เกษตรสุพรรณ เสริมทักษะต่อยอดให้เกษตรกรนำฟางไปทำปุ๋ยหมักปลูกผักคลุมดินเพิ่มผลผลิตเพิ่มรายได้

เกษตรสุพรรณ เสริมทักษะต่อยอดให้เกษตรกรนำฟางไปทำปุ๋ยหมักปลูกผักคลุมดินเพิ่มผลผลิตเพิ่มรายได้

สุพรรณบุรี – เกษตรจัวหวัดสุพรรณบุรีเดินหน้ารณรงค์ส่งเสริม ให้เกษตรกรชาวสุพรรณบุรี ต่อยอดการใช้ประโยชน์จากฟางอย่างคุ้มค่า ลด งดเผาฟางในนาข้าวนำไปแปรรูป เลี้ยงสัตว์ ทำปุ๋ยหมัก ใส่แปลงผัก คลุมดินต้นไม้สร้างประโยชน์ลดต้นทุนเพิ่มผลผลิต เพิ่มผลกำไร ได้อาหารปลอดภัย ภายใต้โครงการพัฒนาศักยภาพการผลิตสินค้าเกษตรให้มีคุณภาพ ปลอดภัยได้มาตรฐาน และเกษตรแปรรูป เพื่อเพิ่มมูลค่า

ที่จังหวัดสุพรรณ วันที่ 22 มิถุนายน นายวสันต์ จี้ปูคำ หัวหน้ากลุ่มอารักขาพืชสำนักงานเกษตรจังหวัดสุพรรณบุรี นายภควรรณ ชัยรัตน์เมธี เกษตรอำเภอศรีประจันต์ นำเจ้าหน้าที่สำนักงานเกษตร ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมการดำเนินงานของศูนย์จัดการดินปุ๋ยชุมชน ตำบลบางงาม อำเภอศรีประจันต์ เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ ในด้านต่างๆ ภายใต้โครงการพัฒนาศักยภาพการผลิตสินค้าเกษตรให้มีคุณภาพ ปลอดภัยได้มาตรฐาน และเกษตรแปรรูป เพื่อเพิ่มมูลค่า สำหรับศูนย์แห่งนี้มีนายอนุสรณ์ สุพรรณโรจน์ เป็นประธาน

นายอนุสรณ์ สุพรรณโรจน์ เปิดเผยว่าตนประกอบอาชีพเกษตรทำนาปลูกพืช เลี้ยงสัตว์ แต่เดิมตนทำนาเหมือนคนทั่วไปคือทำนาเก็บเกี่ยวผลผลิตเสร็จก็เผาฟางแล้วเริ่มทำใหม่ใส่ปุ๋ยฉีดยา ต่อมาก็มีแนวคิดว่าชาวนาเราใช้ทรัพยากรในการทำนาได้ผลตอบแทนกลับมาไม่คุ้ม ถามว่าทำไมไม่ถึงคุ้ม ก็เราทำนาใช้น้ำในการทำนา 1,000 กว่าคิวต่อไร่ ใช้เมล็ดพันธุ์ 30-40 กิโลกรัมต่อไร่ ใส่ปุ๋ยเคมี 80-100 กิโลต่อไร่และใช้สารเคมียาเคมีอีก ในส่วนนี้เราได้ผลตอบแทนคือเราได้ข้าวเปลือก แล้วเอาไปขายโรงสี สุดท้ายทุกอย่างเราเผาทิ้งหมด ซึ่งตนเห็นว่าฟางนี้มีคุณค่าก็เลยมีการบริหารจัดการ ซึ่งเกษตรกรบางคนก็นำไปหมัก บางคนก็ไถกลบอันนี้ก็ได้ปุ๋ย ได้อินทรีย์วัตถุกลับมาและไม่ทำลายธรรมชาติ

โดยส่วนตัวได้มีการใช้ประโยชน์จากโดยการนำฟางมาเป็นอาหารให้วัวที่เลี้ยงไว้ 20 กว่าตัวกินซึ่งฟาง 1 ไร่สามารถอัดฟางได้ถึง 30 ก้อน ในส่วนของตน 1 ปีจะใช้ฟาง 600 ก้อนสามารถช่วยลดการเผาได้ถึง 20 ไร่ส่วนนี้ได้ทั้งอาหารสัตว์ทั้งธรรมชาติคืนมา และอีกหลายๆส่วนที่ทำมีการนำฟางไปทำเห็ดฟาง เพิ่มมูลค่าเราใช้ฟาง 1 มีเชื้อเห็ดและมูลวัวเราใช้วัตถุดิบในชุมชนเราเป็นหลัก ลงทุนโดยประมาณก้อนละประมาณ 80 บาทเมื่อเราเป็นเห็ดฟางจะได้เห็ดฟางประมาณ 3 กิโลราคาเห็ดฟางกิโลละ 80 บาท ก็ได้ 240 บาทฟาง1ก้อนเรามีกำไร 160 บาทนี่คือการสร้างมูลค่าเพิ่ม นอกจากนี้เรายังนำเอาเศษฟางที่วัวไม่กินไปทำปุ๋ยหมัก ถ้าเราไปซื้อฟางก้อนซึ่งมีราคาก้อนละ 25-30 บาทบางฤดู ก็ 80 บาทมาทำปุ๋ยหมักมันไม่คุ้มทุน เราก็เอาฟางที่เหลือใช้ไปทำเป็นปุ๋ยหมัก ถามว่าทำไมต้องหมัก เพราะว่ามันมีดอกหญ้ามีวัชพืชขึ้นแต่ถ้าเราเอาไปผ่านกระบวนการหมักแล้ว ถ้าเราเอาไปใส่โคนต้นไม้ในผักหญ้าหรือวัชพืช ก็จะลดปริมาณลงหรือไม่มีเลย ส่วนที่เหลือจากการทำเห็ดฟางซึ่งมีฟางมีมูลวัว เป็นส่วนผสมเป็นปุ๋ยหมักอยู่แล้วอันนี้เราก็เอาไปใส่ใช้ประโยชน์อีก ในกระบวนการที่ทำเป้าหมายก็คือทำโดยใช้วัตถุดิบที่มีให้คุ้มค่าเกิดประโยชน์สูงสุด เชิญทุกท่านที่ทำการเกษตรแล้วจะไม่เผาฟางเราจะทำอย่างไรสามารถมารับองค์ความรู้ได้ที่ศูนย์แห่งนี้เพื่อสร้างรายได้ ในหลายๆด้านเช่นการทำเห็ดเพิ่มรายได้และช่วยรักษาธรรมชาติด้วย สามารถติดต่อได้ที่ 089-0665085 อนุสรณ์ สุพรรณโรจน์

นายภควรรณ ชัยรัตน์เมธี เกษตรอำเภอศรีประจันต์ กล่าวว่าพื้นที่ในอำเภอศรีประจันต์ มีพื้นที่ทำนาประมาณ 7-8 หมื่นไร่ และด้วยเกษตรกรทำนาต่อเนื่องอย่างน้อยก็ 2 ครั้งต่อ 1 ปี จะประมาณแสนกว่าไร่ ในการที่เกษตรกรทำนาต่อเนื่องเกษตรกรจึงมีการเผาฟาง เพื่อเร่งรีบในการเตรียมดินทำให้เกิดผลกระทบมากมาย ทั้งสิ่งแวดล้อมและเป็นการทำลายหน้าดินทำให้การใช้ปุ๋ยต้องเพิ่มขึ้น ในส่วนของสำนักงานเกษตรอำเภอศรีประจันต์ รับนโยบายและองค์ความรู้จากสำนักงานเกษตรจังหวัดหรือพัฒนาที่ดินในการส่งเสริมและปลูกจิตสำนึก การทำงานของเกษตรอำเภอศรีประจันต์ แบ่งออกเป็น 3 ลักษณะคือ

(1.)การปลูกจิตสำนึกเพื่อให้เกษตรกรรักสิ่งแวดล้อมเป็นจุดหนึ่งในการเปลี่ยนใจเกษตรกรให้หันมาอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม โดยการย่อยสลายฟางทำเป็นปุ๋ยหมักเพื่อให้สิ่งแวดล้อมดีขึ้น ลดปัญหา PM 2.5

(2) การถ่ายทอดความรู้ เทคนิคการย่อยสลายฟางโดยการใช้น้ำหมักชีวภาพซึ่งผลิตได้เอง หรือการใช้สารเพิ่มประสิทธิภาพในการย่อยสลายฟางซึ่งต้องพึ่งจากปัจจัยภายนอกต้องซื้อเข้ามาใช้ การถ่ายทอดเทคโนโลยี ยังถ่ายทอดในการเพิ่มรายได้คือ การอัดฟางเพื่อจำหน่ายหรือการนำมาเป็นอาหารสัตว์และนำมาทำปุ๋ยหมัก เพาะเห็ด ซึ่งเกษตรกรให้ความสนใจในการถ่ายทอดเทคโนโลยีเรื่องการไม่เผาฟาง นำเทคนิคหรือองค์ความรู้เข้าไปถ่ายทอดด้วย

(3)สำนักงานเกษตรดำเนินการอยู่ในเรื่องของการบังคับใช้กฎหมาย คือ ให้ผู้ใหญ่บ้านหรือผู้นำชุมชน ไม่ว่าจะเป็นอาสาสมัครเกษตร ผู้ใหญ่บ้านและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องเป็นหูเป็นตาและประชาสัมพันธ์ในเรื่องของบทลงโทษของผู้ที่เผาฟาง อำเภอศรีประจันต์มีศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร ซึ่งกระจายอยู่ทุกตำบลและศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตรในแต่ละตำบลจะแตกต่างแต่ละกิจกรรมซึ่งแต่ละกิจกรรมจะเกื้อหนุนกันสามารถส่งต่อหรือพึ่งพาอาศัยกัน

ขอเชิญชวนเกษตรกรผู้ที่ทำนาทุกท่าน ทุกวันนี้เราทำนาแต่ว่าตกเป็นจำเลยของการเผาฟาง สร้างมลพิษ โดยที่รัฐบาลเห็นความสำคัญของท่านจะเห็นว่าเวลาเกษตรกรทำการปลูกข้าวรัฐบาลมีโครงการต่างๆเข้ามาช่วยเหลือไม่ว่าจะปุ๋ยราคาถูก โครงการประกันรายได้จะเห็นได้ว่ารัฐบาลเห็นความสำคัญของท่าน ท่านก็ต้องเห็นความสำคัญในอาชีพของตนเองโดยไม่สร้างภาระให้กับรัฐบาลโดยการไม่ก่อมลพิษการเผาฟางเป็นการก่อมลพิษ ในส่วนของสำนักงานท่านสามารถมาเรียนรู้หรือสอบถามได้ว่าถ้าไม่เผาฟางจะปฏิบัติอย่างไร ไม่ว่าจะย่อยสลายฟาง การขายฟาง หรือการทำปุ๋ยหมัก หรือนำมาเป็นอาหารสัตว์ สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสิ่งที่ท่านเผาทิ้งไปได้อย่างไร


ภัทรพล พรมพัก /สุพรรณบุรี

ผู้นำเสนอข่าว

ยัยแม่มด

Written by:

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

You May Have Missed