“ลำพูน 1 ใน 4 จังหวัดนำร่องของไทย” ประกาศความสำเร็จ ซื้อ-ขายคาร์บอนเครดิตครั้งแรกของไทย

“ลำพูน 1 ใน 4 จังหวัดนำร่องของไทย” ประกาศความสำเร็จ ซื้อ-ขายคาร์บอนเครดิตครั้งแรกของไทย

“ลำพูน 1 ใน 4 จังหวัดนำร่องของไทย” ประกาศความสำเร็จ ซื้อ-ขายคาร์บอนเครดิตครั้งแรกของไทย

ตามที่ประเทศไทย ได้เข้าร่วมการประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สมัยที่ 26 หรือ COP 26 ได้ประกาศเป้าหมายที่จะบรรลุความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ภายในปี ค.ศ. 2050 และจะปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Emission) ภายในปี ค.ศ. 2065 นั้น

จังหวัดลำพูน จึงได้แต่งตั้งคณะทำงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศระดับจังหวัด (จังหวัดลำพูน) และมอบหมายให้มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เก็บรวบรวมข้อมูลการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกของกิจกรรมต่าง ๆ คาดการณ์ความเสี่ยงผลกระทบจาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และจัดทำแผนลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของจังหวัด

ผลการศึกษาเบื้องต้นพบว่า การปล่อยก๊าซเรือนกระจกในปีฐาน(กำหนดปี พ.ศ. 2562 เป็นปีฐานของทุกจังหวัด) จังหวัดลำพูน มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจก จำนวน 1,672,482 ตันคาร์บอนไดออกไซต์เทียบเท่า ซึ่งเกิดจากภาคส่วนการใช้พลังงานไฟฟ้าและน้ำมันเชื้อเพลิงในกระบวนการผลิตของภาคอุตสาหกรรมและการก่อสร้างต่าง ๆ คิดเป็นร้อยละ 46.19 รองลงมา คือ ภาคการจัดการของเสีย(การจัดการขยะและน้ำเสีย) ร้อยละ 23.77 ภาคการขนส่ง ร้อยละ 15.77 ภาคการเกษตร ป่าไม้ และการใช้ประโยชน์ที่ดิน ร้อยละ 13.98 และภาคการใช้ผลิตภัณฑ์สารเคมีในกระบวนการอุตสาหกรรม ร้อยละ 0.29 ตามลำดับ

ขณะเดียวกัน มีการดูดกลับและกักเก็บก๊าซเรือนกระจก จากภาคส่วนการเกษตรและป่าไม้ จำนวน 1,807,856 ตันคาร์บอนไดออกไซต์เทียบเท่า หรือมีดูดกลับและกักเก็บมากกว่าการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก 135,374 ตันคาร์บอนไดออกไซต์เทียบเท่า

อย่างไรก็ตาม หากไม่มีมาตรการในการลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก คาดการณ์ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ในปี 2573 จะมีการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้สูงถึง 2,157,977 ตันคาร์บอนไดออกไซต์เทียบเท่า (ข้อมูลดังกล่าวอยู่ระหว่างการรับรองขององค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก : อบก.)

ด้วยเหตุนี้ คณะทำงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศระดับจังหวัด (จังหวัดลำพูน) ได้เห็นชอบแผนการลดก๊าซเรือนกระจกของจังหวัดลำพูน ในการประชุมครั้งที่ 3 /2566 เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2566 ณ ห้องประชุมจามเทวี ศาลากลางจังหวัดลำพูน ประกอบด้วย

  • มาตรการระยะสั้น 13 มาตรการ โดยเริ่มดำเนินการได้ทันที (เวลา 1 – 2 ปี)
  • มาตรการระยะกลาง 11 มาตรการ คือมีความพร้อมแต่ขาดงบประมาณ เริ่มได้ใน 3 – 5 ปี และ
  • มาตรการระยะยาว 2 มาตรการ เนื่องจาก มีความเกี่ยวข้องกับกฎระเบียบข้อบังคับ กฎหมาย ใช้เวลามากกว่า 5 ปี

ดังนั้น เพื่อสร้างความเข้าใจและความตระหนักให้กับทุกภาคส่วนในระดับจังหวัด กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จึงมอบหมายให้สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัด จัดตั้งศูนย์ประสานงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและความหลากหลายทางชีวภาพ เพื่อเป็นแกนกลางในการสื่อสาร สร้างความรู้ ความเข้าใจ ส่งเสริม และสนับสนุนการบูรณาการการดำเนินงาน และประสานความร่วมมือ รวมทั้งการเชื่อมโยงการดำเนินงานร่วมกับภาคส่วนต่าง ๆ อีกทั้งเป็นต้นแบบ และขยายผลไปยังองค์กรร่วมดำเนินงาน ได้แก่ ภาคพลังงาน ภาคขนส่ง ภาคการจัดการของเสีย ภาคอุตสาหกรรม ภาคการเกษตร ป่าไม้ และการใช้ประโยชน์จากที่ดิน เพื่อลดการปลดปล่อยและเป็นแหล่งกักเก็บและดูดกลับก๊าซเรือนกระจก อย่างยั่งยืนต่อไป

ทั้งนี้ จังหวัดลำพูน นับเป็น 1 ใน 4 จังหวัดนำร่องของประเทศไทย ที่ได้ประกาศความสำเร็จการซื้อ-ขายคาร์บอนเครดิตครั้งแรกของไทย เมื่อ 21 มิถุนายน 2566 ที่ผ่านมา โดยนำความสำเร็จในการจัดการขยะอาหารจากครัวเรือน (โครงการถังขยะเปียกลดโลกร้อน) ซึ่งได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องเป็นเวลากว่า 10 ปี เบื้องต้นได้นำความสำเร็จของโครงการถังขยะเปียกลดโลกร้อนของจังหวัดลำพูน ในเดือนกรกฎาคม – กันยายน 2565 จำนวน 3 เดือน เข้าสู่กระบวนการรับรองปริมาณความสำเร็จในโครงการลด/กักเก็บก๊าซเรือนกระจก จากการดำเนินโครงการ T-VER ซึ่งผ่านกระบวนการตรวจสอบ และทวนสอบ จากผู้ประเมินภายนอก และได้รับการรับรองจากคณะกรรมการองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจกมาแล้ว จำนวน 806 ตันคาร์บอนไดออกไซต์เทียบเท่า ขายให้กับ บมจ.ธนาคารกสิกรไทย (KBANK) ในราคา 260 บาท/ตันคาร์บอนไดออกไซต์เทียบเท่า เป็นเงิน 209,560 บาท ในเฟสแรก สามารถแปลงความสำเร็จของโครงการฯให้กลายเป็นทุนกลับคืนสู่หมู่บ้าน/ชุมชนได้ และยังคงมุ่งมั่นที่จะต่อยอดความสำเร็จในการจัดการอย่างยั่งยืนต่อไป

ที่มา:ข่าวความมั่นคงออนไลน์

ผู้นำเสนอข่าว

yoko

Written by:

3,732 Posts

View All Posts
Follow Me :

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *