สนข.เดินหน้าสำรวจออกแบบ-ศึกษาและพัฒนาความเป็นไปได้โครงการพัฒนาท่าเรือชุมพร(แหลมริ่ว) อ.หลังสวน จ.ชุมพร

สนข.เดินหน้าสำรวจออกแบบ-ศึกษาและพัฒนาความเป็นไปได้โครงการพัฒนาท่าเรือชุมพร(แหลมริ่ว) อ.หลังสวน จ.ชุมพร

สนข.เดินหน้าสำรวจออกแบบ-ศึกษาและพัฒนาความเป็นไปได้โครงการพัฒนาท่าเรือชุมพร(แหลมริ่ว) อ.หลังสวน จ.ชุมพร

วันนี้(18 สค. 66) เวลา 9.30 น. ณ ห้องอวยชัยแกรนด์บอลรูม ชั้น 2 โรงแรมอวยชัยแกรนด์ ต.ท่ามะพลา อ.หลังสวน จ.ชุมพร นายสมพร ปัจฉิมเพ็ชร รอง ผวจ.ชุมพร เป็นประธานเปิดการประชุมรับฟังความคิดเห็นและแนวทางประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม โครงการพัฒนาท่าเรือบริเวณแหลมริ่ว อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร รวมทั้งรวบรวมข้อมูลและสรุปรายละเอียดของโครงการ ตลอดจนรับฟังความคิดเห็นจากหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชนและภาคประชาชนในพื้นที่ที่เกี่ยวข้องของ โครงการพัฒนาท่าเรือบริเวณแหลมริ่ว อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร ภายใต้โครงการศึกษาเพื่อใช้ในการออกแบบและศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม และวิเคราะห์รูปแบบการพัฒนาการลงทุน(Business Development Model) ของโครง การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่งระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้ เพื่อเชื่อมโยงการขนส่งระหว่างอ่าวไทยและอันดามัน (โครงการแลนด์บริดจ์) โดยมีประชาชนเข้าร่วมรับฟังแน่ขนัดจนต้องเสริมเก้าอี้เพิ่มร่วม 1,000 คน

ดร.จิรโรจน์ ศุกลรัตน์ ผอ.สำนักส่งเสริมระบบการขนส่งและจราจรในภูมิภาค(สนข) กล่าวว่า จากตำแหน่งที่ตั้งของประเทศไทย ที่มีความได้เปรียบทางที่ตั้งและมีภูมิศาสตร์ที่มีทางศักย ภาพสามารถเปิดสู่ทะเลทั้งสองฝั่ง อันเป็นโอกาสที่จะก่อให้เกิดประโยชน์จากทำเลที่ตั้ง เพื่อนำมาพัฒนาเป็นเส้นทางทางในการขนส่งสินค้าทางทะเล เพื่อเชื่อมโยงฝั่งอ่าวไทยและฝั่งอันดามันอันจะเป็นการสร้างรายได้เข้าประเทศได้ในอนาคต และยังเป็นการสนับสนุนการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและศักยภาพทางการค้าของประเทศไทยในกลุ่มประเทศที่อยู่ทางด้านมหาสมุทรอินเดีย ทั้งยังสามารถรองรับและส่งเสริมโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor : EEC) ซึ่งเป็นนโยบายหลักที่สำคัญของประเทศ

ดังนั้น จึงเห็นว่ามีความจำเป็นอย่างยิ่งในการพัฒนาเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดจากจุดยุทธศาสตร์ของไทย ที่เป็นจุดเชื่อมต่อ 2 มหาสมุทรคือ แปซิฟิกกับมหาสมุทรอินเดีย (Landbridge) อันจะทำให้ประเทศไทยอยู่ในจุดยุทธศาสตร์ที่สำคัญในการผลิต การคมนาคมขนส่งของเอเชียในอนาคต กระทรวงคมนาคม จึงเห็นควรให้มีการศึกษาความเหมาะสม ออกแบบเบื้องต้น ประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม วิเคราะห์รูปแบบโมเดลการพัฒนาการลงทุน (Business Development Model) ของโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่ง เพื่อพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้ให้เชื่อมโยงการขนส่งระหว่างอ่าวไทยและอันดามันเข้าด้วยกัน

สำหรับโครงการพัฒนาฯ ดังกล่าว จะมีโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งครบทุกรูปแบบ ประกอบด้วย ท่าเรือ ถนน และรถไฟ เพื่อสนับสนุนและเชื่อมโยงการขนส่งระหว่างอ่าวไทยและอันดามัน โดยมีท่าเรือน้ำลึก 2 แห่ง ประกอบด้วย ท่าเรือฝั่งชุมพร ที่มีที่ตั้งของโครงการจะไปเชื่อมโยงฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิก(ฝั่งตะวันออกของไทย) และท่าเรือฝั่งระนอง ที่เชื่อมต่อกับฝั่งมหาสมุทรอินเดีย(ฝั่งตะวันตกของไทย) ซึ่งมีแนวคิด พัฒนาสร้างท่าเรือให้เป็นท่าเรือน้ำลึกที่ทันสมัย โดยจะนำระบบออโตเมชั่นมาใช้ อันเป็นการยกระดับท่าเรือสู่ Smart Port
ทั้งนี้ โครงการพัฒนาท่าเรือบริเวณแหลมริ่ว ในพื้นที่ อ.ทุ่งตะโก ที่ติดกับ อ.หลังสวน จ.ชุมพร จะต้องมีการจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม(EHIA) ตามประกาศของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยจะต้องจัดมีการรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียตามประกาศของสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในเรื่อง แนวทางการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนในพื้นที่ ซึ่งก็อยู่ในกระบวนการจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2562

สำหรับการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ครั้งที่ 1 ในวันนี้มีวัตถุประสงค์หลักคือ เพื่อรับฟังข้อคิดเห็นและสรุปข้อกังวลของประชาชนและผู้มีส่วนได้เสียของพื้นที่โครงการ รวมถึงประชาชนจะได้มีข้อเสนอแนะต่าง ๆ ต่อขอบเขตการศึกษาและแนวทางการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมของโครงการ การประเมินทางเลือกของโครงการ เพื่อจะได้นำไปพิจารณาประกอบการปรับขอบเขตการศึกษาให้มีความสมบูรณ์และครอบคลุมมากยิ่งขึ้น อันจะก่อประโยชน์ทั้งในภาพรวมเศรษฐกิจของประเทศและในภาพของการพัฒนาท้องถิ่นในทุกระดับ เพื่อให้ประชาชนได้รับประโยชน์มากที่สุด

ทั้งนี้ ประชาชนทุกท่านยังสามารถติดตามความก้าวหน้าของโครงการ ได้ที่
• โครงการแลนด์บริดจ์ : www.landbridgethai.com
• โครงการพัฒนาท่าเรือบริเวณแหลมริ่ว : www.ehia-landbridge-chumphon-port.com อีกด้วย.

ที่มา:ข่าวความมั่นคงออนไลน์

ผู้นำเสนอข่าว

yoko

Written by:

3,740 Posts

View All Posts
Follow Me :

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *