ส่องเศรษฐกิจไทยปี 2566 ปัจจัยท้าทาย ‘ร่วง-รอด’

ส่องเศรษฐกิจไทยปี 2566 ปัจจัยท้าทาย ‘ร่วง-รอด’

พราะต้องเจอกับโรคระบาดของโควิด-19 ที่ต่อเนื่อง และความไม่แน่นอนจากสงครามรัสเซีย-ยูเครน ทำให้ราคาพลังงาน ค่าครองชีพต่าง ๆ พุ่งสูงขึ้น ทำให้เงินเฟ้อทั่วโลกเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วและรุนแรง

เศรษฐกิจไทย ปีเสือผ่านพ้นไปด้วยความยากลำบาก เพราะต้องเจอกับโรคระบาดของโควิด-19 ที่ต่อเนื่อง และความไม่แน่นอนจากสงครามรัสเซีย–ยูเครน ทำให้ราคาพลังงาน ค่าครองชีพต่าง ๆ พุ่งสูงขึ้น ทำให้เงินเฟ้อทั่วโลกเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วและรุนแรง มีผลกระทบลูกโซ่ต่อตลาดการเงิน ส่งผลให้ดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นถ้วนหน้า

สำหรับปี 2566 หรือปีกระต่ายนี้มีนักพยากรณ์เศรษฐกิจหลายสำนักได้ประเมินทิศทางว่ายังคงได้รับผลกระทบจากดอกเบี้ยที่ยังคงเพิ่มขึ้นต่อเนื่องจนส่งผลให้เศรษฐกิจทั่วโลกเสี่ยงชะลอตัวจนเข้าสู่ภาวะถดถอยนั่นเอง…จึงกระทบต่อการส่งออกไทยไม่น้อยเลยทีเดียว แม้เศรษฐกิจไทยในปี 2566 ยังมีพระเอกที่จะคอยสนับสนุนจากการฟื้นตัวด้านการการท่องเที่ยวก็ตาม

โดยวันหยุดยาวปีใหม่ที่รัฐบาลประกาศวันหยุดกรณีพิเศษ 1 วัน จนถึง 2 ม.ค. 66 นั้น ทางศูนย์วิจัยกสิกรไทย ได้คาดการณ์ว่าจะมีรายได้สู่ธุรกิจท่องเที่ยวและเกี่ยวเนื่องถึง 14,500 ล้านบาท คาดมีคนไทยเดินทางไปร่วมเคานท์ดาวน์ท่องเที่ยว รับประทานอาหารยังสถานที่ต่าง ๆ และยังมีนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้าไทยอย่างต่อเนื่องจากปีที่ผ่านมา คาดต่างชาติเข้ามาเที่ยวไทยสร้างรายได้ช่วงปีใหม่ 15,500 ล้านบาท รวม 4 วัน ส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ ต่างชาติและคนไทยสร้างรายได้ท่องเที่ยวมากถึง 30,000 ล้านบาท คิดเป็น 50% เทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2562 ก่อนการระบาดของโควิด-19

ภาคการท่องเที่ยวไทยในปีที่ผ่านมาเป็นพระเอกอย่างแท้จริง แม้เป็นแค่เครื่องยนต์หนึ่งในไม่กี่ตัวที่สามารถขับเคลื่อนนำพาเศรษฐกิจไทยปี 2566 ผ่านความยากลำบากไปได้อีกปี ซึ่งหลายต่อหลายนักเศรษฐศาสตร์ได้บอกว่าเป็นปีที่อาจเผาจริง!!! เนื่องจากเศรษฐกิจทั่วโลกเจอความปั่นป่วนหลายด้าน จนเข้าสู่เศรษฐกิจถดถอย ทำให้ผลกระทบที่เกิดขึ้นอาจมีมากกว่าที่ได้ประเมินไว้ได้

คาดการณ์จีดีพีโต 3.5%

มาดูว่าสำนักเศรษฐกิจทั้งหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ได้ประเมินทิศทางเศรษฐกิจไทยปีกระต่ายนี้ไว้ว่าอย่างไรบ้าง? เริ่มจากสำนักสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ได้คาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจไทย (จีดีพี) ในปี 66 ไว้ขยายตัว 3-4% ค่ากลาง 3.5% มาจากการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยว, การขยายตัวของการลงทุนทั้งภาคเอกชนและภาครัฐ, การขยายตัวต่อเนื่องของการอุปโภคบริโภคในประเทศ และการขยายตัวในเกณฑ์ดีของภาคเกษตร แต่ในขณะที่การส่งออกอาจอยู่ที่ 1% เพราะพิษเศรษฐกิจโลกชะลอตัวลง

ด้านกระทรวงการคลัง คาดการณ์จีดีพีปีนี้ไว้ถึง 3.8% ส่วนธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) หรือแบงก์ชาติ คาดขยายตัว 3.7% ซึ่งมีมุมมองเป็นไปในทิศทางเดียวกัน จากภาคการท่องเที่ยวยังฟื้นตัวชัดเจนการบริโภคภาคเอกชนได้รับแรงสนับสนุนจากกิจกรรมทางเศรษฐกิจรวมถึงการจ้างงานและรายได้แรงงานที่ปรับดีขึ้นและกระจายตัวทั่วถึงมากขึ้น

ธนาคารโลก (เวิลด์แบงก์) ได้มองเศรษฐกิจไทยฟื้นตัวกลับมาสู่ระดับก่อนวิกฤติโควิดแล้วเมื่อปลายปีที่ผ่านมา แต่ในปีนี้จะขยายตัวได้ช้ากว่าที่คาดการณ์ไว้จากภาวะเศรษฐกิจโลกโดยคาดว่าจะขยายตัว 3.6%ขณะที่ธนาคารพัฒนาเอเชีย (เอดีบี) คาดจีดีพีจะขยายตัวได้ถึง 4% เนื่องจากอุปสงค์ที่อ่อนกำลังลงทั่วโลก ส่งผลต่อภาคการส่งออกของไทยด้วยเช่นกัน

ปัจจัยบวกอุ้มเศรษฐกิจ

มุมมองจากสำนักฝั่งเอกชน เปิดปัจจัยบวกที่จะเข้ามาอุ้มเศรษฐกิจไทยปี 2566 ซึ่งมีความเห็นทิศทางเดียวกัน ทั้งศูนย์วิจัยกสิกรไทย, กรุงไทย คอมพาส, ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ทีทีบี และศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจธนาคารไทยพาณิชย์ได้เชื่ออย่างมั่นใจว่าภาคการท่องเที่ยวไทยจะฟื้นตัวต่อเนื่องและเพิ่มมากขึ้นกว่าปีที่ผ่านมา ด้วยการคาดนักท่องเที่ยวต่างชาติจะเข้ามาในไทยไม่ต่ำกว่า 20 ล้านคน ถือว่าครึ่งหนึ่งของช่วงสถานการณ์ปกติก่อนโควิดในช่วงปี 2562 และยังเฝ้าติดตามการเปิดประเทศของรัฐบาลจีน ที่จะเปิดประเทศให้ชาวจีนเดินทางออกนอกประเทศได้ตั้งแต่วันที่ 8 ม.ค. ยิ่งเพิ่มจำนวนนักท่องเที่ยวให้มากกว่านี้เพราะปกติชาวจีนเที่ยวไทยถือว่าเป็นอันดับต้น ๆ

นอกจากการท่องเที่ยวแล้วเศรษฐกิจไทยยังได้รับแรงส่งจากการบริโภคเอกชน ในเรื่องการจับจ่ายใช้สอยภายในประเทศจากการอัดอั้นใช้จ่ายมาช่วงโควิด ทั้งจับจ่ายซื้อสินค้า การท่องเที่ยวบวกกับมีแรงจูงใจกระตุ้นการใช้จ่ายจากมาตรการภาครัฐ เช่น ช้อปดีมีคืนที่กระตุ้นการใช้จ่ายช่วงต้นปนี้ให้นำค่าใช้จ่ายซื้อสินค้าและบริการมาหักลดหย่อนภาษีได้มากถึง 40,000 บาท และยังมีช่วยค่าครองชีพจากการลดภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างลด 15% รวมถึงการลดค่าธรรมเนียม ค่าโอนที่อยู่อาศัยทำให้กลุ่มภาคอสังหาริมทรัพย์อาจได้รับอานิสงส์ต่อเนื่องไปจนถึงภาคแรงงานได้ด้วย

6 ปัจจัยเสี่ยงฉุดรั้ง

แต่ปัจจัยบวกสนับสนุนเศรษฐกิจไทยปี 2566 ถ้าเทียบกับความเสี่ยงแล้วอาจต้องชั่งน้ำหนักเพราะปีนี้มีสารพัดปัจจัยที่จะมาฉุดรั้งเศรษฐกิจไทย “สำนักวิจัยธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย” ประเมินเศรษฐกิจไทยปี 2566 อาจเจอเผาจริง!! จากความเสี่ยง 6 ด้าน ไม่ว่าจะเป็น 1. ปัญหาการรุกรานของรัสเซียในยูเครนที่ยืดเยื้อ จนกระทบห่วงโซ่อุปทานด้านอาหารสัตว์ ปุ๋ยรวมทั้งสินค้าโภคภัณฑ์อื่น ๆ 2. ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ยังขึ้นดอกเบี้ยต่อเนื่องเพื่อสกัดเงินเฟ้อให้ลดลงในกรอบให้ได้จนเศรษฐกิจสหรัฐถดถอยแรงกว่าคาด

  1. จีนล็อกดาวน์ ในหลายพื้นที่ต่อเนื่องตามมาตรการซีโร่โควิดหากสถานการณ์ยืดเยื้อก็น่าจะกระทบอุปสงค์ในประเทศจีนโดยฉพาะต้องติดตามอสังหาริมทรัพย์จะมีปัญหาจนฟองสบู่แตกราคาที่ดินร่วงหรือไม่ เพราะซ้ำเติมปัญหาหนี้ที่สูงในภาคส่วนนี้

4.วิกฤติหนี้สาธารณะในยุโรป โดยเฉพาะในประเทศที่มีหนี้ภาครัฐสูง เช่น อิตาลีหากอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลเพิ่มขึ้นจนนักลงทุนกังวลปัญหาการผิดนัดชำระหนี้เช่นในอดีต น่ากระทบความเชื่อมั่นในสกุลเงินยูโร ส่งผลให้นักลงทุนลดการถือครองสินทรัพย์เสี่ยงและกลับไปถือสินทรัพย์สกุลดอลลาร์สหรัฐอีกครั้ง

  1. วิกฤติตลาดเกิดใหม่ หลายประเทศกำลังเจอความเสี่ยงผิดนัดชำระหนี้ โดยเฉพาะเมื่อเงินสำรองระหว่างประเทศลดลงเร็วจากรายจ่ายด้านน้ำมันและเงินโอนออกนอกประเทศ ขณะที่รายได้จากการส่งออกและการท่องเที่ยวหดหาย ปัญหานี้อาจขยายวงได้อีกครั้งหากนักลงทุนต่างชาติขาดความเชื่อมั่นและดึงเงินลงทุนกลับค่าเงินจะอ่อนค่าอย่างรวดเร็ว และอาจเจอปัญหาสภาพคล่องได้

ด้านสุดท้ายที่ 6. โควิดกลายพันธุ์ แพร่ได้เร็วหลบภูมิคุ้มกัน แม้อาการไม่รุนแรงแต่จะส่งผลให้มีผู้ป่วยและผู้เสียชีวิตเป็นจำนวนมากโรงพยาบาลและระบบสาธารณสุขมีปัญหา รัฐบาลอาจต้องจำกัดกิจกรรมทางเศรษฐกิจและการเพิ่มขึ้นของผู้ติดเชื้ออาจกระทบความเชื่อมั่นเศรษฐกิจฟื้นตัวช้า โดยเฉพาะด้านท่องเที่ยว รวมทั้งกระทบภาคการผลิตซึ่งจะมีผลให้ห่วงโซ่อุปทานมีปัญหากระทบการส่งออกได้

แนวนโยบายเศรษฐกิจปี 2566

ด้วยสภาพเศรษฐกิจเช่นนี้ ภาครัฐจะบริหารนโยบายเศรษฐกิจปี 2566 อย่างไร โดย “สศช.” ได้วางแนวทางไว้ควรดูแลแก้ไขปัญหาหนี้สินของลูกหนี้รายย่อย ทั้งในภาคครัวเรือนและภาคธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม, ดูแลการผลิตภาคเกษตรและรายได้เกษตรกรโดยการฟื้นฟูเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัยและเตรียมมาตรการรองรับผลผลิตสินค้าเกษตรที่จะออกสู่ตลาดในช่วงฤดูเพาะปลูก 66/67, ส่งออกสินค้าไปยังตลาดที่ยังมีแนวโน้มการขยายตัวทางเศรษฐกิจในเกณฑ์ดีและสร้างตลาดใหม่ให้กับสินค้าที่มีศักยภาพ การติดตามเงื่อนไขทางเศรษฐกิจและการค้าโลก เพื่อใช้ประโยชน์จากนโยบายการค้าของประเทศเศรษฐกิจหลัก

นอกจากนี้ต้องพัฒนาสินค้าเกษตรอาหารและสินค้าอุตสาหกรรมให้มีคุณภาพและมาตรฐานตรงตามข้อกำหนดของประเทศผู้นำเข้า, การใช้ประโยชน์จากกรอบความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค ควบคู่ไปกับการเร่งรัดการเจรจาความตกลงการค้าเสรีที่กำลังอยู่ในขั้นตอนของการเจรจา และส่งเสริมให้ภาคธุรกิจบริหารจัดการความเสี่ยงจากความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน

ขณะเดียวกันต้องสนับสนุนการฟื้นตัวของการท่องเที่ยวเตรียมความพร้อมให้ภาคการท่องเที่ยวสามารถรองรับการกลับมาของนักท่องเที่ยวต่างชาติได้อย่างเต็มศักยภาพ, การส่งเสริมการพัฒนาการท่องเที่ยวคุณภาพสูงและยั่งยืน, การจัดกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยวและกิจกรรมที่เกี่ยวเนื่องและส่งเสริมการท่องเที่ยวภายในประเทศ

พร้อมด้วยส่งเสริมการลงทุนภาคเอกชนเร่งรัดให้ผู้ประกอบการที่ได้รับอนุมัติและออกบัตรส่งเสริมการลงทุนในช่วงปี 63-65 ให้เกิดการลงทุนจริงโดยเฉพาะอย่างยิ่งโครงการลงทุนอยู่ในกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมาย, แก้ไขปัญหาที่นักลงทุนและผู้ประกอบการต่างประเทศเห็นว่าเป็นอุปสรรคต่อการลงทุนและการประกอบธุรกิจรวมทั้งปัญหาการขาดแคลนแรงงานในภาคการผลิต, ส่งเสริมการลงทุนเชิงรุกและอำนวยความสะดวกเพื่อดึงดูดนักลงทุนในกลุ่มอุตสาหกรรมและบริการเป้าหมาย

ที่สำคัญคือต้องส่งเสริมการลงทุนในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) และเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษต่าง ๆ, ลงทุนโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคม, การติดตามเฝ้าระวัง และเตรียมมาตรการรองรับเศรษฐกิจและการเงินโลกผันผวน และสุดท้ายการติดตามเฝ้าระวังและเตรียมความพร้อมรองรับสถานการณ์การแพร่ระบาดและการกลายพันธุ์ของโรคโควิด-19

Business People Meeting Conference Seminar Sharing Strategy Concept

โลกที่เต็มไปด้วยความไม่แน่นอนมุมมอง “เศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ” ผู้ว่าการแบงก์ชาติ ได้ประเมินความท้าทายระยะสั้นมีมากกว่าที่เคยประเมินไว้โดยระบุว่า ภาพรวมของเศรษฐกิจโลกปี 2566 จะมีความท้าทายจากความผันผวนไม่น้อยจะเกิดการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะในตลาดหลักอย่างสหรัฐอเมริกา ยุโรป หรือจีน รอดูว่าจะเป็นอย่างไรกันต่อเงินเฟ้อก็ยังเป็นตัวกดดันการทำงานของธนาคารกลางทั้งโลก ตัวเลขเงินเฟ้อโลกไม่ได้ลงมาง่าย ๆ ทำให้หลายประเทศต้องขึ้นอัตราดอกเบี้ยในระดับที่เร็วแรงและนานกว่าที่ตลาดคาดไว้

ผู้ว่าการแบงก์ชาติบอกถึงสิ่งที่ท้าทายมากกว่าคือเสถียรภาพทางการเงิน ซึ่งน่ากังวลกว่าเดิมจากสัญญาณต่าง ๆ ที่เริ่มเห็นกันบ้างแล้วว่าเกิดปัญหาลักษณะน้ำลดตอผุด จากเดิมที่สภาพคล่องเยอะดอกเบี้ยต่ำ ครั้งนี้ประเทศหลัก ๆ ขึ้นดอกเบี้ย (น้ำลด) เร็วกว่าที่คิดและก็เห็นตอหรือปัญหามากกว่าที่เคยประเมินไว้แต่ก็ไม่คิดว่าจะเกิดวิกฤติการเงินโลกขนาดปี 51 เพราะฝั่งสถาบันการเงินยังดูแข็งแรงดี แต่คราวนี้ปัญหาไปเกิดตรงจุดที่ไม่ได้คาดไว้เช่นตลาดพันธบัตรของสหราชอาณาจักรหรือในตลาดพันธบัตรของสหรัฐอเมริกาซึ่งถูกมองว่าเป็นตลาดที่ใหญ่และปลอดภัยที่สุดสัญญาณเหล่านี้สะท้อนโอกาสที่จะเห็นการสะดุดในตลาด ถ้ามองในภาพรวมของโลกการฟื้นตัวจึงไม่ได้ราบรื่น

“เชื่อว่าเศรษฐกิจของไทยจะยังฟื้นตัวได้ต่อเนื่องคิดว่าปี 2566 จะโตมากกว่า 3% และสูงกว่าปีนี้ด้วยเพราะแรงขับเคลื่อนหลักของเศรษฐกิจยังมีปกติเมื่อเศรษฐกิจโลกชะลอตัวลงการส่งออกก็จะชะลอลงด้วย แต่ตัวขับเคลื่อนคือการบริโภคภายในประเทศและการท่องเที่ยวที่ยังเติบโตได้ดี อย่างรายได้ของคนไทยก็อยู่ในทิศทางที่ดีขึ้น และนักท่องเที่ยวก็กลับมามากกว่าที่คาดไว้ คนยังอยากเดินทางมาเที่ยวไทย เพราะประเทศไทยน่าเที่ยวค่าใช้จ่ายไม่แพง แม้อาจจะใช้จ่ายไม่มากเท่าเดิม แต่ก็ยังจะช่วยพยุงเศรษฐกิจไทยให้ไปต่อได้” ผู้ว่าการแบงก์ชาติ ได้บอกถึงโอกาสและความท้าทายในปี 66

สุดท้ายสิ่งที่ต้องติดตามคือความไม่แน่นอนที่อาจเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา เพราะสถานการณ์ทั่วโลกในปัจจุบัน ค่อนข้างมีความท้าทาย ทำให้เศรษฐกิจไทยในปี 2566 ยังคงน่าจับตาว่าการที่เศรษฐกิจโลกกำลังอยู่ในช่วงถดถอยแล้วส่งผล อย่างไรต่อประเทศไทย

แม้การท่องเที่ยวไทยที่จะเป็นพระเอกในปี 2566 ซึ่งฟื้นตัวได้ดีจะสามารถขับเคลื่อนและทนต่อแรงกดดันได้ไหวหรือไม่ท่ามกลางความเสี่ยงที่ไม่อาจมองข้ามในปีที่ใครหลายคนบอกว่า เป็นปีของการเผาจริง!

ผู้นำเสนอข่าว

Lemon

Written by:

720 Posts

View All Posts
Follow Me :

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

166 thoughts on “ส่องเศรษฐกิจไทยปี 2566 ปัจจัยท้าทาย ‘ร่วง-รอด’

  1. Can I simply just say what a relief to uncover a person that genuinely understands what they’re discussing over the internet. You certainly know how to bring a problem to light and make it important. A lot more people really need to look at this and understand this side of your story. It’s surprising you’re not more popular since you definitely have the gift.

  2. An outstanding share! I have just forwarded this onto a friend who had been conducting a little research on this. And he actually bought me breakfast because I stumbled upon it for him… lol. So allow me to reword this…. Thanks for the meal!! But yeah, thanx for spending time to talk about this subject here on your web site.

  3. Greetings, I think your website could possibly be having internet browser compatibility problems. When I take a look at your web site in Safari, it looks fine however, if opening in Internet Explorer, it has some overlapping issues. I just wanted to give you a quick heads up! Besides that, excellent website!

  4. Next time I read a blog, I hope that it won’t disappoint me as much as this particular one. I mean, Yes, it was my choice to read through, however I actually thought you would probably have something interesting to say. All I hear is a bunch of moaning about something you can fix if you weren’t too busy seeking attention.

  5. I truly wanted to jot down a word so as to thank you for some of the pleasant tricks you are giving out on this site. My rather long internet look up has at the end been recognized with brilliant suggestions to exchange with my friends and classmates. I would believe that many of us readers actually are unequivocally fortunate to be in a really good network with very many marvellous individuals with great suggestions. I feel really grateful to have encountered your entire web site and look forward to tons of more amazing times reading here. Thank you once more for a lot of things.

  6. Next time I read a blog, I hope that it doesn’t disappoint me just as much as this one. I mean, Yes, it was my choice to read, however I genuinely thought you would probably have something helpful to say. All I hear is a bunch of moaning about something that you could fix if you weren’t too busy seeking attention.

  7. While I agree with the basics in – Gulvafslibning | Kurt Gulvmand , I think the buoyant sentiment around today is a concequence of a false set of circumstances. The demand for consumer loans is still weak and there is no significant improvement in the housing market. The developed nations are surviving on their governments ability to just borrow and spend into their economies which is difficult to maintain. Regards, Estela Camp.

You May Have Missed