รู้จักโทษ พักใบอนุญาตแพทย์ ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ยังรักษาต่อได้หรือไม่

รู้จักโทษ พักใบอนุญาตแพทย์ ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ยังรักษาต่อได้หรือไม่

แพทยสภามีมติลงโทษแพทย์ 3 คน ปม “ทักษิณ” นอนชั้น 14 เปิดโทษพักใบอนุญาตแพทย์ ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ยังรักษาต่อได้หรือไม่ พบปรับลดได้ตามเหตุอันควร

จากกรณีที่ประชุมคณะกรรมการแพทยสภาได้มีมติลงโทษแพทย์ 3 ท่าน ของทัณฑสถานโรงพยาบาลราชทัณฑ์ และโรงพยาบาลตำรวจ ฐานผิดจริยธรรมแห่งวิชาชีพเวชกรรม โดยเป็นการว่ากล่าวตักเตือน 1 ท่าน ในกรณีประกอบวิชาชีพเวชกรรมไม่ได้มาตรฐาน และพักใช้ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเวชกรรม 2 ท่าน ในกรณีให้ข้อมูลหรือเอกสารทางการแพทย์ไม่ตรงกับความเป็นจริง

ทั้งนี้ แพทยสภามีหน้าที่ต้องเสนอมติต่อสภานายกพิเศษ (รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข) เพื่อขอความเป็นธรรมก่อนจะดำเนินการตามมติ ซึ่งเป็นขั้นตอนตามพระราชบัญญัติวิชาชีพเวชกรรม พ.ศ.2525 ต่อไป

รู้จักโทษ พักใบอนุญาตแพทย์ ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ยังรักษาต่อได้หรือไม่

โดย นพ.ประสิทธิ วัฒนาภา อุปนายกแพทยสภาคนที่ 1 ชี้แจงว่า แพทย์สองคนที่ถูกพักใบวิชาชีพ เป็นเรื่องการให้ข้อมูลและเอกสารทางการแพทย์ที่ไม่ตรงกับความเป็นจริง ซึ่งขณะนี้ข้อมูลที่แพทยสภาได้รับ ไม่ได้มีหลักฐานเชิงประจักษ์ที่ชัดเจนว่ามีภาวะวิกฤติเกิดขึ้น ซึ่งทั้งหมดจึงเป็นมูลเหตุแห่งการพักใบอนุญาตโดยการพักใบอนุญาตประกอบเวชกรรม ถือเป็นการลงโทษรุนแรงกับแพทย์ทุกคนอยู่แล้ว ส่วนข้อมูลและหลักฐานที่ได้รับมาทั้งหมดไม่มีหลักฐานเชิงประจักษ์ที่ชัดเจนว่า นายทักษิณ มีภาวะอาการป่วยวิกฤติตามที่ไปแถลงข่าวจึงอยู่ที่การตีความ

“ส่วนที่ไม่สามารถบอกได้ว่าจะพักใช้ใบอนุญาตนานเท่าไร เพราะจะต้องผ่านความเห็นชอบของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขก่อน หากวันนี้ให้ข้อมูลไป ไม่ตรงกับรัฐมนตรีกระทรวงสาธารณสุข หากเห็นชอบก็เป็นไปตามนั้น แต่ถ้าไม่เห็นชอบก็ต้องตีกลับมาที่แพทยสภาอีกครั้งจนได้ข้อสรุป ถึงตอนนั้นก็จะต้องมีการแถลงข่าวให้ทราบ ว่าจะมีการพักใช้ใบอนุญาตนานเท่าไร”

รู้จักโทษ พักใบอนุญาตแพทย์ ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ยังรักษาต่อได้หรือไม่

ขณะที่ พระราชบัญญัติวิชาชีพเวชกรรม พ.ศ.2525 ให้ข้อมูลไว้ว่า “ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม” หมายความว่า บุคคลซึ่งได้ขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมจากแพทยสภา ส่วน “ใบอนุญาต” หมายความว่า ใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมจากแพทยสภา

โดยมาตรา 41 พระราชบัญญัติวิชาชีพเวชกรรม พ.ศ.2525 ระบุว่า ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมซึ่งถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาต ให้ถือว่ามิได้เป็นผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมตามพระราชบัญญัตินี้นับแต่วันที่คณะกรรมการสั่งพักใช้ใบอนุญาตนั้น

ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมซึ่งอยู่ในระหว่างถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาต ผู้ใดถูกศาลพิพากษาลงโทษตามมาตรา 43 และคดีถึงที่สุดแล้ว ให้คณะกรรมการสั่งเพิกถอนใบอนุญาต

รู้จักโทษ พักใบอนุญาตแพทย์ ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ยังรักษาต่อได้หรือไม่

อย่างไรก็ตาม การพักใช้ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเวชกรรมโดยแพทยสภา มีระยะเวลาที่แตกต่างกันตามลักษณะและความร้ายแรงของความผิด ซึ่งไม่ใช่การเพิกถอนใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเวชกรรม ดังนี้ :

1. กรณีโฆษณาเกินจริงหรือผิดจริยธรรม

ครั้งแรก: พักใช้ใบอนุญาต 6 เดือน
ครั้งที่ 2: พักใช้ใบอนุญาต 2 ปี
ครั้งที่ 3 ขึ้นไป: เพิกถอนใบอนุญาต

2. กรณี “แพทย์แขวนป้าย” (ให้ผู้อื่นใช้ชื่อเปิดคลินิกโดยไม่ได้ควบคุมดูแล)

ครั้งแรก: พักใช้ใบอนุญาต 1 ปีทันที
ครั้งที่ 2: พักใช้ใบอนุญาต 2 ปี
ครั้งที่ 3: เพิกถอนใบอนุญาต

3. กรณีฝ่าฝืนกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพเวชกรรม เช่น แอบอ้างความเชี่ยวชาญโดยไม่ได้รับอนุมัติ

ครั้งแรก: พักใช้ใบอนุญาต 6 เดือน
ครั้งที่ 2: พักใช้ใบอนุญาต 2 ปี
ครั้งที่ 3 ขึ้นไป: เพิกถอนใบอนุญาต

ทั้งนี้ ระยะเวลาการพักใช้ใบอนุญาตอาจมีการปรับลดได้ตามเหตุอันควรปรานี แต่ต้องไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของโทษที่กำหนดในแต่ละกรณี

ที่มา ไทยรัฐ

ผู้นำเสนอข่าว

yoko

Written by:

4,177 Posts

View All Posts
Follow Me :

You May Have Missed