ศอ.บต. เตรียมเสนอโครงการจัดตั้งมหาวิทยาลัยสตูล เป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกและแห่งเดียวในพื้นที่ จ.สตูล

ศอ.บต. เตรียมเสนอโครงการจัดตั้งมหาวิทยาลัยสตูล เป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกและแห่งเดียวในพื้นที่ จ.สตูล

ศอ.บต. เตรียมเสนอโครงการจัดตั้งมหาวิทยาลัยสตูล เป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกและแห่งเดียวในพื้นที่ จ.สตูล เข้ามติ กพต. เพื่อเปิดโอกาสให้เยาวชนในพื้นที่ได้เข้าถึงสถาบันการศึกษาที่มีมาตรฐาน

พลเรือตรี สมเกียรติ ผลประยูร เลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) เปิดเผยว่า ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) เตรียมขอความเห็นชอบจากคณะกรรมการยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยมีพลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุม กพต.สัญจร ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา วิทยาเขตสตูล ในวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2566 โดย ศอ.บต. เตรียมขอความเห็นชอบในหลักการโครงการ จัดตั้งมหาวิทยาลัยสตูล พ.ศ. 2566 – 2572 เพราะจังหวัดสตูล เป็นจังหวัดหนึ่งตามพระราชบัญญัติการบริหารราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้ พ.ศ. 2553 ในการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ เน้นเรื่องการมีส่วนร่วมทุกภาคส่วน ซึ่งการพัฒนาพื้นที่ในทุกจังหวัดทั้ง 5 จังหวัดนั้นจะพัฒนาเพื่อให้เกิดความเจริญในทุกมิติ ทั้งการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ สังคม เศรษฐกิจ และเน้นในการมีส่วนร่วมของพื้นที่ ในการร่วมคิด ร่วมกำหนดทิศทางในการพัฒนา โดยในส่วนของจังหวัดสตูล มีข้อเสนอจัดท้องถิ่นคือ องค์การบริหารส่วนจังหวัดสตูล (อบจ.) ภายใต้การสนับสนุนของหน่วยงานในพื้นที่ มีความประสงค์ที่จะให้มีการยกระดับคุณภาพการศึกษาในจังหวัดสตูลให้สูงขึ้น ซึ่งปัจจุบันมีมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา วิทยาเขตสตูล เป็นมหาวิทยาลัยเพียงแห่งเดียวในจังหวัดสตูล ที่มีการเรียนการสอนทุกสาขาวิชา เพื่อเปิดโอกาสให้กับเยาวชนในจังหวัดสตูล ศึกษาในสถานศึกษาที่มีมาตรฐานเช่นเดียวกับพื้นที่อื่น ๆ

เลขาธิการ ศอ.บต. เปิดเผยเพิ่มเติมอีกว่า จากข้อเสนอดังกล่าว ศอ.บต. ในฐานะที่เป็นหน่วยงานกลาง ที่มีหน้าที่ในการส่งเสริมการศึกษา ตามพระราชบัญญัติการบริหารราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้พ.ศ. 2553 ได้เชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาโดยเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับการจัดตั้งมหาวิทยาลัย อาทิ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงมหาดไทย สภาพัฒน์ฯ งบประมาณ รวมประชุมหารือเพื่อพิจารณาข้อเสนอดังกล่าว และรับฟังข้อคิดเห็นจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งข้อคิดเห็นจากการประชุมนั้นมีความเห็นพร้อมเพียงกัน และเห็นชอบร่วมกันในขั้นต้น ที่จะให้มีมหาวิทยาลัยในจังหวัดสตูลเกิดขึ้น โดยเห็นควรควบรวมหน่วยงานทางการศึกษา ที่มีอยู่ในพื้นที่และมีกรอบแนวคิดที่จะลดต้นทุน เพื่อสร้างมหาวิทยาลัย

ด้าน ผศ.ดร.เกียรติศักดิ์ รัตนดิลก ณ ภูเก็ต ผู้ช่วยอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา วิทยาเขตสตูล กล่าวว่า สำหรับมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา วิทยาเขตสตูล มีที่ดินสาธารณประโยชน์แปลงทุ่งใหญ่สารภี อำเภอละงู จังหวัดสตูล บนเนื้อที่ 346 ไร่ โดยให้บรรจุโครงการไว้ในแผนปฏิบัติการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ การสนับสนุนให้จัดตั้งมหาวิทยาลัยใน จังหวัดสตูล เป็นการยกระดับมาตรฐานการศึกษาของเยาวชนในพื้นที่ สามารถลดค่าใช้จ่าย สร้างสถาบันครอบครัวที่เข้มแข็ง และลดปัญหาสังคม เนื่องจากเป็นการเรียนการสอนในพื้นที่ ทำให้คุณภาพชีวิตของประชาชนจังหวัดชายแดนภาคใต้ดีขึ้น ซึ่งที่ผ่านมามหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา วิทยาเขตสตูล ได้จัดการเรียนการสอนในหลักสูตรบริหารธุรกิจ สาขาการท่องเที่ยว ตั้งแต่ปีการศึกษา 2553 และได้จัดสรรทุนการศึกษาพัฒนาคณาจารย์ระดับปริญญาเอก ทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ กว่า 60 คน เพื่อเตรียมพร้อมในการเปิดการเรียนการสอนเต็มรูปแบบ โดยจะเริ่มรับนักศึกษาได้ปี 2561 วิทยาเขตสตูลจะมีคณะรวมทั้งสิ้น 4 คณะ ได้แก่ 1. คณะอุตสาหกรรมบริการและการท่องเที่ยว เพื่อส่งเสริมธุรกิจการท่องเที่ยวในพื้นที่จ สตูลและจังหวัดชายฝั่งอันดามัน ซึ่งได้รับการยอมรับเป็นแหล่งท่องเที่ยวระดับโลก 2. คณะวิศวกรรมศาสตร์ เพื่อตอบสนองการพัฒนาเทคโนโลยี และภาคอุตสาหกรรม ตลอดจนแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งให้เกิดประโยชน์สูงสุด ตามแนวคิดการพัฒนาที่ยั่งยืน 3. คณะศึกษาศาสตร์ เพื่อรองรับหลักสูตรการศึกษาสาขาต่างๆ โดยเฉพาะสาขาอิสลามศึกษาและอาเซียนศึกษา ซึ่งจะก่อให้เกิดความเข้าใจอันดีในสังคมโลก และตรงตามศักยภาพ ความต้องการ รวมถึงอัตลักษณ์ของประชาชนในพื้นที่ และ 4. วิทยาการจัดการ เพื่อการพัฒนาด้านอาชีพ ธุรกิจการค้าชายแดน บริหารสาธารณสุข และยกระดับองค์ความรู้ด้านการบริหารจัดการในท้องถิ่น โดยมีสาขาวิชาต่างๆ ที่ตอบสนองแผนพัฒนาพื้นที่พิเศษ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้อีกด้วย

ผู้นำเสนอข่าว

yoko

Written by:

3,723 Posts

View All Posts
Follow Me :

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

You May Have Missed