สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง ชู การแก้ไขความยากจน บนพื้นที่สูง สำเร็จได้ด้วย การทำเกษตรอินทรีย์ ตามแนวทางผลสำเร็จของโครงการหลวง มาปรับใช้

สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง ชู การแก้ไขความยากจน บนพื้นที่สูง สำเร็จได้ด้วย การทำเกษตรอินทรีย์ ตามแนวทางผลสำเร็จของโครงการหลวง มาปรับใช้

สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง ชู การแก้ไขความยากจน บนพื้นที่สูง สำเร็จได้ด้วย การทำเกษตรอินทรีย์ ตามแนวทางผลสำเร็จของโครงการหลวง มาปรับใช้

จากข้อมูลแผนที่ความยากจนของรัฐบาล (TPMAP) แสดงให้เห็นว่า กลุ่มคนที่ยังมีความยากจนส่วนใหญ่อยู่บนพื้นที่สูงและอยู่ตามแนวชายขอบของไทย ประกอบอาชีพการเกษตรเป็นหลัก หนึ่งในสาเหตุของความยากจน คือ เกษตรกรสร้างผลิตผลเกษตรได้น้อยเนื่องจากผลผลิตต่อพื้นที่ต่ำลง ต้นทุนการผลิตสูง และมีการใช้สารเคมีเกษตรอย่างไม่เหมาะสม ทำให้เกิดการปนเปื้อนของสารเคมีเกษตรและตกค้างทั้งในผลิตผล ดิน และน้ำ รวมทั้งการบุกรุกป่าเพื่อเพิ่มพื้นที่ทำเกษตรให้สามารถผลิตพืชได้จำนวนมากสำหรับขายเป็นรายได้เลี้ยงครอบครัว ในขณะที่ราคาผลผลิตค่อนข้างต่ำและผันผวน มีช่องทางการตลาดน้อย

นางสาวเพชรดา อยู่สุข รองผู้อำนวยการสถาบัน ด้านการพัฒนาสถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง กล่าวว่า สวพส. มีภารกิจในการสนับสนุนการดำเนินงานของมูลนิธิโครงการหลวง และการนำองค์ความรู้และผลสำเร็จของโครงการหลวงไปปรับใช้ในพื้นที่สูงอื่น ๆ ของประเทศ โดยเฉพาะองค์ความรู้ด้านการผลิตพืชที่ปลอดภัยและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมนั่นคือ การปลูกพืชในระบบเกษตรอินทรีย์ เพื่อให้เป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการทำการเกษตรบนพื้นที่สูงที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และช่วยลดปัญหาความยากจนโดยสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรมากกว่าการทำการเกษตรแบบเดิม ตลอดจนสร้างโอกาสทางการตลาดซึ่งทำให้เกษตรกรมีตลาดที่แน่นอนและมีรายได้ที่มั่นคง

โดยการมีส่วนร่วมของเกษตรกรบนพื้นที่สูง นักวิจัย นักพัฒนาและส่งเสริม และหน่วยงานร่วมบูรณาการทั้งภาครัฐ และภาคเอกชน ในการรวมกลุ่มกันของเกษตรกรเพื่อจัดการปัจจัยการผลิตทางการเกษตร ได้แก่ ปุ๋ยหมักอินทรีย์ ปัจจัยการผลิตชีวภาพ เช่น ชีวภัณฑ์ น้ำหมักชีวภาพฯลฯ และวางแผนการผลิตผักอินทรีย์ให้ตอบสนองต่อความต้องการของตลาด รวมถึงทีมนักวิจัยของ สวพส. และมูลนิธิโครงการหลวงร่วมกันศึกษาวิจัยเทคโนโลยี อาทิ การคัดเลือก/ทดสอบพันธุ์พืช การผลิตเมล็ดพันธุ์ที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ การวิจัยและพัฒนาชีวภัณฑ์สำหรับป้องกันกำจัดโรคแมลงทดแทนสารเคมีเกษตร

รวมทั้ง มีการวางแผนการขนส่งร่วมกัน เพื่อให้เกิดความคุ้มค่า สำหรับการบูรณาการการทำงานร่วมกับภาคส่วนอื่น ๆ ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน อาทิ บริษัทเอกชนบางแห่งยังช่วยสนับสนุนปัจจัยการผลิต คิดเป็นมูลค่า 300,000 บาท ให้กับกลุ่มเกษตรกรในการจัดทำโรงเรือนเพิ่มเติม เพื่อเพิ่มปริมาณการปลูกให้เพียงพอต่อความต้องการของบริษัทด้วย โดย เจ้าหน้าที่ของ สวพส. จะเป็นผู้ประสานงาน ซึ่งอาศัยกลไกของแผนแม่บทหรือแผนปฏิบัติการด้านการพัฒนาพื้นที่สูงอย่างยั่งยืนระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2566-2570) และแผนปฏิบัติการด้านการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวง ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2566-2570) ซึ่งจะมีหน่วยงานร่วมบูรณาการประมาณ 33 หน่วยงาน

ปัจจุบันในพื้นที่ ที่ สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง ดำเนินงาน ภายใต้โครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวง 19 แห่ง และโครงการรักษ์น้ำเพื่อพระแม่ของแผ่นดิน 2 แห่ง ใน 8 จังหวัด มีเกษตรกร 452 คน พื้นที่รวม 1,441.702 ไร่ ได้รับการรับรองแหล่งผลิตมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ประเทศไทย (Organic Thailand) แบ่งเป็น เกษตรกรที่ปลูกกาแฟอินทรีย์ 339 ราย พื้นที่ 1,245.72 ไร่ และเกษตรกรที่ปลูกผักอินทรีย์ 113 ราย พื้นที่ 195.982 ไร่ สามารถสร้างรายได้ให้กับเกษตรกร ตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 – 2565 รวมเป็นเงิน 44,264,549 บาท

นางสาวเพชรดา อยู่สุข กล่าวเพิ่มเติมว่า ปัจจุบันตลาดยังมีความต้องการผลิตผลอินทรีย์ทั้งกาแฟและพืชผักอีกมาก ซึ่งกลุ่มเกษตรกรที่ดำเนินการอยู่ยังไม่สามารถส่งผลิตผลได้ครบตามแผนความต้องการของตลาด จึงเป็นโอกาสและแรงจูงใจในการขยายการส่งเสริมการปลูกพืชอินทรีย์ โดย สวพส. ยังคงมุ่งมั่นที่จะขยายงานออกไปให้ครอบคลุมพื้นที่โครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงทั้ง 44 แห่ง รวมทั้งการขยายไปยังพื้นที่สูงที่อยู่ใกล้เคียง โดยอาศัยกลุ่มเกษตรกรที่ประสบความสำเร็จเป็นต้นแบบหรือตัวอย่างที่ดีในการสร้างแรงบันดาลใจให้กับเกษตรกรกลุ่มใหม่ ๆ ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้และปรับเปลี่ยนวิถีการทำเกษตรแบบเดิมเป็นการทำเกษตรที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมโดยเฉพาะเกษตรอินทรีย์ต่อไป

ที่มา:ข่าวความมั่นคงออนไลน์

ผู้นำเสนอข่าว

yoko

Written by:

3,746 Posts

View All Posts
Follow Me :

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *