ศอ.บต. ร่วมหารือนักจัย พัฒนาวัคซีน EPI เพิ่มศักยภาพการป้องกันโรคระบาดในเด็กชายแดนใต้ให้ครอบคลุม

ศอ.บต. ร่วมหารือนักจัย พัฒนาวัคซีน EPI เพิ่มศักยภาพการป้องกันโรคระบาดในเด็กชายแดนใต้ให้ครอบคลุม

เมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2566 นายชนธัญ แสงพุ่ม รองเลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) เป็นประธานการประชุมหารือโครงการวิจัย เพื่อพัฒนาศักยภาพในการจัดการวัคซีน EPI ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ผ่านระบบ Zoom โดยมี ผศ.ดร.รอฮานิ เจะอาแซ คณบดีคณะพยาบาลศาสตร์ วิทยาเขตปัตตานี ร่วมด้วย ดร.นายแพทย์มูฮัมมัดฟาห์มี ตาเละ อาจารย์ประจำคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานรินทร์วิทยาเขตปัตตานี, ผู้แทนสถาบันวิจัย ผู้แทนสถาบันวัคซีนแห่งชาติ ตลอดจน ผู้ทรงคุณวุฒิที่เกี่ยวข้อง โดยมีผู้แทนกองส่งเสริมและสนับสนุนงานพัฒนาฝ่ายพลเรือน (กสพ.) ศอ.บต. และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วม ณ ห้องประชุมปฏิบัติการ ชั้น 3 ศอ.บต

สำหรับการประชุมวันนี้ เป็นการหารือเพื่อวางกรอบแนวทางการจัดการแก้ไขปัญหาของการรับวัคซีนของครอบครัวในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งที่ผ่านมาพบว่า มีเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะการเข้ารับวัคซีนเข็มต่อเนื่องที่มีการลดลงอย่างมีนัยสำคัญ และเป็นปัญหาที่มีแนวโน้มไปสู่ปัญหาอื่นในอนาคต ทั้งนี้ ข้อมูลงานวิจัยที่ดำเนินการจัดทำจาก ม.อ. ร่วมกับ Unicef พบว่ามีสาเหตุการลังเลหรือปฏิเสธวัคซีน ไม่ได้เกิดจากสาเหตุใดสาเหตุหนึ่งแต่เกิดจากปัจจัยเชิงโครงสร้างนโยบายในการปฏิบัติงานของตัวผู้รับหรือผู้ปกครอง การแก้ไขปัญหาโดยการกลุ่มเป้าหมายเพียงอย่างเดียว โดยไม่ได้ปรับปรุงกระบวนการหรือการปฏิบัติงานอาจไม่สามารถให้ปัญหาวัคซีนหมดไปได้ ซึ่งการปฏิเสธวัคซีนในพื้นที่มีความซับซ้อนกับปัญหาทางสังคมและเศรษฐกิจ เช่น การขาดโอกาสทางการศึกษา ความเหลื่อมล้ำทางสังคม ความยากจน และความมั่นคง อันนำมาซึ่งการขาดความเชื่อมั่นไว้วางใจกับการดำเนินการของภาครัฐ เพื่อสร้างวัฒนธรรมและการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรสำหรับคนรุ่นต่อไปด้วย ดังนั้นการใช้ Evidence เป็นเรื่องที่สำคัญในการแก้ไขปัญหาวัคซีนในจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่ผ่านมาอยู่บนพื้นฐาน Opinion based ทำให้แก้ไขปัญหาไม่ตรง Pain – point ให้ความสำคัญกับการจัดการด้าน Demand side เป็นส่วนใหญ่ ในขณะที่ Big rock ที่ขัดขวางการปรับเปลี่ยนด้าน Demand side เช่นระบบบริการนโยบาย เป็นสิ่งที่ต้องคำนึงค่อนข้างน้อย

ในที่ประชุมได้มีการนำเสนอแนวทางการดำเนินการแก้ไขปัญหา 3 ประเด็น ได้แก่ 1.การหาวัคซีนให้ครอบคลุม 2.บูรณาหน่วยงานที่เกี่ยวข้องถ่ายทอดองค์ความรู้สร้างความเชื่อความเข้าใจที่ถูกต้องตามบทบาทหน้าที่ของหน่วยงานฟังก์ชัน 3.หาวิธีการหรือแนวทางให้คนรุ่นใหม่นำบุตรหลานมารับวัคซีนอย่างต่อเนื่องและครอบคลุม และที่มีการเพิ่มเติมจากทีประชุม คือ การเข้าไปดูแลและเพิ่มอัตราการเข้ารับวัคซีนในครอบครัวที่มีพ่อแม่เดินทางไปทำงาน หรือ เรียนต่อในต่างประเทศ ทั้งมาเลเซียและโลกอาหรับที่มีเป็นจำนวนมากและเป็นกลุ่มเป้าหมายสำคัญที่จะทำให้การเข้ารับวัคซีนในลุ่มเป้าหมายลดลงอันเนื่องมาจากข้อจำกัดการเลี้ยงดูของครอบครัวในประเทศไทย

ด้านนายชนธัญ แสงพุ่ม รองเลขาธิการ ศอ.บต. กล่าวว่าปัญหาการเข้ารับวัคซีนเป็นปัญหาสำคัญของพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่หลายหน่วยงานได้เข้ามาร่วมมือกันดำเนินการแก้ไขปัญหาอย่างสุดกำลัง ที่ผ่านมา มีการดำเนินการที่สำคัญต่อการเร่งแก้ไขปัญหาดังกล่าว อาทิ การแก้ไขปัญหาเด็กที่มีภาวะโภชนาการต่ำ เด็กที่มีภาวะพิการซ้ำซ้อน ต่อเนื่องมาถึงปัญหาการมีระดับทางสติปัญญาต่ำกว่ามาตรฐาน ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญที่จะต้องหาทางออกด้วยกันโดยเร็ว เพราะเด็กจะต้องมีการเติบโตไปเป็นกำลังสำคัญในอนาคต หากวันนี้ ทุกหน่วยร่วมทุ่มเทสรรพกำลังและทรัพยากรเพื่อการดูแลและหนุนเสริมพัมนาการเด็กเล็กอย่างเต็มที่จะทำให้จังหวัดชายแดนภาคใต้มีทุนมนุษย์ที่มีคุณค่าและเป็นกำลังสำคัญต่อการพัมนาพื้นที่ต่อไป โดยเฉพาะความฉลาดทางสติปัญญา อารมณ์ วุฒิภาวะ และการมีพัฒนาการที่ครอบคลุมทุกมิติ การพัฒนาที่มุ่งเน้นเด็กเป็นศูนย์กลาง

ดังนั้น ศอ.บต. ในฐานะหน่วยงานด้านการประสานเชื่อมโยงจะเป็นตัวกลางที่ทำหน้าที่ในการประสานความร่วมมือ เพื่อให้เกิดการบูรณาการและผลลัพธ์อย่างเป็นรูปธรรมในการพัฒนางานวิจัยรูปแบบวัคซีนที่ถือเป็นเรื่องที่สำคัญที่ภาครัฐจะต้องหาแนวทางแก้ไขปัญหาร่วมกันเพื่อวางรากฐานการับวัคซีนของเด็กในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ให้สามารถป้องกันโรคระบาดได้ครอบคลุมต่อไป

ผู้นำเสนอข่าว

ยัยแม่มด

Written by:

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *