ก.เกษตรฯ เดินหน้าปฏิวัติการทำนา สู่ความยั่งยืน BCG Model

ก.เกษตรฯ เดินหน้าปฏิวัติการทำนา สู่ความยั่งยืน BCG Model

ปลัดฯเกษตร จับมืออธิบดีข้าว ร่วมไลฟ์รายการเกษตร ต่อยอด เดินหน้าปฏิวัติการทำนา BCG Model พร้อมชวนอุดหนุนสินค้าเกษตร

เมื่อเวลา 07.45 น. วันที่ 13 มี.ค. 66 นายประยูร อินสกุล ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และนายณัฏฐกิตติ์ ของทิพย์ อธิบดีกรมการข้าว ร่วม Live ผ่านรายการ “เกษตร…ต่อยอด” ในหัวข้อ การขับเคลื่อนงานด้านเกษตรต่างประเทศ และการปฏิวัติการทำนาสู่ความยั่งยืน ยกระดับข้าวรักษ์โลก BCG Model ณ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

ปลัดกระทรวงเกษตรฯ เปิดเผยว่า เมื่อปลายเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา อัครราชทูตที่ปรึกษาฝ่ายเศรษฐกิจและพาณิชย์ นายหวาง ลี่ผิง และเลขานุการเอก (ฝ่ายเกษตร) จากสถานเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐประชาชนจีน ได้เข้าพบหารือในเรื่องที่ประเทศไทย และประเทศจีนสนใจร่วมกัน มีทั้งเรื่องการพัฒนาศักยภาพคน การแลกเปลี่ยนประสบการณ์ รวมไปถึงการทำงานร่วมกันในเวทีต่างๆ ในประเด็นการส่งออกมันสำปะหลังไปประเทศจีน และระบบมรดกทางการเกษตรของโลก และนอกจากนั้นขอเชิญชวนทุกท่าน ช่วยกันอุดหนุนผลไม้ไทยตามฤดูกาล โดยผลไม้ที่มีผลผลิตออกมาสู่ตลาดแล้ว คือ มะยงชิด ซึ่งนอกจากจะเป็นการช่วยเหลือพี่น้องเกษตรกรชาวสวนผลไม้แล้ว การบริโภคผลไม้ที่ออกตามฤดูกาลจะได้บริโภคของที่มีคุณภาพและราคาสมเหตุสมผลอีกด้วย

ด้านอธิบดีกรมการข้าว เปิดเผยในส่วนของการปฏิวัติการทำนาสู่ความยั่งยืน ยกระดับข้าวรักษ์โลก BCG Model ว่า ที่ผ่านมากรมการข้าวได้ดำเนินงานสอดรับกับนโยบายของ นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รมว.เกษตรฯ และนายประยูร อินสกุล ปลัดกระทรวงเกษตรฯ มาโดยตลอด ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการผลิตข้าวให้มีคุณภาพ ได้รับมาตรฐานสากล และที่สำคัญคือกระบวนการผลิตข้าวที่ไม่ใช้สารเคมี ยาฆ่าแมลง ยาฆ่าหญ้า ทำให้ได้ข้าวที่ดีมีคุณภาพ ปลอดสารพิษ ดีต่อสุขภาพ เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ใช้การตลาดนำการเพาะปลูก ภาคีโรงสีเข้ามารับซื้อข้าวในราคาที่เหมาะสม ซึ่ง BCG Model เป็นโมเดลเศรษฐกิจสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน เรื่องของเศรษฐกิจทฤษฎีใหม่ที่ผสมผสานการพัฒนาด้านต่างๆ เข้าด้วยกัน คือ เศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว เพื่อพัฒนาสังคม เศรษฐกิจ ควบคู่กับการรักษาสิ่งแวดล้อมให้เป็นรูปธรรม ของประเทศไทยให้บรรลุเป้าหมายในการพัฒนาที่ยั่งยืน

“กรมการข้าว มีความตั้งใจที่จะปฏิวัติการทำนาสู่ความยั่งยืน ยกระดับข้าวรักษ์โลก ให้สอดคล้องกับ BCG Model ในการกำหนดพื้นที่การปลูกข้าวของแต่ละพื้นที่ให้ตรงกับความต้องการของตลาด และเพื่อให้พี่น้องเกษตรกรสามารถลดต้นทุนการผลิตได้ ลดการใช้ปุ๋ยและสารเคมีที่เป็นอันตรายต่อผู้ผลิตและผู้บริโภคในการใช้สารชีวภัณฑ์ที่ดีต่อการทำนา รวมไปถึงการใช้ทรัพยากรในนาข้าวให้เกิดประโยชน์ เช่น การอัดฟางข้าว เพื่อเป็นการลดการเผาตอซังในนาข้าวที่ก่อให้เกิดก๊าซเรือนกระจกทำให้มีผลกระทบต่อโลกได้ ซึ่งทั้งหมดที่กล่าวมานี้ กรมการข้าวไม่ได้นิ่งนอนใจ และได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง เพื่อสนองตามนโยบายของคณะรัฐมนตรีที่อยากให้การทำนาของประเทศเกิดความยั่งยืน เกษตรกรมีรายได้พอเพียง และเกิดความปลอดภัยต่อตนเองและสิ่งแวดล้อม” อธิบดีกรมการข้าว กล่าว

สำหรับผู้ที่สนใจสามารถรับชมรายการย้อนหลังได้ทาง Facebook page : กระทรวงเกษตรฯ

ผู้นำเสนอข่าว

Lemon

Written by:

720 Posts

View All Posts
Follow Me :

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *