คชอาณาจักร สุรินทร์ แดนสวรรค์ของช้างไทย

คชอาณาจักร สุรินทร์ แดนสวรรค์ของช้างไทย

“…ช้างป่าควรอยู่ในป่า เพียงแต่ต้องทำให้ป่านั้นมีอาหารช้างเพียงพอ การปฏิบัติ คือ ให้ไปสร้างอาหารช้างในป่าแปลงเล็กๆ และกระจาข กรณีช้างป่าออกมาที่ชายป่า ต้องให้ความปลอดภัยกับช้างป่า…”

พระราชดำรัส พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดซ รัชกาลที่ ๙ พระราชทานเมื่อวันที่ ๕ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๔๒กรณีการจัดการความขัดแย้งคนกับช้างป่า อุทยานแห่งชาติกุยบุรี

..ช้างป่าเป็นสัตว์ที่พระเข้าอยู่หัวทรงรัก ทรงห่วงใย โดยเฉพาะร้างทางกุยบุรีและแก่งกระจาน ทรงห่วงใย มาดลอด ทรงช่วยหาที่อยู่ที่กินให้ ช้างจะได้ไม่รบกวนคน คนกับช้างจะได้มีปัญหากันน้อยที่สุด เช่น ที่กุยบุรี ประจวบดีรีขันธ์ ช้างมีความสำคัญมาแต่ดรั้งประวัติศาสตร์ เดยช่วยรักษาบ้านเมือง กู้บ้านกู้เมือง ดังนั้น ขอให้ช่วยกันดูแล มิให้ช้างถูกฆ่าอย่างทารุณเยี่ยงนี้ เพื่อจะได้ไม่ผิดพระราชประสงค์ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงตั้งพระทัยที่จะให้มีการอนุรักษ์ช้างให้เป็นสัตว์คู่แผ่นดินสืบไป….”

พระราชเสาวนีย์ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ ๙ เมื่อวันที่ ๕ มกราดม พ.ศ.๒๕๕๕ เมื่อครั้งเกิดปัญหาช้างป่าแก่งกระจานถูกฆ่าตาย

คนจำนวนมากอาจสงสัยว่า ปัญหาช้างบ้านตกงานที่ควาญเคยนำมาเดินเร่ขายอาหารให้ผู้คนตามแหล่งท่องเที่ยวในกรุงเทพฯ และเมืองใหญ่อื่นๆ ที่สมัยหนึ่งเราพบเห็นอยู่บ่อยครั้ง มาวันนี้ช้างเลี้ยงและควาญเหล่านั้นหายไปไหน ปัญหาช้างเร่ร่อนถูกแก้ไขไปได้อย่างไร

คำตอบส่วนหนึ่ง คือ การเกิดขึ้นของโครงการคชอาณาจักร จังหวัดสุรินทร์ ซึ่งมีองค์การสวนสัตว์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ เป็นหน่วยงานรับผิดชอบด้วยการน้อมนำพระราชเสาวนีย์ของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิดิ์ พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ 9 ที่ทรงมีความห่วงใยต่อสถานการณ์วิกฤตช้างไทยในขณะนั้น และโปรดให้หน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องช่วยกันดูแล อนุรักษ์ และคุ้มครองช้างเลี้ยงให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น

คชอาณาจักรเริ่มมีบทบาทตั้งแต่ปี พ.ศ. 2552 มีเป้าหมายเพื่อรวบรวม และจัดระเบียบช้างเลี้ยงที่เจ้าของหรือดวาญเคยพาเดินทางออกไปเร่ร่อนสร้างปัญหาอยู่ตามเมืองใหญ่ให้กลับเข้ามาอยู่รวมกันในถิ่นฐานแผ่นดินของช้าว บ้านเกิดของตัวเอง โดยองค์การสวนสัตว์ได้เช่าพื้นที่ป่าเสื่อมโทรมจากกรมบำไม้และองค์การอุดสาหกรรมป่าไม้ รวมเนื้อที่กว่า 3,000 ไร่ ในเขตตำบลกระโพ อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์ ให้เป็นเหมือนอาณาจักรสำหรับดูแลช้าง และคนเลี้ยงหรือควาญ ให้มีที่อยู่ทำกิน มีรายได้ที่เหมาะสมสามารถเลี้ยงตัวเอง และครอบครัวได้ภายใต้คุณภาพชีวิตที่ดี

ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา เราได้รับงบประมาณสนับสนุนจากรัฐบาลอย่างต่อเนื่อง อาทิ เงินเดือนค่าอาหารที่จ่ายให้ช้างที่เข้าร่วมโครงการเป็นจำนวน 10,800 บาทต่อเชือกทุกเดือน และมีหญ้าอาหารที่เราแจกจ่ายให้ช้าง 3 ครั้งต่อสัปดาห์ รวมกับโครงการแปลงปลูกหญ้าที่เรามอบหญ้าพันธุ์ให้แก่ควาญข้างเพื่อให้เขานำไปปลูกดูแลให้เติบโตขึ้นเอง ซึ่งสามารถช่วยลดทอนค่าใช้จ่ายลงไปได้อีกทางหนึ่ง จากเมื่อเริ่มต้นเรามีช้างเลี้ยงคืนถิ่นเข้ามาร่วมโครงการในหลักสิบเชือก ต่อมีช้างที่เข้ามาอยู่ในความดูแลของคชอาณาจักรแล้วทั้งสิ้นประมาณ 160 เชือก และล่าสุดรัฐบาลยังได้เพิ่มงบประมาณในการดูแลช้างให้แก่คชอาณาจักรอย่างเต็มศักยภาพได้เป็นจำนวน 200 เชือก

คชอาณาจักร เราเร่งพัฒนาพื้นที่ในโครงการทุกๆ ต้าน โดยเฉพาะระบบโครงสร้างขั้นพื้นฐาน เช่น ถนนหนทาง ระบบน้ำ ระบบไฟฟ้ และอื่นๆ ก็พัฒนาขึ้นจนเกือบครบถ้วนสมบูรณ์ อีกด้านหนึ่งเรายังได้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย หรือ กฟผ. ที่เข้ามาร่วมสนับสนุนงบประมาณในการปลูกป่าอย่างต่อเนื่อง และการปลูกป่าก็ยังได้รับการปลูกเสริมขยายพื้นที่ต่อไปเพื่อให้เกิดแหล่งพืชอาหารสำหรับช้าง และทำให้เกิร่มเงา ความร่มเย็น ความชุ่มชื้นแก่ผืนแผ่นดินต่อไปในอนาคต”

นอกจากงบประมาณประจำปีที่รัฐบาลมอบให้เป็นคำใช้จ่ายพื้นฐานแล้ว ยังเป็นเรื่องน่ายินดีที่มีภาคเอกชนส่วนหนึ่งทั้งในและต่างประเทศ รวมถึงผู้มีจิตตรัทธาอีกส่วนหนึ่งที่เห็นคุณค่ความสำคัญของโครงการคซอาณาจักร ได้ก้าวเข้ามารวมสนับสนุนผลักดันโครงการต่างๆ ที่เราคิดฝันไว้ให้เกิดขึ้นจริงโดยเฉพาะการสนับสนนว่าจ้างทีมสัตวแพทย์เข้ามารักษาช้างประจำโครงการเป็นชุดแรก รวมไปถึงรถโมบายรักษาช้างทีเพียบพร้อมไปด้วยเครื่องมืออุปกรณ์การรักษาที่ครบครัน ซึ่งในอนาคตหากโรงพยาบาลช้างของเราเติบโต และมีศักยภาพมากขึ้น เราปรารถนาที่จะเป็นศูนย์กลางในการรับดูแลรักษาช้างเลี้ยงที่อยู่ในแถบอีสานตอนใต้ทั้งหมดโดยไม่จำกัดเพียงแค่ช้างที่อยู่ในโครงการของเราเท่านั้น

สิ่งที่คาดหวัง คือ การดึงแนวร่วมภาคเอกชนภายนอกเข้ามาร่วมพ้ฒนาคชอาณาจักรให้เติบโตก้าวหน้าขึ้นไป ซึ่งในอนาคตอยากเห็นคชอาณาจักรมีสถานะเป็นศูนย์กลางแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของคนกับช้าง ซึ่งมีทั้งเรื่องราวของการอนุรักษ์สายพันธุ์ช้างไทยและการอนุรักษ์วัฒนธรรมของชาวกวยที่มีการนำเสนอพิธีกรรม ประเพณีดั้งเดิมต่างๆ ที่มีคุณค่า ซึ่งทุกวันนี้หลงเหลืออยู่น้อยมาก สอดแทรกรูปแบบท่องเที่ยวในแนววิถีชีวิต พานักท่องเที่ยวนั่งหลังช้างเดินชมธรรมชาติตามเส้นทาง หรือพาข้างลงอาบน้ำในลำน้ำ สร้างคชอาณาจักรเพื่อให้สาธาณชนได้รับรู้ ได้เห็นคุณค่า และก้าวไปข้างหน้าอย่างมั่นคง

ขอขอบคุณ :

คุณวันชัย ตันวัฒนะ. รองผู้อำนวยการองค์การสวนสัตว์แห่งประเทศไทย

คุณกรีติคุณ กรีธาพล หัวหน้าฝ่ายอำนวยการ ปฏิบัติงานแทน ผู้จักการโครงการคชอาณาจักร จังหัวดสุรินทร์

คุณมาลัย มินศรี ผู้จัดการโครงการเสริมพลังและยกระดับการท่องเที่ยวโดยชุมชนสู่ธุรกิจชุมชนลดปัจจัยเสี่ยงจากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และอบายมุข

ผู้นำเสนอข่าว

มังกรทลายฟ้า

Written by:

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *