สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจในพื้นที่จังหวัดนราธิวาส

สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจในพื้นที่จังหวัดนราธิวาส

สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจในพื้นที่จังหวัดนราธิวาส

 วันนี้ (25 พ.ค.66)เวลา  10.52 น. สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินไปทรงติดตามการดำเนินงานโครงการหมู่บ้านปศุสัตว์-เกษตรมูโนะ หมู่ 4 ตำบลโฆษิต อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส โดยมี พลอากาศเอก ชลิต พุกผาสุก องคมนตรี เลขาธิการ กปร พลเรือตรี สมเกียรติ ผลประยูร เลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ นายสนั่น พงษ์อักษร ผู้ว่าราชการจังหวัดนราธิวาส  นายไพโรจน์ จริตงาม นายทศพล สวัสดิสุข รองผู้ว่าราชการจังหวัดนราธิวาส  และผู้เกี่ยวข้องร่วมรับเสด็จฯ

สำหรับโครงการหมู่บ้านปศุสัตว์-เกษตรมูโนะ หมู่ 4 ตำบลโฆษิต อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส ซึ่งเป็นศูนย์สาขาที่ 3 ของศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เพื่อจัดสรรที่ดินทำกินให้แก่เกษตรกร และเพื่อดำเนินการสาธิตการใช้ประโยชน์และพัฒนาพื้นที่ดินเปรี้ยวจัด และเพื่อให้เป็นหมู่บ้านตัวอย่างในการพัฒนาอาชีพด้านการปศุสัตว์ ปัจจุบัน ดำเนินงานตามพระราชปณิธานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในการสืบสาน รักษา ต่อยอด เพื่อประโยชน์สูงสุดต่อประชาชน โดยมี สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ หรือ สำนักงาน กปร. ให้การสนับสนุนและประสานการดำเนินงานให้เป็นไปตามแนวแผนแม่บทของศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ ด้านปศุสัตว์และการเกษตร ในลักษณะการสาธิตและขยายผลไปยังเกษตรกรในพื้นที่โครงการฯ และพื้นที่โดยรอบ เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต และความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น

ด้วยสภาพพื้นที่ในโครงการฯ ส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่มน้ำท่วมขัง ดินมีสภาพเป็นกรดจัด และมีอินทรีย์วัตถุมาก ชุดดินที่พบในพื้นที่ประกอบด้วยชุดดินเชียรใหญ่ และชุดดินกาบแดง /ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองฯ จึงได้ดำเนินการปรับสภาพพื้นที่โดยการขุดคู-ยกร่อง และปรับสภาพดินให้มีความเหมาะสมในการปลูกพืช  ด้วยปูน , ปุ๋ยหมัก และน้ำหมักชีวภาพ เพื่อเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดิน /ควบคู่ไปกับการถ่ายทอดองค์ความรู้ในการบริหารจัดการพื้นที่ดินเปรี้ยวจัด ให้สามารถใช้ประโยชน์ทำการเกษตรได้

 ทั้งนี้ กรมชลประทาน ดำเนินการก่อสร้างระบบคูส่งน้ำ ,  คลองระบายน้ำ , ปรับปรุงและเสริมคันดินกั้นน้ำรอบโครงการโดยบนคันดินปรับเป็นผิวจราจรใช้สำหรับสัญจร และสถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ้า เพื่อป้องกันแก้ไขปัญหาน้ำท่วมขังในพื้นที่  รวมทั้งก่อสร้างถังเก็บน้ำพร้อมระบบประปา กระจายน้ำสนับสนุนกิจกรรมอุปโภคบริโภค การเลี้ยงปศุสัตว์ และการเกษตรในพื้นที่โครงการฯ 

  สำหรับ โครงการหมู่บ้านปศุสัตว์-เกษตรมูโนะ มีพื้นที่โครงการรวมทั้งสิ้น 1,500 ไร่ แบ่งออกเป็น 3 ส่วน ประกอบด้วย พื้นที่ศูนย์สาธิตการเลี้ยงสัตว์โครงการหมู่บ้านปศุสัตว์-เกษตรมูโนะ จำนวน 516 ไร่ มีโรงเรือนเลี้ยงสัตว์ 12 โรงเรือน  อาทิ โคเนื้อ , แพะ , แกะ , ไก่ลูกผสมพื้นเมือง , เป็ดอี้เหลียง, เป็ดเทศ และการเลี้ยงปลาในกระชัง /นอกจากนี้ยังมีแปลงปลูกหญ้าเพื่อเป็นอาหารสัตว์ จำนวน 492 ไร่ 

 พื้นที่จัดสรรที่ดินให้แก่เกษตรกรสำหรับเป็นที่อยู่อาศัยที่ทำกิน จำนวน 409 ไร่  /ปัจจุบันมีสมาชิก 49 ครัวเรือน 129 คน ซึ่งได้รับการจัดสรรที่ดินครัวเรือนละ 3 ถึง 6 ไร่ อาทิ แปลงจัดสรรของนายแป แลดไธสง บนที่ดิน 3 ไร่ ซึ่งได้รับการจัดสรรที่ดินเมื่อปี 2542 เริ่มจากการทำเกษตรแบบเชิงเดียว และได้พัฒนาไปทำเกษตรแบบผสมผสานจนประสบผลสำเร็จ เป็นต้นแบบและแหล่งเรียนรู้ด้านการทำเกษตรแบบผสมผสานโดยใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง / โดยมีกิจกรรมต่าง ๆ อาทิ การปลูกพืชผักยกแคร่  , ไม้เลื้อย , เลี้ยงปลาในกระชัง , เลี้ยงวัว , ไก่พันธุ์พื้นเมือง , เป็ดไข่ และเป็ดเทศ /ทำให้มีผลผลิตสำหรับบริโภคและจำหน่ายตลอดทั้งปี /และเมื่อปี 2565 มีรายได้ 99,790 บาทต่อครัวเรือน ทำให้ตนเองและครอบครัวมีความกินดี อยู่ดี มีรายได้ที่มั่นคง และสามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน 

และพื้นที่ ใช้ประโยชน์ส่วนรวมของหมู่บ้าน จำนวน 575 ไร่ /ปัจจุบันเกษตรกรในพื้นที่โครงการฯ ส่วนใหญ่ปลูกไม้ยืนต้น , พืชผักหมุนเวียน , ไม้ผลผสมผสาน ร่วมกับการปลูกยางพารา และปาล์มน้ำมัน /การปศุสัตว์ และประมง ทั้งนี้ ในปี 2565 มีรายได้เฉลี่ย 213,746 บาท/ครัวเรือน

  โอกาสนี้ มีพระราชดำรัสแก่เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อพระราชทานขวัญและกำลังใจ

ผู้นำเสนอข่าว

Hnoy

Written by:

3,884 Posts

View All Posts
Follow Me :

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *