ผลการวิจัยพบว่าค่าฝุ่นละออง PM 2.5 มากกว่า 90 เปอร์เซ็นต์ของวัน ทั้งในเอเชียใต้ และเอเชียตะวันออก เกินค่ามาตรฐานความปลอดภัยขององค์การอนามัยโลกทั้งสิ้น
ที่น่าตกใจกว่านั้นคือผลการศึกษาจากนักวิทยาศาสตร์ ออสเตรเลีย และจีน ยังพบว่าปัจจุบันนี้มีประชากรเพียง 0.0001 เปอร์เซ็นต์ของโลกเท่านั้นที่ได้หายใจเอาอากาศที่มีคุณภาพที่ยอมรับได้เข้าสู่ร่างกาย
เป็นเรื่องที่รับรู้กันทั่วโลกแล้วว่า ปัญหามลพิษทางอากาศเป็นปัญหาใหญ่ที่ทั่วโลกกำลังเผชิญ แต่หลายคนอาจจะยังไม่รู้ว่าปัญหานี้เข้าขั้นวิกฤติขนาดไหน โดยผลการศึกษาล่าสุดพบว่ามลพิษทางอากาศทั่วโลกรายวัน เพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่อง จนแทบจะไม่มีที่ใดในโลกที่สามารถหายใจเอาอากาศบริสุทธิ์เข้าไปได้เต็มปอดอีกแล้ว โดยเฉพาะทวีปเอเชียที่กลายมาเป็นภูมิภาคที่คุณภาพอากาศเลวร้ายที่สุดในโลก
ผลการวิจัยพบว่าค่าฝุ่นละออง PM 2.5 มากกว่า 90 เปอร์เซ็นต์ของวัน ทั้งในเอเชียใต้ และเอเชียตะวันออก เกินค่ามาตรฐานความปลอดภัยขององค์การอนามัยโลกทั้งสิ้น
ที่น่าตกใจกว่านั้นคือผลการศึกษาจากนักวิทยาศาสตร์ ออสเตรเลีย และจีน ยังพบว่าปัจจุบันนี้มีประชากรเพียง 0.0001 เปอร์เซ็นต์ของโลกเท่านั้นที่ได้หายใจเอาอากาศที่มีคุณภาพที่ยอมรับได้เข้าสู่ร่างกาย
เป็นเรื่องที่รับรู้กันทั่วโลกแล้วว่า ปัญหามลพิษทางอากาศเป็นปัญหาใหญ่ที่ทั่วโลกกำลังเผชิญ แต่หลายคนอาจจะยังไม่รู้ว่าปัญหานี้เข้าขั้นวิกฤติขนาดไหน โดยผลการศึกษาล่าสุดพบว่ามลพิษทางอากาศทั่วโลกรายวัน เพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่อง จนแทบจะไม่มีที่ใดในโลกที่สามารถหายใจเอาอากาศบริสุทธิ์เข้าไปได้เต็มปอดอีกแล้ว โดยเฉพาะทวีปเอเชียที่กลายมาเป็นภูมิภาคที่คุณภาพอากาศเลวร้ายที่สุดในโลก
ผลวิจัยจากวารสารการแพทย์ Lancet Planetary Health ที่เพิ่งตีพิมพ์เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา พบว่าราว 99.82 เปอร์เซ็นต์ ของพื้นที่ทั่วโลก มีฝุ่นละออง PM 2.5 หรือฝุ่นละอองที่มีขนาดเล็กกว่า 1 ใน 25 ส่วนของเส้นผ่านศูนย์กลางของเส้นผมมนุษย์ ปนเปื้อนอยู่ในอากาศสูงกว่าค่ามาตรฐานขององค์การอนามัยโลกแล้ว โดยฝุ่นละอองเหล่านี้เพิ่มความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งปอด และโรคหัวใจ รวมทั้งโรคระบบทางเดินหายใจต่างๆ นอกจากนี้มีประชากรเพียง 0.0001 เปอร์เซ็นต์ของโลกเท่านั้นที่ได้หายใจเอาอากาศที่มีคุณภาพที่ยอมรับได้เข้าสู่ร่างกาย
การเก็บข้อมูลของนักวิทยาศาสตร์ในออสเตรเลียและจีน ยังพบว่า ตลอดทั้งปี 2019 ทั่วโลกมีจำนวนวันมากกว่า 70 เปอร์เซ็นต์ที่มีค่าฝุ่น PM 2.5 มากกว่า 15 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ซึ่งเป็นค่ามาตรฐานที่องค์การอนามัยโลกกำหนด โดยภูมิภาคที่คุณภาพอากาศเลวร้ายลงอย่างชัดเจน คือเอเชียใต้ และเอเชียตะวันออก ซึ่งคิดเฉลี่ยมีจำนวนวันมากกว่า 90 เปอร์เซ็นต์ ที่มีค่าฝุ่น PM 2.5 มากกว่า 15 ไมโครกรัม โดยเอเชียใต้มีค่ามลพิษทางอากาศสูงเป็นอันดับที่ 2 รองจากเอเชียตะวันออก
นายหยูหมิง เกา ศาสตราจารย์ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพและสภาพแวดล้อมแห่งมหาวิทยาลัยโมนาช ของออสเตรเลีย ผู้นำงานวิจัยชิ้นนี้ระบุว่า แม้ว่าปริมาณ PM 2.5 จะเป็นอันตราย แต่นักวิทยาศาสตร์และหน่วยงานกำกับดูแล มักจะมีความกังวลเกี่ยวกับระดับมลพิษรายวัน น้อยกว่าความกังวลเกี่ยวกับการสัมผัสกับมลพิษในระยะยาว ซึ่งทางกลุ่มนักวิจัยหวังว่าผลจากการศึกษาคุณภาพอากาศนี้ จะช่วยเปลี่ยนความคิดของบรรดานักวิทยาศาสตร์ รวมทั้งผู้มีอำนาจในการวางนโยบายให้ความสำคัญกับปริมาณฝุ่น PM 2.5 รายวันให้มากขึ้น เพราะถ้าหากสามารถทำให้คุณภาพอากาศในแต่ละวันสะอาดขึ้นได้ ก็ย่อมส่งผลต่อคุณภาพอากาศในระยะยาวที่จะดีขึ้นด้วยเช่นกัน
นายหยูหมิง เกา ศาสตราจารย์ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพและสภาพแวดล้อมแห่งมหาวิทยาลัยโมนาช ของออสเตรเลีย ผู้นำงานวิจัยชิ้นนี้ระบุว่า แม้ว่าปริมาณ PM 2.5 จะเป็นอันตราย แต่นักวิทยาศาสตร์และหน่วยงานกำกับดูแล มักจะมีความกังวลเกี่ยวกับระดับมลพิษรายวัน น้อยกว่าความกังวลเกี่ยวกับการสัมผัสกับมลพิษในระยะยาว ซึ่งทางกลุ่มนักวิจัยหวังว่าผลจากการศึกษาคุณภาพอากาศนี้ จะช่วยเปลี่ยนความคิดของบรรดานักวิทยาศาสตร์ รวมทั้งผู้มีอำนาจในการวางนโยบายให้ความสำคัญกับปริมาณฝุ่น PM 2.5 รายวันให้มากขึ้น เพราะถ้าหากสามารถทำให้คุณภาพอากาศในแต่ละวันสะอาดขึ้นได้ ก็ย่อมส่งผลต่อคุณภาพอากาศในระยะยาวที่จะดีขึ้นด้วยเช่นกัน
มลพิษทางอากาศเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตของคนทั่วโลกถึงมากกว่า 6.7 ล้านคนต่อปี โดยเกือบ 2 ใน 3 ของการเสียชีวิตก่อนวัยอันควร มีสาเหตุมาจากฝุ่น PM 2.5 อย่างไรก็ตามการวัดปริมาณของฝุ่น PM 2.5 ทั่วโลกเป็นสิ่งที่ท้าทาย เนื่องจากไม่มีสถานีตรวจวัดมลพิษที่มากเพียงพอ
นายเกา พร้อมด้วยทีมวิจัยได้เก็บข้อมูลการศึกษาครั้งนี้ จากการติดตั้งเครื่องตรวจวัดคุณภาพอากาศจากกว่า 5,000 สถานีทั่วโลก ประกอบกับการใช้เครื่องจำลองการเรียนรู้ ข้อมูลด้านสภาพอากาศ และปัจจัยทางภูมิศาสตร์เพื่อนำมาประเมินหาค่า PM 2.5 รายวันจากทั่วโลก ซึ่งผลชี้ว่าปริมาณค่าฝุ่นละออง PM 2.5 ในเอเชียตะวันออก สูงที่สุดอยู่ที่ 50 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ตามมาด้วยเอเชียใต้ที่ 37 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร และแอฟริกาเหนือที่ 30 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร
โดยประชากรในออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ เผชิญปัญหาเรื่องฝุ่น PM 2.5 ค่อนข้างน้อย ขณะที่ภูมิภาคอื่นๆ อย่างโอเชียเนีย และอเมริกาใต้ จัดว่าพบ PM 2.5 อยู่ในระดับต่ำที่สุด
นอกจากนี้กลุ่มนักวิจัยยังมีการตรวจสอบคุณภาพอากาศในช่วงกว่า 20 ปีที่ผ่านมาจนถึงปี 2019 ว่ามีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรบ้าง โดยพบว่าพื้นที่ส่วนใหญ่ของเอเชีย แอฟริกาเหนือ และซับ ซาฮารา โอเชียเนีย ลาตินอเมริกา รวมทั้งแคริบเบียน ต่างก็เผชิญค่าฝุ่นละออง PM 2.5 เพิ่มขึ้นในช่วงกว่า 20 ปีที่ผ่านมาโดยมีปัจจัยสำคัญจากการเกิดไฟป่ารุนแรงต่อเนื่อง
ขณะที่ค่าฝุ่น PM 2.5 ในรอบปีและรายวันในยุโรป และอเมริกาเหนือมีแนวโน้มลดลง ซึ่งเกิดจากข้อกำหนดที่เคร่งครัดของภาครัฐ โดยค่าฝุ่นละอองส่วนใหญ่เกิดจากยานพาหนะ ควันและขี้เถ้าจากไฟป่า มลพิษจากเตาชีวมวล รวมทั้งละอองซัลเฟตจากการผลิตกระแสไฟฟ้าและฝุ่นจากทะเลทราย
จากการเก็บข้อมูลค่าของฝุ่นละอองขนาดเล็ก ยังชี้ให้เห็นด้วยว่า ระดับของฝุ่นละอองจะแตกต่างกันออกไปตามแต่ฤดูกาล รวมทั้งกิจกรรมของมนุษย์ในช่วงเวลานั้นๆ ที่จะทำให้ค่ามลพิษสูงขึ้นได้ ยกตัวอย่างเช่น ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของจีน และทางตอนเหนือของอินเดียที่จะพบค่าฝุ่น PM 2.5 สูงสุดในช่วงเดือนธันวาคมถึงกุมภาพันธ์ เนื่องจากมีการเผาเชื้อเพลิงในการใช้เครื่องทำความร้อนเพิ่มมากขึ้นในช่วงฤดูหนาวนั่นเอง ขณะที่ภูมิภาคอเมริกาใต้ อย่างประเทศบราซิล จะเป็นไปในทิศทางตรงข้าม โดยค่าฝุ่นละอองขนาดเล็กจะเพิ่มขึ้นในช่วงเดือนสิงหาคม ถึง กันยายน ซึ่งเกี่ยวเนื่องกับการแผ้วถางและจุดไฟเผาพื้นที่ทางการเกษตรในช่วงฤดูร้อนนั่นเอง
จากบทเรียนที่ผ่านมา รวมทั้งผลการศึกษาล่าสุด จึงเป็นสิ่งที่ชี้ว่าการจะแก้ปัญหา PM 2.5 ไม่ใช่เรื่องที่จะแก้ไขได้ในระดับปัจเจกบุคคลเท่านั้น แต่สำคัญที่ภาครัฐและผู้กำหนดนโยบายต้องเอาจริงเอาจังในการบังคับใช้กฎหมาย และแก้ปัญหาในภาพรวมทั้งหมด เพื่อให้คนรุ่นต่อไปได้มีอากาศบริสุทธิ์ไว้หายใจ เหมือนกับที่ยุโรปและอเมริกาเหนือกำลังทำได้ดีขึ้นเรื่อยๆในเวลานี้.
ผู้เขียน : อาจุมมาโอปอล
ที่มา : SCMP , The Lancet
Wow, marvelous blog structure! How long have you been running
a blog for? you made running a blog glance easy. The overall glance of your website is wonderful, let alone the
content! You can see similar here e-commerce
I am not sure where you’re getting your information, but good topic.
I needs to spend some time learning much more or understanding more.
Thanks for excellent information I was looking for this info for my mission. I saw similar here:
Sklep online
Hi there! Do you know if they make any plugins to help with SEO?
I’m trying to get my blog to rank for some targeted keywords but I’m not seeing very good gains.
If you know of any please share. Thanks! You can read similar art here: Sklep internetowy
retin a pharmacy usa
sildalis 120
augmentin 875 pills
dexamethasone canada
doxycycline 75 mg price
baclofen cost
cheapest lyrica online