นที่ร่วมพลังสรรพกำลังสร้างฝายชะลอน้ำ ตามนโยบาย “1 กระทรวง 1 ฝาย” เพื่อให้เป็นแหล่งกักเก็บน้ำชุมชน เพื่ออนุรักษ์แหล่งน้ำ และช่วยลดความแรงน้ำในช่วงน้ำหลาก และจะทำให้เกิดความชุ่มชื่น อันจะส่งผลให้ป่ามีความอุดมสมบูรณ์ รวมทั้งปัญหาการขาดแคลนน้ำในฤดูแล้ง

สำหรับนโยบาย “1 กระทรวง 1 ฝาย” มีวัตถุประสงค์เพื่อเตรียมพร้อมในการป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยแล้ง ตลอดจนเป็นการบริหารจัดการแหล่งน้ำที่สำคัญของชุมชนในพื้นที่ โดยจะเป็นการบูรณาการร่วมกันระหว่าง หน่วยงานภาครัฐ-จิตอาสาและประชาชนในพื้นที่ เพื่อรักษาแหล่งน้ำ รักษาความชุ่มชื้นในดินและช่วยลดความแรงของน้ำในฤดูฝน

สำหรับการก่อสร้างฝาย ก็เพื่อกั้นเก็บน้ำขนาดเล็กบริเวณต้นน้ำ ที่มีความลาดชัน เพื่อชะลอการไหลของน้ำให้ช้าลงและยังสามารถเก็บตะกอน ช่วยเพิ่มความหลากหลายทางชีวภาพ ทั้งยังเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำนานาชนิด และยังสามารถใช้เป็นแหล่งน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค โดยใช้วัสดุ เช่น ท่อซีเมนต์ หิน และกระสอบทราย วางกั้นลำน้ำ ทำให้สามารถบรรเทาภาวะความแห้งแล้ง และใช้ประโยชน์เพื่อการดำรงชีวิตของชุมชนในแต่ละพื้นที่

นายคณิต กายสอน อุตสาหกรรมจังหวัดชุมพร กล่าวว่า นโยบาย “1 กระทรวง 1 ฝาย” เพื่อกักเก็บน้ำไว้ใช้ในฤดูแล้ง และชะลอน้ำในช่วงฤดูฝน เพื่อป้องกันอุทกภัยจากน้ำหลากท่วมในพื้นที่ลุ่มต่ำ ทั้งยังช่วยสร้างความชุ่มชื่นให้กับพื้นที่ อันจะส่งผลดีต่อระบบเกษตรและรักษาระบบนิเวศ ทั้งยังเป็นจุดให้บริการน้ำแก่ประชาชนในช่วงฤดูแล้ง โดยให้กระทรวงอุตสาห กรรม หรือเรียกว่า “MIND” คือความรับผิดชอบทำฝายในวันนี้ ณ แพรกห้วยช้างแหก ม. 4 ต.วังใหม่ อ.เมือง จ.ชุมพร

ทั้งนี้ นโยบาย “1 กระทรวง 1 ฝาย” เราได้คำนึงถึงความสำเร็จ 4 มิติ ได้แก่ 1.ความสำเร็จทางธุรกิจ ,2.การดูแลสังคมโดยรอบ ,3.การดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมที่ตอบโจทย์ของไทยและประชาคมโลก, และ 4. การกระจายรายได้ให้กับประชาชนและมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นตามกรอบแนวคิด “อุตสาหกรรมดี อยู่คู่ชุมชนอย่างยั่งยืน” ตลอดจนช่วยให้ประชาชนมีน้ำใช้ช่วงฤดูแล้ง รักษาระบบนิเวศน์ และเป็นแหล่งกักเก็บน้ำของชุมชนอีกทางหนึ่ง

ที่มา:ข่าวความมั่นคงออนไลน์

ผู้นำเสนอข่าว

ยัยแม่มด

Written by:

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *