“ตำนานผาเสด็จ ดงพญาไฟ” พระบารมีในสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง

“ตำนานผาเสด็จ ดงพญาไฟ” พระบารมีในสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง

“ตำนานผาเสด็จ ดงพญาไฟ” พระบารมีในสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง
ตำนานของผาเสด็จ ในปีพ.ศ.2433 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้ตั้งกรมรถไฟขึ้นใน สยามประเทศ ต่อมาในปีพ.ศ.2439 ก็ได้ให้มีการดำเนินก่อสร้างเส้นทางรถไฟต่อไปยังจังหวัดนครราชสีมา ซึ่งการทำทางรถไฟนั้นจะต้องผ่านดงพญาไฟ ซึ่ง”ดงพญาไฟ” สมัยนั้นก็คือ “ดงพญาเย็น” สมัยนี้ เหตุที่เรียกว่า ดงพญาไฟ ก็เพราะในดงทึบแห่งนี้เต็มไปด้วยภยันตรายต่างๆ นานา ไม่ผิดกับเดินเข้ากองไฟ พูดง่ายๆ ว่าคนที่เดินทางผ่านดงแห่งนี้ น้อยรายจะรอดชีวิต ไม่เสียชีวิตเพราะไข้ป่า ก็เพราะถูกสัตว์ร้ายเช่นเสือสิงห์กระทิงแรดกัดจนสิ้นชีวิต ที่ร้ายไปกว่านั้นก็คือ ”ผี” ผีดุเอามากๆ เล่าว่าเจ้าหน้าที่และคนงานที่สร้างทางรถไฟ ถูกผีหลอกหลอนเป็นไข้หัวโกร๋นตามๆ กันซ้ำยังมีเทือกเขาอยู่หลายแห่งขวางเส้นทาง ความจริงจะตัดหรือระเบิดอ้อมไปด้านข้างเคียงก็พอจะทำได้ แต่เส้นทางจะคดเคี้ยวดูไม่สวยงาม จึงต้องทำการระเบิดภูเขา โดยที่วิศวกรชาวฝรั่งเศส พยายามจะระเบิดทำลายเพื่อจะทำทางรถไฟผ่านอยู่หลายครั้งหลายคราแต่ไม่เป็นผลสำเร็จ เป็นความหนักใจให้แก่บรรดานายช่างเป็นอย่างยิ่ง เกือบจะพากันหมดอาลัยล้มเลิกความตั้งใจเสียแล้ว จึงปรึกษากันว่าควรทำอย่างไรดี ขณะนั้นมีท่านผู้ใหญ่ท่านหนึ่งแนะนำในทางไสยศาสตร์ว่า สถานที่แห่งนี้ คงมีผีเจ้าป่าหรือเจ้าที่เจ้าทาง ควรทำบัตรพลีเซ่นสรวง บนบานศาลกล่าว ให้องค์เทพารักษ์อนุญาตตามประเพณีไทยแต่โบราณ แต่ไม่มีใครเห็นด้วยเพราะนายช่างเป็นคนหัวใหม่ ปรากฏว่า การระเบิดภูเขาก็ไม่เป็นผลสำเร็จอยู่ดี ชาวบ้านแห่งนั้นบอกว่าสถานที่แห่งนี้เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ เคยแสดงมหิทธิฤทธิ์ปรากฏแก่ชาวบ้านและพรานให้เห็นมาแล้วหลายครั้ง เช่น ถ้ามีคนตัดไม้ทำลายป่าบริเวณนั้น หรือ ปัสสาวะบริเวณโคนไม้ใหญ่ ก็จะมีอันเป็นไป คือ ล้มป่วย เจ็บเนื้อเจ็บตัว ปวดหัว เป็นไข้ หรือเป็นลมชักน้ำลายฟูมปาก ตาเหลือก ต้องหาคนไปทำกระทงบัตรพลีเซ่นสรวงขอขมา ถ้าใครไม่เชื่อล้มเจ็บถึงตายก็มี
จนกระทั่งความทราบถึงพระเนตรพระกรรณของพระพุทธเจ้าหลวง (รัชกาลที่ 5) พระองค์จึงโปรดให้นำตราแผ่นดินไปประทับตรงโคนต้นไม้ใหญ่บริเวณนั้นเป็นการ เอาเคล็ด เล่ากันว่า พอต้นไม้ใหญ่แห่งนั้นถูกตราแผ่นดินพระราชทานตีประทับลงที่โคนแล้ว ก็ให้มีอันกิ่งใบแห้งเหี่ยวยืนต้นตายไป และมีพระราชกระแสรับสั่งให้นายช่างระเบิดหินต่อไป แต่ก็มีการเล่ากันว่าชาวบ้านบางคนกลัวไม่กล้าระเบิดต่อ เนื่องจากมีนายช่างและคนงานบางคนเป็นไข้ป่าเจ็บหนักจนถึงเสียชีวิต พระพุทธเจ้าหลวง (รัชกาลที่ 5) จึงโปรดเกล้าให้สร้างศาลเพียงตาขึ้นที่ใกล้เงื้อมผา การระเบิดทำทางรถไฟ จึงดำเนินต่อไปโดยไร้อุปสรรค
จนกระทั่งคราวนี้คณะสำรวจก็มาถึงบริเวณผาเสด็จ ก็พบต้นตะเคียนต้นหนึ่งมีขนาด 3 คนโอบ จะเลี้ยวไปทางซ้ายก็ตกเหว จะเลี้ยวทางขวาหรือก็เจอผาเขา ยากที่จะปีนจะต้องตัดต้นตะเคียนต้นนี้ออก พอตัดต้นตะเคียนก็มีคนล้มตายลงเรื่อยๆ จนไม่มีใครกล้าตัดโค่น ฝรั่งเป็นชาติที่ไม่เชื่อเรื่องผีสางอยู่แล้วก็จะตัดให้ได้ ทั้งคนงานในคณะสำรวจซึ่งเป็นคนไทยส่วนมากและก็จ้างคนมามากมายแต่ไม่มีใคร กล้าตัด ความทราบถึงรัชกาลที่ 5 ที่ทำทางรถไฟไม่สำเร็จเพราะมีอุปสรรคอย่างนั้น รัชกาลที่ 5 ทรงตัดสินพระทัยจะเสด็จไปดูด้วยพระองค์เอง ก็เสด็จมาทางรถไฟซึ่งยังสร้างไม่เสร็จเรียบร้อยดีแต่ก็แล่นได้ มาประทับกลางดง ซึ่งทางข้างหน้านั้นมีผาสูง รัชกาลที่ 5 ก็ทรงบวงสรวงตะเคียนต้นนั้น เพื่อขอขมาลาโทษแก่เจ้าที่เจ้าทางเพื่อที่จะทำทางรถไฟต่อไป พอตกกลางคืนก็ได้ยินเทวดา ผีป่านางไม้มาพูดกันว่า
“ เจ้าบ้านครองเมืองเขามาขอก็ให้เขาเสียเถอะ พระบารมีพระเจ้าอยู่หัวมีบุญญาธิการมากนัก ข้าจำเป็นต้องให้เขาแล้วไปหาที่อยู่ใหม่”
ตั้งแต่นั้นมาการโค่นต้นไม้และการสร้างทางรถไฟก็เสร็จลงด้วยดี พระองค์ทรงเปลี่ยนชื่อใหม่ เพื่อเป็นสิริมงคลจากดงพญาไฟ มาเป็นดงพญาเย็น และได้ทรงจารึก จ.ป.ร. ไว้ที่หินก้อนใหญ่ที่ผาเสด็จ หน้าสถานีผาเสด็จ ดังปรากฏมาตราบจนปัจจุบัน

ชาวสระบุรีจัดกิจกรรมอำลารถไฟโดยสาร วิ่งผ่าน จปร.ผาเสด็จ วันสุดท้าย

้ด้วย ตั้งแต่วันที่ 28 กรกฎาคม 2567 นี้ เป็นต้นไป ขบวนรถไฟโดยสาร จะไม่วิ่งผ่าน จปร.ผาเสด็จพัก ต.ทับกวาง อ.แก่งคอย จ.สระบุรี ขบวนรถไฟโดยสารจะไปใช้เส้นทางรถไฟสายคู่แทน ที่ไม่ได้วิ่งผ่าน จปร.ผาเสด็จ

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 พร้อมสมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระบรมราชินีนารถ ทรงเสด็จลง พระปริมาภิไธย ย่อ จปร. ส.ผ. 115 ผาเสด็จพัก วันที่ 22 ธันวาคม ปี พ.ศ.2439 หรือ ร.ศ.115

จปร. ย่อคือพระนามรัชกาลที่ 5 ส่วน ส.ผ. คือพระนามย่อ สมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระบรมราชินีนารถ ส่วน เลขไทย 115 คือ ปี ร.ศ.ที่ลง พระปริมาภิโธย
ในครั้งที่ทรงให้สร้างทางรถไฟ จาก อยุธยา ไป นครราชสีมา และมาเจอก้อนหินศิลาใหญ่จะขวางทาง จนพระปริมีล้นเกล้า รัชกาลที่ 5 จึงสามารถสร้างทางรถไฟได้สำเร็จ ถือว่า จปร.ผาเสด็จ แห่งนี้ เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์และรถไฟใช้เส้นทางนี้ประจำ โดยเฉพาะรถโดยสาร เป็นเวลา 128 ปี

แต่ตั้งแต่วันที่ 28 กรกฎาคม 2567 นี้ เป็นต้นไป จะไม่มีขบวนรถไฟโดยสาร วิ่งผ่าน จปร.ผาเสด็จ สถานที่ศักดิ์สิทธิ์นี้ รถไฟโดยสารจะไปวิ่งเส้นทางรถไฟคู่แทน จะมีแต่รถไฟของปูนทีพีไอ รถสินค้า รถไฟสำรวจเส้นทางของการรถไฟวิ่งแทน

ในวันเสาร์ที่ 27 กรกฎาคม 2567 นี้ นายมนตรี ปรีดา นายอำเภอแก่งคอย จ.สระบุรี ร่วมกับอีกหลายหน่วยงาน จึงจัดกิจกรรมอำลา รถไฟโดยสารวิ่งผ่าน จปร .ผาเสด็จพัก ต.ทับกวาง อ.แก่งคอย จ.สระบุรี ในวันเสาร์ที่ 27 กรกฎาคม 2567 นี้ จะมีนางรำกิจอาสา ตอบรับมาร่วมรำ แล้ว 150 ท่าน และมีหน่วยงานต่างๆ ทั้งต่างอำเภอจะมาร่วมงาน ในภาคเช้าจะร่วมกันทำความสะอาดรอบๆ บริเวณ จปร.ผาเสด็จ ร่วมรำถวาย และกิจกรรมอื่นๆ ตั้งแต่เวลา 09.00 น.

และจะประชาสัมพันธ์ให้ทราบว่า แม้นไม่มีรถไฟโดยสารวิ่งผ่าน จปร .ผาเสด็จ แต่ก็ยังมีรถปูนทีพีไอ รถสินค้า รถไฟสำรวจเส้นทางวิ่งทุกวันของการรถไฟ และอาจจะมีขบวนรถไฟท่องเที่ยวพิเศษ วิ่งมา สักการะ จปร.ผาเสด็จ เป็นบางครั้ง จปร.ผาเสด็จก็ยัวเป็นสถานที่เข้ามากราบสักการะขอพร เป็นสถานที่ท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์
/////

รายชื่อผู้ร่วมเสวนา
นายมนตรีปรีดา อำเภอแก่งคอย
นางปริยากร ภูเลาสิงห์ประธานชมรมวัฒนธรรมแก่งคอย
นางวิบูลศิริ
ผู้จัดการฝ่ายมวลชนสัมพันธ์บริษัททีพีไอโพลีนจำกัดมหาชน
นายจีระศักดิ์ วรรณะวัตร
นายสถานีผ่าเสด็จ
ผู้ดำเนินการเสวนา
นางสาวกุลณัฐฐา จิรจงพาณิชย์
สื่อมวลชน

กุลณัฐฐา จิรจงพาณิชย์ ภาพ /ข่าว

ผู้นำเสนอข่าว

Hnoy

Written by:

3,833 Posts

View All Posts
Follow Me :

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

One thought on ““ตำนานผาเสด็จ ดงพญาไฟ” พระบารมีในสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง