ผู้ว่าฯ ลำพูน นำเสนอผลการขับเคลื่อนการจัดการขยะแบบมีส่วนร่วม ตามแผนปฏิบัติการลำพูนเมืองสะอาดสู่ความยั่งยืน ผ่านกิจกรรม Live Action ของกระทรวงมหาดไทย

ผู้ว่าฯ ลำพูน นำเสนอผลการขับเคลื่อนการจัดการขยะแบบมีส่วนร่วม ตามแผนปฏิบัติการลำพูนเมืองสะอาดสู่ความยั่งยืน ผ่านกิจกรรม Live Action ของกระทรวงมหาดไทย

ผู้ว่าฯ ลำพูน นำเสนอผลการขับเคลื่อนการจัดการขยะแบบมีส่วนร่วม ตามแผนปฏิบัติการลำพูนเมืองสะอาดสู่ความยั่งยืน ผ่านกิจกรรม Live Action ของกระทรวงมหาดไทย

วันนี้ (5 ตุลาคม 2566) เวลา 09.30 น. นายสันติธร ยิ้มละมัย ผู้ว่าราชการจังหวัดลำพูน นำหัว หน้าส่วนราชการจังหวัด ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และประชาชน ร่วมนำเสนอข้อ มูล การขับเคลื่อนการจัดการขยะแบบมีส่วนร่วม ตามแผนปฏิบัติการลำพูนเมืองสะอาดสู่ความยั่งยืน ผ่านกิจกรรม Live Action ของกระทรวงมหาดไทย ซึ่งมีการถ่ายทอดสดผ่าน Facebook ของกระทรวงมหาดไทย

ตามที่ กระทรวงมหาดไทย ได้รับเกียรติร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการจัดแสดงนิทรรศการนานา ชาติ Sustainability Expo 2023 ระหว่างวันที่ 2 – 8 ตุลาคม 2566 ณ ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร ภายใต้แนวคิด “สมดุลที่ดี เพื่อโลกทีดีกว่า” Good Balance, Better World ซึ่งได้กำหนดประเด็นขับเคลื่อน SDGs 76 จังหวัด 76 คำมั่นสัญญา เพื่อประเทศไทยที่ยั่งยืน เป็นหนึ่งในการจัดแสดงนิทรรศการแบบ Live Action ของกระทรวงมหาดไทย ซึ่ง กระทรวงมหาดไทยได้ดำเนินการคัดเลือก 16 จังหวัด ในการนำเสนอโครงการและกิจกรรมที่มีแนวทางการปฏิบัติที่ดี (Best-Practice) และจังหวัดลำพูน ได้รับการคัดเลือกเป็น 1 ใน 16 จังหวัดที่จะต้องนำเสนอผลงาน

สำหรับประเด็นที่จังหวัดลำพูนเลือกนำเสนอเป็นผลการดำเนินงานที่เห็นผลเป็นที่ประจักษ์ คือ การขับเคลื่อนการจัดการขยะแบบมีส่วนร่วม ตามแผนปฏิบัติการลำพูนเมืองสะอาดสู่ความยั่งยืน โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดลำพูน นำหัวหน้าสวนราชการจังหวัด และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน นำเสนอการดำเนินงาน ผ่านระบบ Zoom และถ่ายทอดสดไปยัง Facebook กระทรวงมหาดไทย โดยมีสำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดลำพูน สนับสนุนทีมถ่ายทอดสด (LIVE) ตลอดรายการ

ด้าน ผู้ว่าราชการจังหวัดลำพูน กล่าวว่า จังหวัดลำพูน ให้ความสำคัญกับการขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ในระดับพื้นที่ เพื่อ “บำบัดทุกข์ บำรุงสุข” ให้แก่ประชาชน และเพื่อ “สร้างสมดุลที่ดี เพื่อโลกที่ดีกว่า (Good Balance, Better World)” หนึ่งในความภาคภูมิใจของชาวลำพูน คือ การได้รับรางวัลชนะเลิศการประกวดการจัดการขยะมูลฝอยชุมชน “จังหวัดสะอาด” ระดับประเทศ จากกระทรวงมหาดไทย ตั้งแต่ปี 2560 จนถึงปัจจุบัน ซึ่งจังหวัดลำพูนครองแชมป์มากถึง 5 สมัย และเป็นแชมป์มากที่สุดในประเทศไทย และเราได้ถูกยกให้เป็นจังหวัดต้นแบบในการจัดการขยะมูลฝอยชุมชนยั่งยืน เมื่อปี 2565 จังหวัดลำพูนมุ่งเน้นการรักษามาตรฐานและต่อยอดความสำเร็จมีการขับเคลื่อนผ่านแผนปฏิบัติการจัดการขยะมูลฝอยชุมชน “จังหวัดสะอาด” และแผนปฏิบัติการลำพูนเมืองสะอาดสู่ความยั่งยืน ของจังหวัดลำพูน

โดยมีกิจกรรมที่นำแผนไปสู่การปฏิบัติได้อย่างมีประสิทธิผล ดังนี้

  1. โครงการถังขยะเปียกลดโลกร้อน
  2. โครงการ “ลำพูนเมืองสะอาด ปราศจากโฟม (No Foam)”
  3. โครงการ “คนลำพูนร่วมใจ ใส่ใจสิ่งแวดล้อม ลดรับ ลดให้ ลดใช้ถุงพลาสติกหูหิ้ว และหลอดพลาสติก”
  4. โครงการลำพูนเมืองน่าเยือนบ้านเฮือนน่าอยู่
  5. การจัดตั้งกองทุนขยะเพื่อสวัสดิการ 1 อปท. 1 กองทุน
  6. โมเดลศูนย์คัดแยกขยะ ศูนย์ราชการจังหวัดลำพูน

สำหรับแนวทางการขับเคลื่อนในปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 จังหวัดลำพูนมุ่งรักษามาตรฐาน คือ ยังคงให้มีการขับเคลื่อนกิจกรรมที่ได้ดำเนินการในปีที่ผ่านมาอย่างต่อเนื่อง และเป็นรูปธรรมต่อไป สำหรับการต่อยอดความสำเร็จ จะให้มีการคัดเลือก/ประกวดอำเภอน่าเยือนบ้านเฮือนน่าอยู่ หรืออำเภอสะอาด ประจำปี พ.ศ. 2567 โดยให้อำเภอมีการขับเคลื่อนงานเช่นเดียวกับระดับจังหวัด ที่มีการแบ่งงานกันทำโดยให้มีส่วนราชการระดับอำเภอรับผิดชอบ ในการขับเคลื่อนเป้าหมายที่กำหนดและมีการรวบรวมรายงานผลให้ที่ประชุมหัวหน้าส่วนประจำเดือนของอำเภอทราบทุกเดือนด้วย

ทั้งนี้ การจัดการขยะแบบมีส่วนร่วมของชาวจังหวัดลำพูน นับว่าเป็นการขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ (UN) เป้าหมายที่ 12 การสร้างหลักประกันให้มีแบบ แผนการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน และการบริหารจัดการอย่างมีส่วนร่วมของ 7 ภาคีเครือข่าย เพื่อสร้างการเป็นหุ้นส่วนความร่วมมือ (Partnership) ในการขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ทั้งในระดับท้องถิ่น และระดับโลก เป็นไปตามแนวทางการบริหารจังหวัดลำพูน “ลำพูนไม่ลำพัง รวมพลังเพื่อลำพูน”

ที่มา:ข่าวความมั่นคงออนไลน์

ผู้นำเสนอข่าว

ยัยแม่มด

Written by:

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

You May Have Missed