นักวิชาการ สงสัย ตร.ไม่ตั้งข้อหาเมาแล้วขับ คนขับรถหรูปัดเป่าแอลกอฮอล์

นักวิชาการ สงสัย ตร.ไม่ตั้งข้อหาเมาแล้วขับ คนขับรถหรูปัดเป่าแอลกอฮอล์

นักวิชาการ สงสัย ตร.ไม่ตั้งข้อหาเมาแล้วขับ คนขับรถหรูปัดเป่าแอลกอฮอล์ ขุดข้อมูลตอกกลับ ดื่มน้ำล้างกระเพาะ ลำไส้ ก่อนขอตรวจเลือด มีผลลดระดับแอลกอฮอล์ สะกิดสังคมต้องยอมพวกมีเงิน เมินกฎหมายก่ออุบัติเหตุซ้ำซาก

เมื่อวันที่ 10 ม.ค. ดร.นพ.มูฮัมมัดฟาห์มี ตาเละ นักวิชาการศูนย์วิจัยปัญหาสุรา กล่าวว่า จากรายงานข่าวมีผู้ขับรถหรูเบนท์ลีย์ บนทางพิเศษเฉลิมมหานคร จากถนนสุขสวัสดิ์มุ่งหน้าไปดินแดง ด้วยความเร็ว อีกทั้งยังมีพฤติกรรมขับแซงซ้ายแล้วเบี่ยงขวาก่อนจะพุ่งเข้าชนท้ายรถยนต์มิตซูบิชิ ปาเจโร่ สีดำ ที่วิ่งอยู่เลนกลาง เสียหลักหมุนพุ่งชนขอบทางติดช่องทางขวาสุด และชนเข้ากับรถดับเพลิง อปพร.บางรัก ที่กำลังเดินทางไประงับเหตุไฟไหม้ย่านอุดมสุข เป็นเหตุให้มีผู้บาดเจ็บหลายราย ต่อมาเจ้าหน้าที่อาสาสมัครสังเกตว่าผู้ขับรถหรูมีอาการมึนเมา จึงขอให้มีการเป่าเครื่องตรวจวัดปริมาณแอลกอฮอล์ แต่เจ้าตัวกลับไม่ยอม และพยายามไปดื่มน้ำ ก่อนจะมาทราบจากเจ้าหน้าที่ตำรวจว่า ผู้ขับรถยนต์หรูดังกล่าวขอตรวจเลือดที่โรงพยาบาล ซึ่งคาดว่า ผลการตรวจจะออกอย่างเร็วสุดใน 7 วัน เป็นที่น่าสังเกตว่า กลับไม่มีการตั้งข้อหาเมาแล้วขับ ทั้งที่มาตรา 142 แก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติจราจรทางบก (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2557 ที่ระบุว่าหากมีพฤติการณ์ควรเชื่อว่าเมาแล้วขับ แต่ไม่ยินยอมตรวจวัดแอลกอฮอล์ในที่เกิดเหตุโดยไม่มีเหตุอันควร ให้สันนิษฐานไว้เลยว่าเป็นการเมาแล้วขับ
“ในกรณีนี้ผมอดตั้งคำถามไม่ได้ว่า หากไม่เมาจริงๆ จะกลัวการเป่าเครื่องตรวจวัดแอลกอฮอล์ทันทีในที่เกิดเหตุทำไม ซึ่งตามมาตรา 142 แก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติจราจรทางบก (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2557 ระบุว่า “ในกรณีที่มีพฤติการณ์อันควรเชื่อว่า ผู้ขับขี่ขับรถในขณะเมาสุราหรือของเมาอย่างอื่น หากผู้นั้นยังไม่ยอมให้ทดสอบตามวรรคสามโดยไม่มีเหตุอันสมควร ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่า ผู้นั้นฝ่าฝืนมาตรา 43 (2)” นั่นคือ การขับรถในขณะเมาสุราหรือของเมาอย่างอื่น แต่ก็ยังไม่มีการตั้งข้อหาว่าเมาแล้วขับ” ดร.นพ.มูฮัมมัดฟาห์มี
ดร.นพ.มูฮัมมัดฟาห์มี กล่าวต่อว่า จากหลักฐานวิชาการประกอบข้อแนะนําสำหรับบุคคลที่ไม่ควรดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2 พ.ศ. 2565 พบว่า ระดับของแอลกอฮอล์จะลดลงประมาณ 15-20 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ต่อชั่วโมงในคนทั่วไป และประมาณ 25-35 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ต่อชั่วโมงในผู้ดื่มประจำมาเป็นระยะเวลานาน ดังนั้น การที่ผู้ก่อเหตุขอตรวจเลือดในภายหลังย่อมมีผลต่อระดับปริมาณแอลกอฮอล์อย่างแน่นอน บวกกับที่พยายามจะดื่มน้ำ ก็จะยิ่งทำให้กระเพาะและสำไส้ดูดซึมแอลกอฮอล์ได้เร็วขึ้นด้วย ดังนั้นสังคมจะต้องยอมรับกับผลกระทบที่เกิดจากเหตุการณ์ซ้ำๆ จากความประมาท และพยายามที่จะเลี่ยงความผิดจากการดื่มแล้วขับ เพียงเพราะเป็นคนดัง รวย และมีอำนาจเช่นนั้นหรือ.

ที่มา:thairath

ผู้นำเสนอข่าว

yoko

Written by:

3,723 Posts

View All Posts
Follow Me :

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

You May Have Missed