ดิจิทัลวอลเล็ต : อัปเดตรายการสินค้า ซื้อได้ด้วยเงินดิจิทัล 10,000 บาท

ดิจิทัลวอลเล็ต : อัปเดตรายการสินค้า ซื้อได้ด้วยเงินดิจิทัล 10,000 บาท

ไขข้อสงสัย ดิจิทัลวอลเล็ต ซื้ออะไรได้บ้าง – ซื้ออะไรไม่ได้ พร้อมวิธีการจ่ายเงินดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท

หลังจากรัฐบาลได้แถลงข่าว “โครงการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่านดิจิทัลวอลเล็ต” ไปเมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม 2567 โดยจะเปิดลงทะเบียนสำหรับประชาชนทั่วไป หรือกลุ่มที่มีสมาร์ทโฟน ในวันที่ 1 สิงหาคม-15 กันยายน 2567 ผ่านแอปฯ “ทางรัฐ” ส่วนประชาชนที่ไม่มีสมาร์ทโฟน จะเปิดให้ลงทะเบียนตั้งแต่วันที่ 16 กันยายน-15 ตุลาคม 2567 ตามที่ได้รายงานไปแล้วนั้น

คุณสมบัติ ลงทะเบียนดิจิทัลวอลเล็ต
-ประชากรสัญชาติไทย ที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน
-มีอายุตั้งแต่ 16 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป ณ วันที่ปิดรับลงทะเบียน
-ไม่เป็นผู้มีรายได้เกิน 840,000 บาท สำหรับปีภาษี 2566 และมีเงินฝากกับธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงินเฉพาะกิจรวมกันไม่เกิน 500,000 บาท

เงินดิจิทัล 10,000 ซื้ออะไรได้บ้าง
ทั้งนี้ หลังจากประชาชนได้ลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการเงินดิทัล 10,000 บาท และได้รับสิทธิเข้าร่วมโครงการแล้ว ทางรัฐบาลยังได้มีการกำหนดสินค้าที่สามารถใช้จ่ายได้ ดังนี้

-สินค้าอุปโภคบริโภค เช่น ข้าวสาร, ไข่ไก่, เครื่องดื่ม (ไม่มีแอลกอฮอล์) สบู่, ยาสีฟัน, ผงซักฟอก, กะปิ, น้ำปลา, ซอสปรุงรส ฯลฯ
-สินค้าเพื่อการศึกษา เช่น เครื่องแบบนักเรียน, เครื่องเขียน, สมุด, ปากกา, ดินสอ ฯลฯ
-สินค้าวัตถุดิบเพื่อการเกษตร เช่น ปุ๋ย, ยาปราบศัตรูพืช, เมล็ดพันธุ์พืช ฯลฯ
-สินค้าเกษตรและผลิตภัณฑ์ชุมชน เช่น ผักสด, ผลไม้, อาหารสด, เครื่องจักสาน ฯลฯ
-ยารักษาโรค เช่น ยาแก้ปวด, ยาลดไข้, ยาแก้ท้องเสีย ฯลฯ

เงินดิจิทัล 10,000 ซื้ออะไรไม่ได้บ้าง

-สลากกินแบ่งรัฐบาล
-เครื่องดื่มแอลกอฮอล์
-ผลิตภัณฑ์ยาสูบ กัญชา กระท่อม พืชกระท่อม ผลิตภัณฑ์กัญชาและกระท่อม
-บัตรกำนัล บัตรเงินสด
-ทองคำ
-เพชร พลอย อัญมณี
-น้ำมันเชื้อเพลิง
-ก๊าซธรรมชาติ
-เครื่องใช้ไฟฟ้า
-อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์
-เครื่องมือสื่อสาร
วิธีการใช้จ่ายเงินสามารถใช้จ่ายได้ ดังนี้
รอบที่ 1 เป็นการใช้จ่ายระหว่างประชาชนกับร้านค้าขนาดเล็กจนถึงร้านค้าสะดวกซื้อขนาดเล็ก

  1. ประชาชนต้องชำระค่าสินค้าที่เข้าร่วมโครงการฯ ผ่านระบบชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์บนแอปพลิเคชันของหน่วยงานที่เข้าร่วมโครงการฯ ให้แก่ผู้ประกอบการร้านค้า ที่มีลักษณะเข้าข่ายเป็นร้านค้าขนาดเล็กจนถึงร้านสะดวกซื้อขนาดเล็กตามที่กระทรวงพาณิชย์กำหนด โดยไม่รวมห้างสรรพสินค้า ห้างค้าปลีก-ค้าส่งสินค้าขนาดใหญ่ระดับประเทศ และระดับท้องถิ่น
  2. ต้องมีการซื้อ-ขายสินค้ากันจริง
  3. เป็นการใช้จ่ายเชิงพื้นที่ในระดับอำเภอ (878 อำเภอ) โดยประชาชนต้องมีที่อยู่ในทะเบียนบ้านในอำเภอเดียวกันกับสถานประกอบการของผู้ประกอบการร้านค้าขนาดเล็ก
  4. การซื้อ-ขายสินค้า ผู้ซื้อและผู้ขายจะต้องมีการทำธุรกรรมซื้อขายและสแกน QR Code เพื่อชำระค่าสินค้ากันแบบพบหน้า (face-to-face) และไม่มีกระบวนการใดๆ ในการซื้อขายที่ดำเนินการผ่านช่องทางออนไลน์ หรือผ่านคนกลาง ไม่ว่าด้วยวิธีการใด และไม่ให้ทำซ้ำ ส่งต่อหรือวิธีการอื่นใดกับ QR Code ในแอปพลิเคชันของหน่วยงานที่เข้าร่วมโครงการฯ เพื่อหลีกเลี่ยงการทำธุรกรรมแบบพบหน้าดังกล่าว

รอบที่ 2 เป็นต้นไป เป็นการใช้จ่ายระหว่างร้านค้ากับร้านค้า

  1. ผู้ประกอบการร้านค้าต้องชำระค่าสินค้าที่เข้าร่วมโครงการฯ ผ่านระบบชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์บนแอปพลิเคชันของหน่วยงานที่เข้าร่วมโครงการฯ ให้แก่ผู้ประกอบการร้านค้าอีกแห่งหนึ่ง
  2. ต้องมีการซื้อ-ขายสินค้ากันจริง

อย่างไรก็ตาม หลังจากได้รับสิทธิเข้าร่วมโครงการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่านดิจิทัลวอลเล็ตแล้ว จะเริ่มใช้จ่ายได้ภายในไตรมาส 4 ของปี 2567 หรือช่วงเดือน ตุลาคม-ธันวาคม 2567 โดยสามารถติดตามการกำหนดวันจ่ายเงินและความคืบหน้าต่างๆ ได้ที่ เว็บไซต์ไทยรัฐออนไลน์.

ที่มา : ไทยรัฐออนไลน์
เว็บไซต์ : https://www.thairath.co.th/

ผู้นำเสนอข่าว

Hnoy

Written by:

3,444 Posts

View All Posts
Follow Me :

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

You May Have Missed