วิธีช่วยคนอาหารติดคอ ความรู้ติดตัวไว้ใช้ยามฉุกเฉิน ย้ำควรทำเป็นทุกคน

วิธีช่วยคนอาหารติดคอ ความรู้ติดตัวไว้ใช้ยามฉุกเฉิน ย้ำควรทำเป็นทุกคน

อย่ามองข้าม แนะวิธีช่วยชีวิตคนเมื่ออาหารติดคอ หรือสำลัก ย้ำควรทำเป็นทุกคน เอาไว้ใช้เวลาเกิดเหตุฉุกเฉิน

วันที่ 19 มีนาคม 2566 มีรายงานว่า จากกรณีหนุ่มวัย 27 ปี นั่งรับประทานชาบูกับครอบครัวที่บ้าน แล้วเกิดอาหารติดคอหายใจไม่ออกจนช็อกหมดสติ กู้ชีพ รพ.บางบ่อ เข้าช่วยนำส่ง รพ. แต่สุดท้ายไปเสียชีวิตที่ รพ. ตร.ส่งศพไปชันสูตรหาสาเหตุต่อไปนั้น

ต่อมาทางแฟนเพจ Drama-addict ได้แชร์คลิปการช่วยเหลือผู้ป่วยในภาวะสิ่งแปลกปลอมอุดกั้นทางเดินหายใจส่วนบนจาก We Mahidol โดยระบุข้อความว่า วิธีปฐมพยาบาล เมื่อเจอคนสำลัก ควรทำเป็นทุกคน เพราะเมื่อคนสำลักอาหาร ลงไปอุดหลอดลม มีเวลาราวๆ สามนาทีเท่านั้นที่จะช่วยให้ทัน ไม่งั้นสมองจะขาดออกซิเจน จนสมองตายหรือเสียชีวิตได้

โดยภายในคลิปได้ให้ความรู้เกี่ยวกับวิธีช่วยเหลือผู้ป่วยในภาวะสิ่งแปลกปลอมอุดกั้นทางเดินหายใจส่วนบน สามารถแบ่งผู้ป่วยออกเป็น 2 กลุ่ม ดังนี้

  1. ภาวะทางเดินหายในส่วนบนถูกอุดกั้นแบบบางส่วน ให้เข้าไปประเมินอาการของผู้ป่วย ซึ่งภาวะนี้อาจไม่ได้มีความรุนแรงมากนัก เพราะผู้ป่วยยังสามารถหายใจได้ หรือ ออกเสียงได้ หากผู้ป่วยยังสามารถทำได้ให้บอกผู้ป่วยพยายามไอออกมาแรงๆ เพื่อให้สิ่งแปลกปลอมนั้นหลุดออกมาจากหลอดลม โดยในภาวะนี้ผู้ช่วยเหลือควรอยู่ใกล้ผู้ป่วยจนกว่าจะมีอาการดีขึ้น และแนะนำให้พาผู้ป่วยไปโรงพยาบาล
  2. 1. ภาวะทางเดินหายในส่วนบนถูกอุดกั้นโดยสมบูรณ์ ผู้ป่วยในภาวะนี้จะไม่สามารถหายใจเองได้ ไม่สามารถพูดหรือออกเสียงได้ อาจมีลักษณะมือกุมคอ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของทางเดินหายใจส่วนบนถูกอุดกั้นโดยสมบูรณ์

ก่อนอื่นให้เข้าไปประเมินผู้ป่วย หากแน่ใจแล้วให้ช่วยเหลือผู้ป่วยด้วยวิธี Heimlich Maneuver

สำหรับการทำ Heimlich Maneuver มีดังนี้

  • ให้การช่วยเหลือโดยเข้าทางหลังผู้ป่วย สอดขาไประหว่างกลางขาของผู้ป่วย
  • หาจุดกด โดยให้ปลายนิ้วก้อยอยู่ที่สะดือ นิ้วโป้งอยู่ใต้ลิ้นปี่
  • เมื่อหากดจุดได้แล้วให้กำมือ เก็บนิ้วโป้งโดยหันด้านในเข้าหาผู้ป่วย นำมาอีกข้างมาประคองเพื่อโน้มตัวผู้ป่วยไปด้านหน้าเล็กน้อย
  • ออกแรงดึงมือเข้าหาผู้ป่วย มุม 45 องศาฯ กดประมาณ 5 ครั้ง จากนั้นดูว่าเศษอาหารออกมาหรือยัง หากยังไม่ออกก็ทำแบบเดิมอีก

เมื่อช่วยเหลือผู้สำเร็จควรพาไปโรงพยาบาลเพื่อตรวจหาว่ามีภาวะแทรกซ้อนจากการช่วยเหลือหรือไม่ แต่ระหว่างการช่วยเหลือ หากผู้ป่วยหมดสติหรือไม่ตอบสนองให้ประคองผู้ป่วยลงนอนกับพื้น จากนั้นให้โทร. 1669 สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ แล้ว CPR ระหว่างรอ พร้อมกับประเมินอาการไปด้วย

ในกรณีที่ผู้ป่วยอยู่คนเดียวแล้วยังสามารถช่วยเหลือตัวเองได้ ให้กำมือข้างหนึ่งไว้ ส่วนมืออีกข้างหนึ่งประคอง แล้วดันเข้าไปตรงกลางแรงๆ ระหว่างลิ้นปี่กับสะดือ หรือกระแทกตัวเองกับของแข็งที่มั่นคง เช่น ขอบโต๊ะหรือพนักพิงเก้าอี้ เพื่อให้เกิดแรงดันในการนำสิ่งแปลกปลอมออกมาเพื่อรักษาภาวะฉุกเฉินนี้.

ที่มา : ไทยรัฐออนไลน์
เว็บไซต์ : https://www.thairath.co.th/

ผู้นำเสนอข่าว

Hnoy

Written by:

3,833 Posts

View All Posts
Follow Me :

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *