ผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรี ลงพื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ติดตามและสอดส่องโครงการก่อสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่ง ริมแม่น้ำป่าสัก ที่ได้รับจัดสรรงบประมาณ 22 ล้านบาท เพื่อให้เกิดความคุ้มค่าและมีประสิทธิภาพสูงสุด

ผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรี ลงพื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ติดตามและสอดส่องโครงการก่อสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่ง ริมแม่น้ำป่าสัก ที่ได้รับจัดสรรงบประมาณ 22 ล้านบาท เพื่อให้เกิดความคุ้มค่าและมีประสิทธิภาพสูงสุด

นายสุวิทย์ วิจิตรโสภา ผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรี ลงพื้นที่จังหวัดพระนคร ศรีอยุธยา ติดตามและสอดส่องโครงการก่อสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่ง ริมแม่น้ำป่าสัก ที่ได้รับจัดสรรงบประมาณ 22 ล้านบาท เพื่อให้เกิดความคุ้มค่าและมีประสิทธิภาพสูงสุด

วันนี้ (22 มิ.ย.66) นายสุวิทย์ วิจิตรโสภา ผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรี พร้อมคณะ เดินทางมาลงพื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เพื่อติดตามและสอดส่องโครงการก่อสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่งริมแม่น้ำป่าสัก บริเวณหมู่ที่ 2 ตำบลบางพระครู อำเภอนครหลวง จังหวัดพระนครศรี อยุธยา ซึ่งได้รับจัดสรรงบประมาณ 22 ล้านบาท โดยมี คณะกรรมการ ก.ธ.จ.อยุธยา สำนักงาน ป.ป.ท.เขต และผู้เกี่ยวข้อง ร่วมลงพื้นที่ หลังจากนั้น นายสุวิทย์ วิจิตรโสภา ผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรี ได้เดินทางมาเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการธรรมาภิบาลจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ครั้งที่ 2/2566 ณ ห้องประชุมบึงพระราม ชั้น 1 ศาลากลางจังหวัดพระนครศรีอยุธยา

นายสุวิทย์ วิจิตรโสภา กล่าวว่า การลงพื้นที่ในครั้งนี้ เพื่อติดตามและสอดส่องโครงการก่อสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่งริมแม่น้ำป่าสัก บริเวณหมู่ที่ 2 ตำบลบางพระครู อำเภอนครหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ความยาว 200 เมตร ซึ่งเป็นโครงการที่สำนักงานโยธาธิการและผังเมืองจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นผู้รับผิดชอบ งบประมาณ 22 ล้านบาท เริ่มสัญญาเมื่อวันที่ 27 ธันวาคม 2565 ซึ่งจะสิ้นสุดสัญญาในวันที่ 22 กันยายน 2566 รวมระยะเวลาดำเนินการ 300 วัน สำหรับการก่อสร้างเขื่อนดังกล่าว ปัจจุบัน มีความคืบหน้ากว่า 82.35% ซึ่งถือว่าเร็วกว่าแผนที่กำหนดไว้ 22.83%

ทั้งนี้ จากติดตามและสอดส่องการก่อสร้างนี้ พบว่า โครงสร้างได้มาตรฐาน มั่นคง ซึ่งจะทำให้เกิดประโยชน์ในการป้องกันการกัดเซาะริมตลิ่ง ในขณะเดียวกัน จะป้องกันการทรุดตัวของดินในหน้าแล้งอีกด้วย โดยภาพรวมโครงการนี้ถือว่าเป็นไปตามแผนและเป็นประโยชน์ชัดเจน จากนี้จะไปดูในรายละเอียดอีกทีว่าประเด็นไหนที่ส่งผลกระทบต่อประชาชน ทางกรรมการ ก.ธ.จ. จะให้ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะ ที่เป็นประโยชน์ตามแนวทางที่ควรต่อไป
นอกจากนี้ ประโยชน์ในการป้องกันน้ำกัดเซาะตลิ่งทรุดแล้ว ยังบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชน วัด และโรงเรียน ที่อยู่ตามแนวเขื่อนดังกล่าว

อีกทั้งตอบสนองความต้องการของชุมชน เมื่อฤดูน้ำหลากตลิ่งก็จะถูกน้ำกัดเซาะจากกระแสน้ำที่ไหลแรง และเมื่อถึงฤดูแล้งปริมาณน้ำลดก็จะเกิดปัญหาตลิ่งทรุดตัว ซึ่งปัจจุบันสถานการณ์การทรุดตัวตามแนวตลิ่งริมแม่น้ำป่าสัก มีการขยายตัวเป็นวงกว้างขึ้นในแต่ละปี ซึ่งหากปล่อยไว้อาจทำให้สิ่งก่อสร้างของทางประชาชนเกิดความเสียหายและพังทลายได้ ดังนั้น จึงจำเป็นต้องมีการก่อสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่งเพื่อป้องกันความเสียหายที่เกิดขึ้น ความยาว 200 เมตร เพื่อเสริมสร้างความมั่นคงและปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน

อย่างไรก็ตาม จากการลงพื้นที่ติดตามพบว่าโครงการยังไม่เสร็จสมบูรณ์ โดยเน้นย้ำให้สำนักงานโยธาธิการและผังเมืองจังหวัดพระนครศรีอยุธยา คำนึงถึงรายละเอียดของมาตรฐานที่ควรจะเป็น เพื่อให้การใช้งบประมาณเกิดความคุ้มค่า และช่วยเหลือพี่น้องประชาชนในพื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดต่อไป


สุขุม แก้วกุดั่น อยุธยา

ผู้นำเสนอข่าว

ยัยแม่มด

Written by:

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *