“พิมพ์ชนก” แนะ WTO ตอบโจทย์ยุคใหม่

“พิมพ์ชนก” แนะ WTO ตอบโจทย์ยุคใหม่

นางพิมพ์ชนก พิตต์ฟีลด์ เอกอัครราชทูตผู้แทนถาวรไทยประจำองค์การการค้าโลกและองค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลก เปิดเผยว่า ตลอด 30 ปีของการก่อตั้งองค์การการค้าโลก (WTO) มาตั้งแต่ปี 2537 ทำให้การค้าโลกขยายตัวมาก เพราะการค้าโลกโปร่งใส มีเสถียรภาพ กำแพงภาษีที่เคยสูงมากในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 ได้ลดลงมามาก ทำให้ต้นทุนทางการค้าลดลงทั้งด้านภาษีและไม่ใช่ภาษี ลดความยากจนของสมาชิก

“ทั้งหมดนี้ส่งผลดีต่อการค้าไทย โดยทำให้การค้าระหว่างประเทศของไทยขยายตัวจาก 99,672 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี 2537 มาเป็น 571,934 ล้านเหรียญฯ ในปี 2566 หรือเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 6.21% ต่อปี เพราะไทยสามารถใช้โอกาสในการผลิตสินค้าที่ตนมีความได้เปรียบและส่งออกไปยังโลกได้ รวมทั้งสามารถนำเข้าวัตถุดิบหรือสินค้าจำเป็นในช่วงวิกฤติจากแหล่งอื่นๆได้ในราคาถูกลง”

อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันสภาวะแวดล้อมทางเศรษฐกิจการค้าเริ่มเปลี่ยนไป มีความขัดแย้งในหลายรูปแบบ มีการใช้มาตรการกีดกันการค้ามากขึ้น จากกระแสปกป้องตนเอง อีกทั้งมีปัญหาจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สิ่งแวดล้อม เกิดภัยพิบัติหรือโรคระบาดร้ายแรงที่กระทบการค้า ขณะที่ประเทศกำลังพัฒนาขนาดกลางและเล็กมีปัญหาการพัฒนาเศรษฐกิจและทำให้การค้าขยายตัวเพราะไม่สามารถเข้าถึงเงินทุน ไม่สามารถเพิ่มการค้าในภูมิภาคเดียวกันได้มากเพราะผลิตสินค้าใกล้เคียงกัน ไม่สามารถใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีสมัยใหม่และเศรษฐกิจดิจิทัล

“WTO ต้องคิดใหม่ ทำใหม่ ให้มีประเด็นเจรจาตอบโจทย์สมัยใหม่ได้ รวมทั้งต้องให้ความสำคัญกับการลดความเหลื่อมล้ำระหว่างประเทศพัฒนากับกำลังพัฒนา ซึ่งไทยมีบทบาทสำคัญในการร่วมผลักดันการหารือประเด็นใหม่ๆ เช่น ปฏิรูปภาคเกษตร กำหนดเกณฑ์พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ปรับเกณฑ์การค้าให้เอื้อต่อการแก้ปัญหาสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม ปฏิรูปกลไกระงับข้อพิพาท เพื่อมิให้ความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ลุกลามมากขึ้น ในช่วงที่ผ่านมา WTO ช่วยทำให้มูลค่าการค้าโลกเพิ่มขึ้นถึง 5 เท่า หรือขยายตัวเฉลี่ยปีละ 5.8% ด้วยมูลค่าสูงถึง 30.4 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯในปี 2566”.

ที่มา : ไทยรัฐออนไลน์
เว็บไซต์ : https://www.thairath.co.th/

ผู้นำเสนอข่าว

Hnoy

Written by:

3,889 Posts

View All Posts
Follow Me :

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *