เผยแพร่ 28 ธ.ค. 2565 ,16:13น.
ธนาคารแห่งประเทศไทย รวม 5 เรื่องเศรษฐกิจที่อยู่ในความสนใจของคนไทยตลอดปีนี้ (2565) และมีการพูดถึงมากที่สุด
1. เงินเฟ้อ เงินเฟ้อไทยปีนี้เิดจากปัจจัยด้านอุปทานตามราคาน้ำมันที่พุ่งสูงขึ้นจากสงครามรัสเซีย-ยูเครน ซึ่งเป็นปัจจัยภายนอกที่ที่การขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายไม่สามาถจัดการได้โดยตรง แต่หากเงินเฟ้อยังสูงต่อเนื่องเป็นเวลานาน จะทำให้คนเริ่มคาดว่าเงินเฟ้อจะสูงขึ้นเรื่อยๆ ยากที่จะลดลง
ลูกจ้างจะขอขี้นค่าแรงเพื่อรองรับค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้น ธุรกิจปรับขึ้นราคาสินค้าและบริการต่อเนื่อง ซึ่งจะเป็นอันตรายต่อเศรษฐกิจ
แบงก์ชาติจึงปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายเพื่อช่วยดูแลเงินเฟ้อในภาวะที่เศรษฐกิจไทยเริ่มฟื้นตัวชัดเจนขึ้นจากโควิด-19 แล้ว ซึ่งการขึ้นดอกเบี้ยจะทำแบบค่อยเป็นค่อยไป
2.เงินสำรองระหว่างประเทศ มีไว้เพื่อเป็นกันชนรองรับความเสี่ยงด้านต่างประเทศ เช่น กรณีเงินทุนไหลออกจำนวนมาก หรือตลาดการเงินขาดสภาพคล่องเงินตราต่างประเทศเฉียบพลัน หากประเทศมีเงินสำรองฯ เพียงพอ จะสร้างความเชื่อมั่นจากนักลงทุน โดยฐานะของเงินสำรองฯ ของไทยยังแข็งแกร่ง และอยู่ในระดับสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานสากล เช่น มูลค่าเงินสำรองฯเทียบกับหนี้ต่างประเทศระยะสั้นหรือมูลค่าการนำเข้าสินค้า
3.CBDC คือ เงินสกุลดิจิทัลที่ออกโดยธนาคารกลาง ซึ่งต่างจากคริปโทเคอร์เรนซี ที่ออกโดยภาคเอกชน เช่น บิตคอยน์ ซึ่งมักมีมูลค่าผันผวนและความเสี่ยง ขึ้นกับผู้ออกเหรียญ แบงก์ชาติได้พัฒนารูปแบบการโอนเงินแบบเครือข่ายหลายประเทศภายใต้โครงการ CBDC ระหว่างสถาบันการเงิน (mBridge) ร่วมกับธนาคารกลางจีน ฮ่องกง และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และอยู่ระหว่างเตรียมทดสอบการใช้งาน CBDC จริงกับรายย่อย (Retail CBDC) ในวงจำกัดร่วมกับภาคเอกชนเพื่อประเมินประโยชน์ ความเสี่ยงและความเหมาะสมของเทคโนโลยี
4.ค่าเงินบาท และสกุลเงินอื่นในเอเชียเคลื่อนไหวผันผวนภายใต้ความไม่แน่นอนในตลาดการเงินที่สูงจากโควิด-19 การปรับทิศทางดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารกางทั่วโลก และแนวโน้มเศรษฐกิจโลกที่ผ่านมา
เงินบาทและสกุลเงินในภูมิภาคมีแนวโน้มอ่อนค่า จากการแข็งค่าของเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐฯ โดยแบงก์ชาติได้ติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด อีกทั้งภาคเอกชนควรบริหารความเสี่ยงด้านค่าเงินอย่างสม่ำเสมอเพื่อลดผลกระทบจากความผันผวนของค่าเงิน
5.มาตรการช่วยเหลือลูกหนี้ จากสถานการณ์โควิด-19 ที่ยิดเยื้อ แบงก์ชาติได้ออกมาตรการทางการเงินเพื่อช่วยเหลือลูกหนี้รายย่อยและธุรกิจอย่างต่อเนื่อง ทั้งช่วยแก้หนี้เดิมและและเพิ่มเงินใหม่ ซึ่งได้ปรับมาตรการให้สอดคล้องกับสถานการณ์และตรงกับปัญหาลูกหนี้แต่ละกลุ่ม
รวมถึงร่วมมือกับกระทรวงการคลังจัดงานมหกรรมร่วมใจแก้หนี้ เพื่อช่วยเหลือกลุ่มเปราะบางและยังไม่ฟื้นจากโควิด-19