ลำพูนเปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกภาคส่วนในการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมเวิลด์ (ลำพูน) ส่วนขยาย ครั้งที่ 1 และ 2” ในพื้นที่ตำบลมะเขือแจ้ อำเภอเมืองจังหวัดลำพูน

ลำพูนเปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกภาคส่วนในการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมเวิลด์ (ลำพูน) ส่วนขยาย ครั้งที่ 1 และ 2” ในพื้นที่ตำบลมะเขือแจ้ อำเภอเมืองจังหวัดลำพูน

ลำพูนเปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกภาคส่วนในการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมเวิลด์ (ลำพูน) ส่วนขยาย ครั้งที่ 1 และ 2” ในพื้นที่ตำบลมะเขือแจ้ อำเภอเมืองจังหวัดลำพูน

ตลอดทั้งวันวันนี้(18 สิงหาคม 2566) ที่หอประชุมเทศบาลตำบลมะเขือแจ้ อำเภอเมืองจังหวัดลำพูน บริษัท เวิลด์ อินดัสเทรียล เอสเตท จำกัด ที่มีแผนจะดำเนินการจัดสรรที่ดินเพื่อการอุตสาหกรรมในรูปแบบนิคมอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ ได้ร่วมกับการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(กนอ.) ภายใต้ชื่อโครงการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมเวิลด์ (ลำพูน) จัดประชุมรับฟังความคิดเห็นต่อร่างข้อเสนอโครงการฯ ประกอบด้วย โครงการนิคมอุตสาหกรรมเวิลด์(ลำพูน) ส่วนขยาย ครั้งที่ 1 ซึ่งครอบคลุมเนื้อที่ส่วนขยาย 380.71 ไร่ (ช่วงเช้า) และโครงการนิคมอุตสาหกรรมเวิลด์(ลำพูน) 2 เนื้อที่ 621.78 ไร่ (ช่วงบ่าย) ซึ่งทั้ง 2 โครงการตั้งอยู่ในพื้นที่ตำบลมะเขือแจ้ อำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน โดย นายสันติธร ยิ้มละมัย ผู้ว่าราชการจังหวัดลำพูน มอบหมายให้ นายชาตรี กิตติธนดิตถ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดลำพูน เป็นประธานเปิดการประชุมฯโดยกล่าวว่าขอให้พี่น้องประชาชนในพื้นที่ได้แสดงความคิดเห็นอย่างเต็มที่ เพื่อให้การรับฟังความคิดเห็นในครั้งแรกนี้ (กำหนด 2 ครั้ง) ได้ข้อมูลไปจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) ต่อไป

ทั้งนี้ การศึกษาและประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมเพื่อประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพทั้งในด้านบวกและด้านลบจากการพัฒนาโครงการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อมและมาตรการติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อม โดยมีการดำเนินการ (1) ศึกษาบริเวณที่ตั้งโครงการ การใช้ประโยชน์ที่ดิน กลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมาย ระบบสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ มลพิษและการจัดการ อาชีวอนามัยและความปลอดภัย พื้นที่สีเขียวและแนวกันชน คนงานและพนักงานรวมทั้งการบริหารโครงการ (2) ศึกษาและวิเคราะห์สภาพแวดล้อมปัจจุบันบริเวณพื้นที่ ศึกษาทั้งในด้านทรัพยากรทางกายภาพ ทรัพยากรทางชีวภาพ คุณค่าการใช้ประโยชน์ของมนุษย์ และคุณค่าคุณภาพชีวิต ที่อาจได้รับผลกระทบจากการดำเนินโครงการทั้งในระยะก่อสร้างและระยะดำเนินการ (3) ประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่อาจเกิดขึ้นจากการดำเนินโครงการ ทั้งด้านทรัพยากรสิ่งแวดล้อมกายภาพ ทรัพยากรสิ่งแวดล้อมทางชีวภาพ คุณค่าการใช้ประโยชน์ของมนุษย์ คุณค่าต่อคุณภาพชีวิต และการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพ โดยพิจารณาเฉพาะปัจจัยที่ได้รับผลกระทบจากโครงการโดยตรงหรือทางอ้อมจากการดำเนินโครงการ ทั้งในระยะก่อสร้างและระยะดำเนินการ (4) เสนอแนะมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นจากโครงการเพื่อใช้ในการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อมให้เกิดขึ้นน้อยที่สุด ทั้งระยะก่อสร้างและระยะดำเนินการ (5) เสนอแนะมาตรการติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อม เพื่อเป็นการเฝ้าระวังและติดตามการเปลี่ยนแปลงคุณภาพสิ่งแวดล้อมในบริเวณพื้นที่ศึกษา รวมทั้งใช้ในการประเมินมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบที่โครงการนำมาปฏิบัติว่ามีความเหมาะสมเพียงใด ทั้งหมดนี้ เพื่อใช้ประกอบการอนุมัติ/อนุญาตของ กนอ.โดยภายหลังจากที่คณะกรรมการผู้ชำนาญการพิจารณารายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมโครงการอุตสาหกรรม และระบบสาธารณูปโภคที่สนับสนุน ได้ให้ความเห็นชอบแล้ว กนอ. จะนำเสนอคณะกรรมการ กนอ. เพื่อรับทราบผลการพิจารณารายงานฯ และจะดำเนินการจัดตั้งเขตนิคมอุตสาหกรรม และขั้นตอนอื่น ๆ ในกระบวนการที่ต้องขออนุมัติ/อนุญาตกับ กนอ. ในลำดับต่อไป

สำหรับ กฎหมาย กฎระเบียบประกาศที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมของโครงการฯ เช่น พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2561 , ประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่องกำหนดโครงการกิจการหรือการดำเนินการฯ พ.ศ 2561 หรือ ประกาศสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่องแนวทางการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมด้านสุขภาพ (ประกาศ ณ วันที่ 21 เมษายน 2565) เป็นต้น.

ที่มา:ข่าวความมั่นคงออนไลน์

ผู้นำเสนอข่าว

ยัยแม่มด

Written by:

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *