ตลอดหลายวันที่ผ่านมา ผู้ติดตามข่าวและนักเดินทางหลายท่านคงสภาพอากาศเกี่ยวข้องกับพายุไต้ฝุ่นขนุน ที่จากที่คาดว่าจะขึ้นฝั่งประเทศจีนกลับยูเทิร์นเกือบ 180 องศาไปขึ้นฝั่งประเทศญี่ปุ่นแทน แต่เชื่อว่าผู้อ่านจำนวนหนึ่งคงสงสัยว่าทำไมพายุลูกนี้ต้องชื่อขนุนกันแน่ๆ
ต้องขอเท้าความก่อนว่าพายุแบ่งออกเป็น 3 ระดับตามความเร็วลม คือ ดีเปรสชัน (ไม่เกิน 62 กม./ชม.), พายุโซนร้อน (63-118 กม./ชม.) และพายุหมุนเขตร้อน (ตั้งแต่ 119 กม./ชม.) โดยพายุหมุนเขตร้อนมีชื่อเรียกต่างกันออกไปตามแหล่งที่เกิด หากเกิดที่มหาสมุทรแปซิฟิกด้านตะวันตกจะเรียกว่า “ไต้ฝุ่น”
ส่วนประเทศที่มีสิทธิ์ส่งชื่อสำหรับตั้งชื่อได้ฝุ่นนั้นก็จะต้องเป็นสมาชิกคณะกรรมการไต้ฝุ่นแห่งองค์การอุตุนิยมวิทยาโลก (ESCAP/WMO Typhoon Committee) ซึ่งขณะนี้มีด้วยกัน 14 ราย เรียงตามอักษรละตินดังนี้
กัมพูชา
จีน
เกาหลีเหนือ
ฮ่องกง
ญี่ปุ่น
ลาว
มาเก๊า
มาเลเซีย
ไมโครนีเซีย
ฟิลิปปินส์
เกาหลีใต้
ไทย
สหรัฐ
เวียดนาม
แต่ละประเทศจะส่งไป 10 ชื่อ ใช้ตั้งชื่อพายุที่มีความรุนแรงตั้งแต่ระดับพายุโซนร้อนเรียงตามชื่อประเทศ เริ่มจากกัมพูชา ลูกต่อไปก็จะเป็นชื่อจากจีน เกาหลีเหนือ ฮ่องกง จนถึงเวียดนาม และวนอย่างนี้เรื่อยๆ จนครบ 140 ชื่อ และถ้าหากหมด 140 ชื่อนี้ก็จะเวียนไปใช้ชื่อแรกของกัมพูชาอีกครั้ง
หากพายุลูกปัจจุบันชื่อ “ขนุน” ของไทย ลูกต่อไปก็จะใช้ชื่อของสหรัฐ ซึ่งก็คือ “ลัง” (Lan) และถัดไปก็จะชื่อ “ซาวลา” (Saola) ตามด้วย “ดอมเรย” (ដំរី) ของกัมพูชา
อย่างไรก็ตาม ถ้าหากพายุนั้นสร้างความเสียหายรุนแรง เช่น มีผู้เสียชีวิตจำนวนมาก ประเทศต้นทางก็สามารถขอให้ปลดชื่อพายุดังกล่าวไม่ให้ใช้ในอนาคต
ส่วนไทยนั้นส่งชื่อทั้งหมด 10 ชื่อ ได้แก่
พระพิรุณ
กระท้อน
วิภา
บัวลอย
เมขลา
อัสนี
นิดา
ชบา
กุหลาบ
ขนุน
ไทยก็ส่งชื่อพายุไซโคลนด้วย
นอกจากนี้การที่ไทยตั้งอยู่ริมมหาสมุทรอินเดียด้วย ก็มีโอกาสในการตั้งชื่อพายุไซโคลนเช่นกัน ซึ่งรายชื่อพายุชุดใหม่นี้เริ่มใช้มาตั้งแต่ปี 2563 และใช้หลักการวนชื่อตามประเทศคล้ายๆ กับของพายุไต้ฝุ่น โดยไทยส่งทั้งหมด 13 ชื่อ ดังนี้
ศรีตรัง
มณฑา
เทียนหยด
บุหลัน
ภูตลา
ไอยรา
สมิง
ไกรสร
มัจฉา
มหิงสา
แพรวา
อสุรี
ธารา
ที่มา:sanook