ปีชงต้องรู้! แจก 5 สถานที่แก้ชง ปี 2566 เสริมสิริมงคล สะเดาะเคราะห์

ปีชงต้องรู้! แจก 5 สถานที่แก้ชง ปี 2566 เสริมสิริมงคล สะเดาะเคราะห์

วิธีแก้ปีชง แจก 5 สถานที่แก้ชง รับปีเถาะ 2566 เสริมสิริมงคล สะเดาะเคราะห์ ชีวิตราบรื่น เดินทางง่ายรอบกรุงเทพฯ

ในปีใหม่แต่ละปีนอกจากความสุขที่จะได้เริ่มต้นปีใหม่ ๆ อะไรใหม่ ๆ ละทิ้งความหวังและอะไรเดิม ๆ แต่ยังมีข้อควรระวังเกี่ยวกับปีชงที่ถือเป็นความเชื่อทางโหราศาสตร์ของจีน ซึ่งในปี 2566 นี้ตรงกับปีระกา ส่วนปีชงร่วม คือ ปีเถาะ , ปีชวด , ปีมะเมีย ซึ่งหลาย ๆ คนที่เชื่อเรื่องดวงและความสิริมงคลจะมองหาสถานที่แก้ชงและไหว้องค์เทพไท้ส่วย หรือที่รู้จักกันดีในนามทพเจ้าผู้คุ้มครองดวงชะตากันยกใหญ่

ข่าวสด ได้รวบรวม 5 สถานที่แก้ชงที่เดินทางสะดวก มีรถเมล์ผ่านหลายสาย แถมบางสถานที่ยังมีรถไฟใต้ดินผ่านอีกด้วย จะมีสถานที่ไหนบ้างที่น่าไหว้พระเสริมดวง ไปดูกันเลย

1. วัดมังกรกมลาวาส หรือหลาย ๆ คนรู้จักกันว่า วัดเล่งเน่ยยี่ เป็นวัดจีนเก่าแก่ชื่อดังย่านเยาวราช ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2414 และสร้างขึ้นในรัชกาลที่ 5 ซึ่งที่เป็นสถานที่ยอดนิยมในการขอพรและแก้ชง โดยนำชุดไหว้เจ้าไปไหว้ เทพเจ้าไท้ส่วย หรือ เทพเจ้าแห่งดวงชะตา (กระถางธูปจุดที่ 6) พร้อมอฐิษฐานขอบารมีคุ้มครอง
เวลาเปิด-ปิด : 08.00 – 16.00 น.

ที่ตั้ง: 423 ถนนเจริญกรุง แขวงป้อมปราบศัตรูพ่าย เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร 10100
สายรถเมล์ที่ผ่าน : 21, 40 (ปอ.) (AC), 507 (ปอ.) (AC), 7 (ปอ.) (AC), 85 รวมถึง รถไฟฟ้าใต้ดิน : MRT สายสีน้ำเงิน สถานีวัดมังกร ทางออก 3
พิกัด: https://goo.gl/maps/maaokEsSMZeVtgzM6
ติดต่อ : วัดมังกรกมลาวาส 龍蓮寺

2. วัดทิพยวารีวิหาร หรือวัดกัมโล่วยี่ เป็นวัดจีนเก่าแก่ที่สร้างด้วยสถาปัตยกรรมจีนอย่างงดงาม ตั้งแต่ในสมัยกรุงธนบุรีพ.ศ. 2319 โดยมีหมออูโต๋ว, องค์ไท้อิม, องค์ซำกวงหรือเทพ 3 ตา, เทพขุนพลเอี่ยยิ่ม, พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร, และ เทพมังกรเขียว หรือแชเล่งเอี๊ย ที่หลาย ๆ คนนิยมไหว้ขอพรเพื่อเสริมดวงชะตา
เวลาเปิด-ปิด : 06.00 – 17.00 น.

ที่ตั้ง: 119 ซอยทิพยวารี ถนนตรีเพชร แขวงวังบูรพาภิรมย์ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200
สายรถเมล์ที่ผ่าน : 3, 3 (ปอ.), 33, 42, 43, 48, 529, 60 (ปอ.) รวมถึง MRT สายสถานีสนามไชย หรือ สถานีสามยอด
พิกัด: https://goo.gl/maps/qfkddDLVUNGxYei18
ติดต่อ https://www.facebook.com/WatDibayaVariVihara/

3. วัดกัลยาณมิตรวรมหาวิหาร เป็นพระอารามหลวงสร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 3 โดยเจ้าพระยานิกรบดินทร (โต) ในปี พ.ศ. 2368 ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ฝั่งธนบุรี บริเวณปากคลองบางกอกใหญ่ฝั่งใต้ ภายในวัดมีพระวิหารหลวง และพระประธานองค์สำคัญ นั่นคือ หลวงพ่อโต หรือพระพุทธไตรรัตนนายก หรือที่คนจีนเรียกว่า ซำปอกง

เปิดให้เข้าชม : 08.00-16.00 น.
ที่ตั้ง: ซอยอรุณอมรินทร์ 6 ถนนอรุณอมรินทร์ เเขวงวัดกัลยาณ์ เขตธนบุรี กรุงเทพฯ
สายรถเมล์ที่ผ่าน : 40 , 57 , 710, 7ก, 8, 82, 85, 149 และ 177 รวมถึงรถไฟฟ้าใต้ดิน : MRT สายสีน้ำเงิน สถานีอิสรภาพ ทางออกที่ 1
พิกัด : https://goo.gl/maps/2FQvpPyXdhMKfzBu7
ติดต่อ : https://www.facebook.com/WatKanlayanamitra

4.วัดโพธิ์แมนคุณาราม หรือที่เรียกว่า วัดโพวมิ้งปออึงยี่ (普門報恩寺) เป็นวัดพุทธฝ่ายมหายาน สังกัดคณะสงฆ์จีนนิกายแห่งประเทศไทย สร้างตามหลักฮวงจุ้ยขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2502 โดย สืบทอดหลักธรรมคำสอนมาจากนิกายเซน สาขาหลินฉี พร้อมเป็นศูนย์กลางหลักธรรมคำสอนของนิกายวินัยและนิกายมนตรายานของวัชรยาน ทิเบต โดยนิยมไปขอพรองค์เทพไท้ส่วยเอี้ยและพระพุทธวัชรโพธิคุณ
เวลาเปิด-ปิด : 07.00 – 19.00 น.

ที่ตั้ง: 119 ซอยทิพยวารี ถนนตรีเพชร แขวงวังบูรพาภิรมย์ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200
รถเมล์: สาย 519, 102, 62, 67, 77, 180, 22
พิกัด:https://goo.gl/maps/4AHz4qRdQB68FJvW7
ติดต่อ https://www.facebook.com/bhomantemple/

5.ศาลเจ้าพ่อเสือ หรือที่เรียกว่า ศาลตั่วเหล่าเอี้ย (เทพเจ้าใหญ่) สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 3 โดยกรมหมื่นอุดมรัตนราษี เป็นศาลเจ้าจีนสายลัทธิเต๋าที่ผู้คนนิยมเดินทางไปขอพร เสริมดวงชะตา-อำนาจบารมี และแก้ชงเพื่อความสิริมงคลกันอย่างเนืองแน่นอยู่ตลอด โดยมีเทพเจ้าประจำศาลเจ้า คือ เหี่ยงเที่ยงเสี่ยงตี่หรือเจ้าพ่อเสือ, เอี่ยนเถี้ยนส่งเต่, องค์เห้งเจีย, เจ้าพ่อกวนอู และเจ้าแม่ทับทิม ที่สำคัญ มีพิธีปัดตัวสะเดาะเคราะห์โดยใช้ ธูป 18 ดอก และเทียนแดงคู่

เวลาเปิด-ปิด : 08.00 – 17.00 น.
ที่ตั้ง: ศาลเจ้าพ่อเสือ (ตลาดสมเด็จ) 468 ถนนตะนาว ตรอกสะพานยาว แขวงสมเด็จเจ้าพระยา เขตคลองสาน กรุงเทพมหานคร 10600
สายรถเมล์ที่ผ่าน : สาย 10, 12, 19, 35, 42 และ ปอ.12 รวมถึง MRT สายสีน้ำเงิน สถานีสามยอด ทางออก 3
พิกัด: https://goo.gl/maps/4ydXEdzFpyAzztn69
ติดต่อ https://www.facebook.com/bkktigershrine/?ref=page_internal

ผู้นำเสนอข่าว

Lemon

Written by:

720 Posts

View All Posts
Follow Me :

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *